วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน ปฏิบัติธรรม ในชีวิต ประจำวัน

ปฏิบัติธรรม ในชีวิต ประจำวัน ::

****
สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ให้ตั้งใจฟังแล้ว ได้ตรัสข้อความเหล่านี้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟัง ปฏิจจสมุปบาท นั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าว บัดนี้.
ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่า ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! :
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย.
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณ ะ โสกะปริเวทะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;
เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ;
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป;
เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ;
เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ;
เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา;
เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา;
เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน;
เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ;
เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ;
เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”, ดังนี้.
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๑
(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๑/๑ :
********
****
เพราะไม่รู้อริยสัจ
จึงต้องท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนท่อนไม้ อันบุคคล
ซัดขึ้นไปสูอ่ ากาศ บางคราวตกเอาโคนลง บางคราวตกเอา
ตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง ขอ้ นี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชา
เป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น
บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ :-
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็น เครื่องกระทำใหรู้ว้ า่ :-
ทุกข ์ เปน็ อยา่ งนี้เหตุเกิดขึ้นแหง่ ทุกข ์ เปน็ อยา่ งนี้
ความดับไมเ่ หลือแหง่ ทุกข ์ เปน็ อยา่ งนี้
ทางดำเนินใหถึ้งความดับไมเ่ หลือแหง่ ทุกข ์ เปน็ อยา่ งนี้ ดังนี้.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๖.
.... .... .... ....
ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง
เราและพวกเธอทั้งหลาย
จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ
ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่ง
อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับ
ไม่เหลือของทุกข์ และอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับ
ไมเ่ หลือของทุกข ์ เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงไดท้ อ่ งเที่ยว
ไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.
ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่ออริยสัจ คือทุกข์
เหตุให้เกิดทุกข์
ความดับไม่เหลือของทุกข์
และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
เป็นความจริงที่เราและพวกเธอทั้งหลาย
รู้ถึงและแทงตลอดแล้ว
ตัณหาในภพ ก็ถูกถอนขึ้นขาด
ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ ก็สิ้นไปหมด
บัดนี้ ความต้องเกิดขึ้นอีก มิได้มี ดังนี้.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็น เครื่องกระทำใหรู้ว้ า่ ทุกข ์ เปน็ อยา่ งนี้
เป็นการยืนยันจากคำสอนจากพระองค์ว่า อย่างไรก็ต้องมีการปฎิบัติสถะ วิปัสสนา
*******
*****
#สัตว์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้,
อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงไรเล่า พระเจ้าข้า
ราธะ !
ฉันทะ (ความพอใจ)
ราคะ (ความกําหนัด)
นันทิ (ความเพลิน)
ตัณหา (ความอยาก)
ใดๆ มีอยูใน
#รูป เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในรูปนั้น
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” (ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้.
ราธะ !
ฉันทะ
ราคะ
นันทิ
ตัณหา
ใดๆ มีอยูใน
#เวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์)
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ !
ฉันทะ
ราคะ
นันทิ
ตัณหา
ใดๆ มีอยู่ใน
#สัญญา (ความหมายรู้)
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสัญญานั้น
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ !
ฉันทะ
ราคะ
นันทิ
ตัณหา
ใดๆ มีอยู่ใน
#สังขารทั้งหลาย (ความปรุงแต่ง)
เพราะการติดแล้ว
ข้องแล้วในสังขารทั้งหลายนั้น
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ !
ฉันทะ
ราคะ
นันทิ
ตัณหา
ใดๆ มีอยูใน
#วิญญาณ
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณนั้น
เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สัตว์” ดังนี้แล.
พุทธวจน ภพภูมิ หน้า ๒๓.
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๑/๓๖๗.
*****
****
#ขันธ์๕
#อุปาทานขันธ์๕
#ที่ตั้้งแห่งอุปาทานขันธ์๕
#อุปาทานขันธสูตร
--
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ รูปูปาทานักขันธ์ ๑ เวทนูปาทานักขันธ์ ๑ สัญญูปาทานักขันธ์ ๑ สังขารูปาทานักขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานักขันธ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละ อุปาทานักขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯ
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓)
--------------------
#แสดงขันธ์ ๕ #และอุปาทานขันธ์ ๕
ปัญจขันธสูตร
[๙๕] ....."ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"
"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕".....
[๙๖] ....."อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน(หรือถูกอุปาทานครอบงำในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง)...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"....
(สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)
--------------------------
"ภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.
"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
(ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด กล่าวคือตัณหา จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)
(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)
***********
*******
อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่าเป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้ เป็นที่ที่ภิกษุพึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า
- อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป
- อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา
- อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา
- อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร
- อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ
เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่ ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ย่อมรู้ชัดว่า เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้ เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕
*****************
อ้างอิง..
มหาสุญญตสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มท่ี ๑๔ ข้อที่ ๓๕๐ หน้า ๑๘๙-๑๙๐
link;; โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/14/185/…
******
*****************
ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่งวิญญาณ?
บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความยินดีก็เกิดขึ้น
ความยินดีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั่นเป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความยินดีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณย่อมดับไป
เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
******************
อ้างอิง...
สมาธิสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม ๑๗ ข้อที่ ๒๗-๒๙ หน้า ๑๓-๑๔
link ;; โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/17/13/…
*****
**************
อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีฉันทะเป็นมูล
อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น เป็นอย่างเดียวกันก็ไม่ใช่ จะเป็นคนละอย่างก็ไม่ใช่ แต่ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕
ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิด
********
อ้างอิง...
มหาปุณณมสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๑๒๑-๑๒๒ หน้า ๗๗-๗๘
link ;; โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/14/77/…
*********
****
ผู้รู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริง จึงสามารถปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ
การรู็ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ โดยเวียนรอบ ๔ คือ
- ความรู้ยิ่งในอุปาทานขันธ์ ๕
- ความรู้ยิ่งในความเกิดแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
- ความรู้ยิ่งในความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
- ความรู้ยิ่งในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปทานขันธ์ ๕
ความรู้ยิ่งในรูป คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
ความเกิดขึ้นแห่งรูป เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร
ความดับแห่งรูป คือความดับแห่งอาหาร
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป
ความรู้ยิ่งในเวทนา มี ๖ หมวด คือ เวทนาเกิดแต่จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนามีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
ความดับแห่งเวทนามีเพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา
ความรู้ยิ่งในสัญญา มี ๖ หมวด คือ ความสำคัญในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา มีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
ความดับแห่งสัญญามีเพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสัญญา
ความรู้ยิ่งในสังขาร ได้แก่ เจตนา ๖ หมวดคือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา
ความเกิดขึ้นแห่งสังขารมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
ความดับแห่งสังขารมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร.
ความรู้ยิ่งในวิญญาณ มี ๖ หมวด คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป
ความดับแห่งวิญญาณมี เพราะความดับแห่งนามรูป
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
ได้รู้ยิ่งใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ได้รู้ยิ่งซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ได้รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ได้รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ปฏิบัติแล้ว เพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความวนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
*********
อ้างอิง...
ปริวัฏฏสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๑๑๒-๑๑๗ หน้า ๕๗-๖๐
link;; โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/17/57/…
************
******
#มรรคมีองค์แปด
****สัมมาทิฏฐิ – ความเห็นถูกต้อง*****
********************************
[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
#สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมา ทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร
คือภิกษุรู้จัก-มิจฉาทิฐิว่า-มิจฉาทิฐิ
-รู้จักสัมมาทิฐิว่า-สัมมาทิฐิ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
#มิจฉาทิฐิ-เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
-ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
-ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
-สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
-ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว แล้วไม่มี
-โลกนี้ไม่มี
-โลกหน้าไม่มี
-มารดาไม่มี
-บิดาไม่มี
-สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
-สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะ รู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มีนี้
--มิจฉาทิฐิ ฯ—
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
#สัมมาทิฐิ-เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
#สัมมาทิฐิเป็น๒อย่าง คือ
#สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
#สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
****สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์***
เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
-ทานที่ให้แล้ว มีผล
-ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
-สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
-ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
-โลกนี้มี
-โลกหน้ามี
-มารดามี
-บิดามี
-สัตว์ที่ เป็นอุปปาติกะมี
-สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้า ให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้--สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
***สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค***
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-ปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ
-ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
-ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วย อริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล
สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละ-มิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ
#ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่
#สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้
ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
-สัมมาทิฐิ
-สัมมาวายามะ
-สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๔๕/๔๑๓ ข้อที่ ๒๕๔-๒๕๘
#มรรคมีองค์แปด(องค์ประกอบของมรรคมีแปดข้อ)
1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นถูกตรง
2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริถูกตรง
3. สัมมาวาจา-มีวาจาถูกตรง
4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ
6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ
7. สัมมาสติ-มีสติระลึกชอบ และ
8. สัมมาสมาธิ-มีสมาธิชอบ
#มรรคมีองค์แปด
#ย่อลงเหลือสาม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
#ย่อลงอีกเหลือสอง คือ สมถ วิปัสนา
#ย่อลงอีกเหลือหนึ่ง คือ อาณาปานสติ
#มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้
1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ
3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
******************************************
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
**************************************
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
**********
******

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น