วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน คนเราทุกข์เพราะสิ่งที่ยึดที่พอใจเปลี่ยนแปลง และ วิธีพ้นจากทุกข์

คนเราทุกข์เพราะสิ่งที่ยึดที่พอใจเปลี่ยนแปลง และ วิธีพ้นจากทุกข์ :


รู้คุณรู้โทษรู้วิธีสลัดออก ของขันธ์ 5 ...ก็จะถ่ายถอนอุปาทานได้

ว่าด้วยคุณโทษและเครื่องสลัดออกแห่งขันธ์ ๕

    [๖๒] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล  ฯลฯ  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งรูปจักไม่มี

ไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในรูป. แต่เพราะคุณแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย จึง

กำหนัดในรูป. ถ้าโทษแห่งรูปจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป. แต่เพราะโทษ

แห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายในรูป. ถ้าเครื่องสลัดออกแห่งรูปจักไม่มีไซร้

สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงออกไปจากรูปได้. แต่เพราะเครื่องสลัดออกแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์

ทั้งหลาย จึงออกไปจากรูปได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ

แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงกำหนัดในวิญญาณ. แต่

เพราะคุณแห่งวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดในวิญญาณ. ถ้าโทษแห่งวิญญาณ

จักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ. แต่เพราะโทษแห่งวิญญาณมีอยู่

ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ. ถ้าเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณจักไม่มีไซร้

สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงออกไปจากวิญญาณได้. แต่เพราะเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณมีอยู่

ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย จึงออกไปจากวิญญาณได้.

    [๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ยังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความ

เป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตาม

ความเป็นจริง เพียงใด สัตว์ทั้งหลาย ก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไป มีใจอันหา

ขอบเขตมิได้อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สัตว์ทั้งหลาย รู้ยิ่งซึ่ง

คุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก

แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ออกไป พรากไป

หลุดพ้นไป มีใจอันหาขอบเขตมิได้อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่

สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗



พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



ข้อที่ ๖๒ - ๖๓  หน้าที่ ๒๙

***********

*******

สักกายทิฏฐิ ๒๐.....ความเห็นที่ว่าขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวตนในแง่มุมต่างๆ ที่จะละได้บริบูรณ์ในโสดาปัตติผล.....

ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า? บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายด้วย จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย. ดูกรคฤหบดี คือ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม;

ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา. เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.

ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมเห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นเวทนา เวทนาของเรา. เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.

ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสัญญา สัญญาของเรา. เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเราสัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.

ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขารในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสังขาร สังขารของเรา. เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น. ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑

ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไปโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น. ดูกรคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แลบุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย.

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

หน้าที่ ๓ ข้อที่ ๔

*********

*****

เบญจขันธ์เป็นอนัตตา



ภิกษุทั้งหลาย! รูป เป็นอนัตตา, บุคคล พึงเห็นรูปนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่น ไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)” ดังนี้;

ภิกษุทั้งหลาย! เวทนา เป็นอนัตตา, บุคคล พึงเห็นเวทนานั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา, นั่น ไม่ใช่เรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้;

ภิกษุทั้งหลาย! สัญญา เป็นอนัตตา, บุคคล พึงเห็นสัญญานั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา, นั่น ไม่ใช่เรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้;

ภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา, บุคคล พึงเห็นสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่น ไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ), นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโสอตฺตา)” ดังนี้;

ภิกษุทั้งหลาย! วิญญาณ เป็นอนัตตา, บุคคล พึงเห็นวิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา, นั่น ไม่ใช่เรา. นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้ แล.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๓๙

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒/๔๔.

***********

********

ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียดเมื่อเห็นอนัตตา



ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา : เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทุกประการ)



ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้,

ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ทั้งหลาย ย่อมไม่มี;

เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิทั้งหลาย (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมไม่มี;

เมื่ออปรันตานุทิฏฐิทั้งหลายไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี;

เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี, จิตย่อมจางคลายกำหนัด ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น;

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว

จิตจึงดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต);

เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่

จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี;

เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี

จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง;

เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง

ย่อมปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตนนั่นเทียว

เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า

“ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,

กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,

กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก”   ดังนี้.

ปฐมธรรม หน้า ๓๐๖

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๔๕/๙๓.:

************

******

ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ



“ภิกษุทั้งหลาย !   ก็ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ มีอยู่ ดังนี้ คือ บุคคลย่อมตามเห็นด้วยดี ซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  ว่า :

นั่น ไม่ใช่ของเรา        (เนตํ มม)

นั่น ไม่ใช่เป็นเรา        (เนโสหมสฺมิ)

นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) …”



ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๔๙๒

(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๓๙๐/๘๒๑.

*************

**********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น