วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน กระจาย.เสีย.ซึ่ง.ผัสสะ.อย่างไร.?

กระจาย.เสีย.ซึ่ง.ผัสสะ.อย่างไร.? ::


#กระจายเสียซึ่งผัสสะ

#พิจารณาองค์ประกอบของผัสสะให้เห็นตามความเป็นจริง

#พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง

#อริยสาวก #ไม่ยุบ #ไม่ก่อ

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรมสองอย่าง.

สองอย่างอะไรเล่า ? สองอย่าง คือ

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น.

จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :

ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,

แม้เหตุอันนั้นแม้ปัจจัยอันนั้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (จักษุ + รูป + จักขุวิญญาณ)

๓ อย่างเหล่านี้ อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่าจักขุสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้จักขุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ,

ก็มีนัยเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย

มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น.

มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :

ธรรมทั้งสองอย่างนี้แลเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม

ความมาพร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย

(มโน + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล;

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มโนสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส,

แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว

เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้

มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย !

บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ),

ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ),

ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ):

แม้ธรรมทั้งหลายอย่างนี้เหล่านี้

ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วยอาพาธด้วย

ไม่เที่ยงมีความแปรปรวนมีความเป็นไปโดยประการอื่น.

_สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔-๗.

หนังสือ พุทธวจน อินทรียสังวร หน้า ๙๐-๙๓

__________________

#พิจารณาเห็นความไม่เทียง

[๗๙๗] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น

สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๗๙๘] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น

สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๗๙๙] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุวิญญาณเที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง ฯ

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่ง

นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๐๐] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุสัมผัสเที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง ฯ

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ ตามเห็น

สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

ร. ไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๐๑] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้น เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น

สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๐๒] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนโสตะเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฆานะเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชิวหาเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

[๘๐๓] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือที่จะตามเห็น

สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๐๔] พ. ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง ฯ

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น

สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

(ภาษาไทย) อุปริ, ม. ๑๔/๓๘๑/๗๙๗-๘๐๔

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๘๑/๔๑๓ ข้อที่ ๗๙๕-๗๙๗

___________

#อริยสาวก #ย่อมไม่ยุบ #ไม่ก่อ

อริยสาวก ย่อมทำอะไรให้พินาศ ย่อมไม่ก่ออะไร?

ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ

ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ย่อมละทิ้งอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร?

ย่อมละทิ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ย่อมเรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้?

ย่อมเรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ย่อมทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น?

ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด

ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น.

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ย่อมไม่ก่อ ย่อมไม่ทำให้พินาศ

แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ละ ย่อมไม่ถือมั่น

แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมไว้

แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่ ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น

แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๘/๑๖๓

------------------------

อ่านเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=381&volume=14

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=88&volume=17

--------------------------

ฟังพุทธวจนบรรยายได้จาก www.watnapp.com

**************

*******

๙ อาการของจิต จากตัณหาไปอุปาทานมีอะไรบ้าง และมีอาการอย่างไร

*******

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.

๙ อย่าง อย่างไรเล่า ?



๙ อย่าง คือ :-

เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา);

เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);

เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);

เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);

เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมีความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);

เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห);

เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่(มจฺฉริยํ);

เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น(อารกฺโข);

เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ) ;



กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม

การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท

การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด

และการพูดเท็จทั้งหลาย :

ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม.



ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่าธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.



(ไทย)นวก. อํ. ๒๓/๓๒๒/๒๒๗

*************

******

#ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด

***อริยญายธรรม-ธรรมะที่ทำคนธรรมดา-ให้เป็นอริยะ***

(เก็บไว้ท่องให้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดอย่างดีด้วยความเห็นกันค่ะ --พระศาสดาอยู่ลีกเร้นผู้เดียว..ก็สาธยาย..สายปฏิจจสมุปบาท)



--ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วยเศียรเกล้า--



***ปัจจัยสูตร****

*****************

[๖๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ...



พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท

และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นแก่พวกเธอ

พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ



[๖๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ

พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม

ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม

ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติธัมมนิยาม

อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่



พระตถาคตย่อมตรัสรู้

ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว

-ย่อมตรัสบอก

-ทรงแสดง

-บัญญัติ

-แต่งตั้ง

-เปิดเผย

-จำแนก

กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้



เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ...

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ...

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ...

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ...

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ...

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ...

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ...

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ...

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย



พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม

ธาตุอันนั้นคือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่

พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น

ครั้นแล้วย่อม-ตรัสบอก -ทรงแสดง -บัญญัติ -แต่งตั้ง -เปิดเผย

-จำแนก -กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้



เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย -ความจริงแท้ -ความไม่คลาดเคลื่อน

-ความไม่เป็นอย่างอื่น - มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น

ดังพรรณนามาฉะนี้แล

เราเรียกว่า--ปฏิจจสมุปบาท--



[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย --ก็ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น--เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย



ชราและมรณะ

-เป็นของไม่เที่ยง -อันปัจจัยประชุมแต่ง

-อาศัยกันเกิดขึ้น -มีความสิ้นไป - เสื่อมไป -คลายไป

-ดับไปเป็นธรรมดา



ชาติ ... ภพ ... อุปาทาน ...ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ...

นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร ...อวิชชา

-เป็นของไม่เที่ยง -อันปัจจัยประชุมแต่ง -อาศัยกันเกิดขึ้น

-มีความสิ้นไป-เสื่อมไป -คลายไป -ดับไปเป็นธรรมดา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า

--ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ฯ--

--------------------------------------

[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล

อริยสาวกเห็นด้วยดีซึ่ง--ปฏิจจสมุปบาท--นี้

และ--ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น--เหล่านี้

ด้วย--ปัญญาอันชอบตามเป็นจริง--แล้ว เมื่อนั้น

อริยสาวกนั้นจัก-



--แล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องต้นว่า

ในอดีตกาลเราได้เป็นหรือหนอ

ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ

ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ

ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไร แล้วได้มาเป็นอะไรหนอ



--หรือว่าจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่า

ในอนาคตกาลเราจักเป็นหรือหนอ

ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ

ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ

ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไร แล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ



--หรือว่าจักยังมีความสงสัยในปัจจุบันกาลเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า

เราเป็นอยู่หรือหนอ

หรือไม่เป็นอยู่หนอ

เราเป็นอะไรอยู่หนอ

เราเป็นอย่างไรอยู่หนอ

สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ

เขาจักไปในที่ไหน ดังนี้



ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร

เพราะว่าอริยสาวกเห็นด้วยดีแล้วซึ่ง--ปฏิจจสมุปบาท--

และ--ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น--เหล่านี้

ด้วย--ปัญญาอันชอบ--ตามเป็นจริง ฯ

จบสูตรที่ ๑๐



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๒๒/๒๘๘ ข้อที่ ๕๙-๖๑

----------------------------------

อ่านพุทธวจนเพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read?keywords=ปฏิจจสมุปบาท+&language=thai&number=22&volume=16

----------------------------------

ฟังพุทธวจน บรรยาย ได้ที่ www.watnapp.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น