วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน รู้ได้ยังไง ว่า สิ่งที่นำมาเผยแผ่..พุทธวจน..เป็นคำพระพุทธเจ้า

******

มีคนมาถามเราว่า..รู้ได้ไง.เป็นคำพระพุทธเจ้า..ก็บอกว่า..ก็เราตาดี..ตาไม่บอด!!!

การรู้อริยสัจสี่ ทำให้มีตาสมบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอยู่ หาได้อยู่ในโลก.

สามจำพวกอย่างไรเล่า ? สามจำพวกคือ :-

คนตาบอด (อนฺโธ),

คนมีตาข้างเดียว (เอกจกฺขุ),

คนมีตาสองข้าง (ทฺวิจกฺขุ).

ภิกษุทั้งหลาย ! คนตาบอดเป็นอย่างไรเล่า ?

คือคนบางคนในโลกนี้

ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้

หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง;

และไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล

- ธรรมมีโทษและไม่มีโทษ

- ธรรมเลวและธรรมประณีต

- ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คนตาบอด (ทั้งสองข้าง).

ภิกษุทั้งหลาย ! คนมีตาข้างเดียวเป็นอย่างไรเล่า ?

คือคนบางคนในโลกนี้

มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้

หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง;

แต่ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล

- ธรรมมีโทษและไม่มีโทษ

- ธรรมเลวและธรรมประณีต

- ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คนมีตาข้างเดียว.

ภิกษุทั้งหลาย ! คนมีตาสองข้างเป็นอย่างไรเล่า ?

คือคนบางคนในโลกนี้

มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้

หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง;

และมีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล

- ธรรมมีโทษและไม่มีโทษ

- ธรรมเลวและธรรมประณีต

- ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คนมีตาสองข้าง.

...ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุมีตาสมบูรณ์ (จกฺขุมา) เป็นอย่างไรเล่า ?

คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

“นี้ทุกข์,

นี้เหตุให้เกิดแห่งทุกข์,

นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,

นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”

ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล ภิกษุมีตาสมบูรณ์.

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๖๒/๔๖๘.

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๔๗/๔๕๙.

******

****

จะหายจากลักษณะตาบอด #ต้องคบสัตบุรุษ

******

****

มาคัณฑิยปริพพาชก ได้กราบทูลว่า

"ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว, ท่านพระโคดมจะสามารถ เพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้า จะลุกขึ้นจากอาสนะนี้ ในลักษณะแห่งผู้หายตาบอดได้ไหม พระเจ้าข้า?".

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า…

ดูก่อนมาคัณฑิยะ! ถ้าอย่างนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ,

เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใด…

ท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ,

เมื่อนั้น ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใด…

ท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว,

เมื่อนั้น ท่านจักรู้เอง เห็นเอง โดยแท้ ว่า…

#นี้คือโรค

#นี้คือหัวฝี

#นี้คือลูกศร

--- --- ----

มาคัณฑิยสูตร ม.ม. ๑๓/๒๘๕/๒๙๑, ตรัสแก่มาคัณฑิยปริพพาชก ที่กัมมาสทัมมนิคม แคว้นกุรุ.

โรค หัวฝี ลูกศร ทั้งหลาย ในกรณีนี้,

ย่อมดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือ

(ในลักษณะเดียวกันกับข้อที่ว่า:-)

….เพราะความดับแห่งอุปาทานของเรานั้น

จึงมีความดับแห่งภพ;

เพราะมีความดับแห่งภพ

จึงมีความดับแห่งชาติ;

เพราะมีความดับแห่งชาตินั้นแล ชรามรณะ

โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น.

….ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้", ดังนี้.

-----------------------------

#เมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ

-- -- -- -- -- -- -- -- --

#มาคัณฑิยสูตร

ดูกรมาคัณฑิยะ

เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์.

#แต่เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า

ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ

บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง

บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่า

บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด.

เขารับผ้านั้นมาห่ม

#มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ทำยาถอนให้อาเจียน ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ชำระตาให้ใสได้

#เขาย่อมละความรัก ด้วยสามารถความพอใจในผ้าเทียมเปื้อนเขม่าโน้นได้ พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้นโดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก อนึ่ง เขาพึงสำคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสียด้วยความแค้นว่า

บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงให้หลงว่า

บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดดังนี้ มานานหนอ ฉันใด

#ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่า

...ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้

...นิพพานนั้นคือข้อนี้.

ท่านนั้นพึงรู้ ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้

ท่านนั้นก็จะละความกำหนัด

ด้วยสามารถความพอใจในขันธ์

ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความเห็นเกิดขึ้น

#อนึ่งท่านพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า

ดูกรท่านผู้เจริญ

#เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ

เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูปเท่านั้น

เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่เวทนาเท่านั้น

เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สัญญาเท่านั้น

เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สังขารเท่านั้น

เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่วิญญาณเท่านั้น

#เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรานั้น

เพราะภพนั้นเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

[๒๙๑]

#ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว

ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า

โดยประการที่ข้าพเจ้าไม่เป็นคนบอด ลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้.

ดูกรมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น

#ท่านควรคบสัตบุรุษ

เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ

เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ

#เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ

ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

#เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้

โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้

#เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

......................................

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

***********

******

การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)

มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการ

ตามรู้ซึ่งความจริง”

ภารท๎วาชะ ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้

เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดี

หรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่

ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ :-

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ....

เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า

เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ต่อแต่นั้น

เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรม

ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ….ในธรรมทั้งหลายอันเป็น

ที่ตั้งแห่งโมหะ…. เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น

ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง

โทสะ....ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ

ลำดับนั้น เขา :-

(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมี

ศรัทธาเกิดแล้ว

(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว

(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว

(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง

(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว

(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม

(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย

อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่

(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ,

เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่

(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว

(๑๐) ย่อม มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว

(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม,

ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว

(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น; เขาผู้มีตน

ส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ

(ความจริงโดยจริงความหมายสูงสุด) ด้วยนามกาย ด้วย,

ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.

ภารท๎วาชะ !

การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;

แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

(สจฺจานุปตฺติ)

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

(สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึง

ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญ

ถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง”

ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ

การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ (ทั้ง ๑๒ ข้อ

ข้างต้น) เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

ภารท๎วาชะ !

การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

และเราบัญญัติการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.

ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗.

*********

*****

๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก

คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย

เป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้

อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก),

เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล(อกาลิโก),

เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก),

ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว(โอปนยิโก),

อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).

มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒ / ๔๘๕ / ๔๕๐.

ปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ น. ๔๓๑

*********

*****

๑๐ พระสูตรของความสำคัญที่ชาวพุทธต้องศึกษาแต่คำสอนจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น

๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูด ทุกถ้อยคำจึงไม่ผิดพลาด

อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้น ๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นกายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่า เรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.

มู.ม. ๑๒ /๔๕๘ /๔๓๐

๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฎฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ).

มู.ม. ๑๒ /๔๘๕ /๔๕๑

๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน

ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหว่างนั้นตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.

อิติวุ.ขุ. ๒๕ /๓๒๑ / ๒๙๓.

๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก

ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกกลองอานะนี้ มีแผลแตก หรือลำ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น;

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ ; เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

นิทาน. สํ. ๑๖ / ๓๑๑ / ๖๗๒-๓.

๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด. ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโอกุตตะ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า "ข้อนี้เป็นอย่างไร มีความหมายกี่นัย" ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.

ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๒ / ๒๙๒.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลายอันเป็นตถาคตภาษิต (ตถาคตภาสิตา) อันลึกซึ้ง (คมฺภีรา) มีอรรถอันลึกซื้ง (คมฺภีรตฺถา) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตรา) ประกอด้วยเรื่องสุญญตา (สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา) อันบุคคลนำมากล่าวอยู่; ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่; พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้วก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่เหงายของที่คว่าอยู่ให้หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลายที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่; ก็ไม่ฟังด้วยดีไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วน สุตตันตะเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟํง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้วก็สอบถามซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้ หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่าง ๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น คือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป : ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.

ทุก. อํ. ๒๐ /๙๑ /๒๙๒.

๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัดอยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

มหา.ที. ๑๐ /๙๐ /๗๐.

๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นผู้รู้มรรค (มคฺคญฺญู) เป็นผู้รู้แจ้งมรรค (มคฺควิทู) เป็นผู้ฉลาดในมรรค (มคฺคานุคา) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ.

ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๒ /๑๒๖.

๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอนเนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่น ๆ, เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลายก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...

**** ในที่นี้ยกมา ๒ นัยยะ จาก ๔ นัยยะ ของมูลเหตุสี่ประการ ที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป

จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๗ / ๑๖๐.

๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน

๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ! ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า "นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา"...

๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า "นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา"...

๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหุสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า "นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา"...

๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหุสูต เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า "นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา"

เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย

ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า "นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด" เธอทั้งหลาย พึงทิ้งคำนั้นเสีย

ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันิษฐานว่า "นี้เป็นพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี" เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทศ...นี้ไว้.

มหา. ที. ๑๐ /๑๔๔ /๑๑๓-๖.

๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป

อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า "ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา" ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธํรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.

อานนท์ ! .ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่. อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล.

อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า เป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย... เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า... เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.

มหา.ที. ๑๐ /๑๗๘ /๑๔๑.

มหาวาร. สํ. ๑๙ /๒๑๗ /๗๔๐.

ม.ม. ๑๓ /๔๒๗ / ๔๖๓.

*******

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น