วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน เครื่องวัด..อริยบุคคลขั้นต้น.จะต้องแก้.มิจฉาทิฐิเรื่องกรรม.4 อย่างคือ ?

‪#‎มิจฉาทิฏฐิเรื่องกรรม‬ ๔

‪#‎คติที่ไปของผู้มีมิจฉาทิฏฐิ‬ คือ นรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน

‪#‎แก้กรรมด้วยมรรคแปดเท่านั้น‬

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นบันดาล

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากตัวเองบันดาล

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นและตนเองบันดาล

กรรมและสุขทุกข์ ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆโดยปราศจากเหตุผล

**

นิทานสัมภวะ(แดนเกิด)แห่งกรรมทั้งหลายเกิด จากผัสสะ

และกัมมนิโรธ(ความดับกรรม)แห่งกรรมทั้งหลาย

ย่อมมีเพราะความดับไปแห่งผัสสะ

**

ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามขึ้นว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมสัมผัส" ดังนี้

ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคล ย่อมสัมผัส" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้

ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?" ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"ผัสสะมี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำ เฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทน า (ความ รู้สึกต่ออารมณ์)" ดังนี้

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้

ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้

ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณ หา (ความอยาก)" ดังนี้

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมอยาก" ดังนี้

หากเราได้กล่าวว่า "บุคลลย่อมอยาก" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า

"ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?" ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผุ้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ความยึดมั่น)" ดังนี้

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?"

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย

เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้

ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า

"ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?" ดังนี้ ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น

ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า

"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน พระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว

นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า

"เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ " ดังนี้

เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย

ชรา มรณ ะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย

จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้

.

.

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๑๑/๒๘๘ ข้อที่ ๓๑-๓๗

..

http://etipitaka.com/read…#

--

ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด

ดูกรนายคามณี

ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ

นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง

ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ

---

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

หน้าที่ ๓๑๔/๔๐๒ ข้อที่ ๕๘๙-๕๙๑

http://etipitaka.com/read…

--

********

*****

ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว



ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธิเหล่านี้ มีอยู่, เป็นลัทธิซึ่งแม้บัณฑิตจะพากันไตร่ตรอง จะหยิบขึ้นตรวจสอบ จะหยิบขึ้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไร แม้จะบิดผันกันมาอย่างไร ก็ชวนให้น้อมไปเพื่อการไม่ประกอบกรรมที่ดีงามอยู่นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธินั้น เป็นอย่างไรเล่า ?  ๓ ลัทธิคือ :-

(๑) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน” ดังนี้.

(๒) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ของเจ้าเป็นนาย” ดังนี้.

(๓) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลย” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีถ้อยคำและความเห็นว่า “บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์เพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนอย่างเดียว” มีอยู่,

เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วสอบถาม ความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว เรากล่าวกะเขาว่า“ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำหยาบ ... พูดยุให้แตกกัน... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท ...มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง (ในเวลานี้)นั่นก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน. เมื่อมัวแต่ถือเอากรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนมาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้วคนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า

สิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ)

สิ่งนี้ไม่ควรทำ(อกรณียกิจ) อีกต่อไป.

เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้วคนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้นก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้” ดังนี้.

หนังสือแก้กรรม หน้า ๖๐

(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๖๗/๕๐๑.

***********

********

 ทิ้งเสียนั่นแหละ กลับจะเป็นประโยชน์



ภิกษุทั้งหลาย. !

สิ่งใด ไม่ใช่ของเธอ, สิ่งนั้น จงละมันเสีย;

สิ่งนั้น อันเธอละเสียแล้ว

จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย. ! อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ ?

ภิกษุทั้งหลาย. ! จักษุไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย;

จักษุนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ



(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มโน ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือน อะไร ๆ ในแคว้นนี้ ที่เป็นหญ้า เป็นไม้ เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้

ที่คนเขาขนไปทิ้ง หรือ เผาเสีย หรือทำตามปัจจัย; พวกเธอรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือทำแก่เราตามปัจจัยของเขา ?

“ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า !”

เพราะเหตุไรเล่า ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่าตัวตน (อตฺตา) ของตน (อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุทั้งหลาย. ! ฉันใดก็ฉันนั้น :

จักษุ...โสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กายะ...มโน ไม่ใช่ของเธอเธอจงละมันเสีย

สิ่งเหล่านั้น อันเธอละเสียแล้ว

จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ แล.

(ภาษาไทย) สฬา.สํ ๑๘/๑๓๑/๒๑๙

******

***

ว่าด้วยเหตุเกิดมิจฉาทิฏฐิ

    [๔๑๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาค

ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิ

จึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์และ

พระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด ดังนี้? ภิกษุเหล่า

นั้น กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลาย

มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้

ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่น

นั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดำรัสแล้ว.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปแลมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป

ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์

และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด. เมื่อเวทนามีอยู่

ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะ

ยึดมั่นวิญญาณทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด

พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด.

    [๔๑๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง

หรือไม่เที่ยง?

     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?



 ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น

ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอดพระจันทร์

และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด บ้างไหม?

     ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

     พ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารเที่ยงหรือไม่

เที่ยง ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

     ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น

ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด

พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด บ้างไหม?

     ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

     พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว

ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

     ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น

ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์

และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด บ้างไหม?

     ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

     พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล พระอริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้

ชื่อว่าเป็นอันละสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินี-



ปฏิปทา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่

ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗



พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



ข้อที่ ๔๑๗-๔๑๘  หน้าที่ ๒๑๑-๒๑๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น