วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธวจน ยัญ.ที่บูชาแล้ว.มีผล.ในสัมมาทิฐิ.คือ.อะไร ?

#ยัญที่บูชาแล้ว มีผล ใน.สัมมาทิฐิ. คืออะไร ?

 #มรรคมีองค์แปด

****สัมมาทิฏฐิ – ความเห็นถูกต้อง*****

********************************

[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น

#สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน

ก็สัมมา ทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร

คือภิกษุรู้จัก-มิจฉาทิฐิว่า-มิจฉาทิฐิ

-รู้จักสัมมาทิฐิว่า-สัมมาทิฐิ

ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ



[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

#มิจฉาทิฐิ-เป็นไฉน

คือ ความเห็นดังนี้ว่า

-ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล

-ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล

-สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล

-ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว แล้วไม่มี

-โลกนี้ไม่มี

-โลกหน้าไม่มี

-มารดาไม่มี

-บิดาไม่มี

-สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี

-สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ

ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง

เพราะ รู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มีนี้

--มิจฉาทิฐิ ฯ—



[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็

#สัมมาทิฐิ-เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว

#สัมมาทิฐิเป็น๒อย่าง คือ

#สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑

#สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย



****สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์***

เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า

-ทานที่ให้แล้ว มีผล

-ยัญที่บูชาแล้ว มีผล

-สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล

-ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่

-โลกนี้มี

-โลกหน้ามี

-มารดามี

-บิดามี

-สัตว์ที่ เป็นอุปปาติกะมี

-สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ

ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้า ให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

นี้--สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ



[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็



***สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค***

เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย

-ปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ

-ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

-ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค

ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก

มีจิตหาอาสวะมิได้

พรั่งพร้อมด้วย อริยมรรค

เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล

สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ



ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละ-มิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ

#ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่

#สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้



ธรรม ๓ ประการนี้ คือ

-สัมมาทิฐิ

-สัมมาวายามะ

-สัมมาสติ

ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๔๕/๔๑๓ ข้อที่ ๒๕๔-๒๕๘



#มรรคมีองค์แปด(องค์ประกอบของมรรคมีแปดข้อ)

1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นถูกตรง

2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริถูกตรง

3. สัมมาวาจา-มีวาจาถูกตรง

4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ

5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ

6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ

7. สัมมาสติ-มีสติระลึกชอบ และ

8. สัมมาสมาธิ-มีสมาธิชอบ



#มรรคมีองค์แปด

#ย่อลงเหลือสาม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

#ย่อลงอีกเหลือสอง คือ สมถ วิปัสนา

#ย่อลงอีกเหลือหนึ่ง คือ อาณาปานสติ



#มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้

1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ

3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ



******************************************

อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read?keywords=สัมมาวายามะ&language=thai&number=145&volume=14

**************************************

ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

************

********

#มหายัญของกูฏทันตพราหมณ์

[๒๐๐] ก็สมัยนั้น พราหมณ์กูฏทันตะ

ได้เตรียมมหายัญโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคผู้ ๗๐๐

ลูกโคเมีย ๗๐๐ แพะ ๗๐๐ และแกะ ๗๐๐

ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ.

พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตต์ได้สดับว่า

พระสมณโคดม ศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล

เสด็จจาริกไปในมคธชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงบ้านขานุมัตต์ ประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา

ใกล้บ้านขานุมัตต์ เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดม

พระองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า.....

--

[๒๓๔] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า

มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า

มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติ ทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้

กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ

กว่าวิหารทานและกว่าสรณคมน์เหล่านี้ยังมีอยู่หรือ?

มีอยู่ พราหมณ์.

#ยัญเป็นไฉน?

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญนั้นเป็นไฉน?

ดูกรพราหมณ์ การที่บุคคลเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส

สมาทานสิกขาบททั้งหลาย คือ

งดเว้นจากปาณาติบาต

งดเว้นจากอทินนาทาน

งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

งดเว้นจากมุสาวาท

งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท

-

ดูกรพราหมณ์ นี้แหละเป็นยัญ

ซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า

และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่า

ยัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้

กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน และกว่าสรณคมน์นี้.

--

#มหายัญที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

[๒๒๗] ดูกรพราหมณ์ ในยัญนั้น

ไม่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด

ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำเป็นหลักยัญ

ไม่ต้องเกี่ยวหญ้าคามาเพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น.

คนเหล่าใดที่เป็นทาส เป็นคนใช้ เป็นกรรมกรของพวกอนุยนตกษัตริย์

เป็นต้นเหล่านั้น แม้คนเหล่านั้นก็มิได้ถูกอาชญาคุกคาม

มิได้ถูกภัยคุกคาม มิได้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้ทำการงาน

ที่จริงคนที่ปรารถนาจะกระทำจึงกระทำ

ที่ไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องกระทำ

ปรารถนาจะกระทำการงานใด ก็กระทำการงานนั้น

ไม่ปรารถนาจะกระทำการงานใด ก็ไม่ต้องกระทำการงานนั้น

ยัญนั้นได้สำเร็จแล้ว

ด้วยลำพังเนยใส น้ำมัน เนยข้น เปรียง น้ำผึ้ง

น้ำอ้อย เท่านั้น.

**พระสูตรยาวมากๆๆ**

อ่านเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka ตาม link

http://etipitaka.com/read/thai/9/145/…

--

#การบวงสรวง หมายถึง การกระทำคุณงาม ความดีประการต่าง ๆ ชื่อว่า

เป็นการบวงสรวงแล้ว เพราะเป็นการบูชา

ทำในสิ่งที่ประเสริฐชื่อว่าบวงสรวง

เช่น การต้อนรับแขกที่มา

การกระทำกุศลในบุญญกิริยาวัตถุ

มีการให้ทาน รักษาศีีล ก็ชื่อ การบวงสรวง

--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น