อย่าถือประมาณในบุคคล.
สุตะ.แก้ได้ทุกเรื่อง จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม
สุตตะ คือ กระแสธรรมถูกต้องบุคคล ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล ใครจะพึงรู้ได้นอกจากตถาคต
*******
#ผู้ทุศีล #มีศีล #ราคะกล้า #มักโกรธ #ฟุ้งซ้าน
--กระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
--กระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
--แทงตลอดอย่างดีด้วยทิฐิ
#ไปแต่ทางเจริญ #ไม่ไปทางเสื่อม
#ถึงความเจริญอย่างเดียว #ไม่ถึงความเสื่อม
-----
ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก ๑๐ จำพวก เป็นไฉน
-----
๑. ดูกรอานนท์บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อมไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ
-------
๒. ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีลแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อมย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดีก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีลและรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย ดูกรอานนท์บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคตดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
-------
๓. ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึงความเจริญดูกรอานนท์
--------
๔. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อมดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
-------
๕. ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึงความเจริญ
-------
๖. ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าแต่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
------
๗. ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
-------
๘. ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟังกระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
--------
๙. ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญดูกรอานนท์
--------
๑๐. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูตแทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อมดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่าธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่านแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคลเพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตนเราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอดมีปัญญาทึบ เป็นอะไรและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล
-------
● ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ดูกรอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใดบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หามิได้ บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใดบุรุษชื่อปุราณะก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้นบุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติ ของบุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้ ดูกรอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
--------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
หน้าที่ ๑๒๒/๓๓๓ ข้อที่ ๗๕
*************
*********
#ฟังพุทธวจนเนื่องๆ
ไปแต่ทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ถึงแต่ความเจริญไม่ถึงความเสื่่อม
**********************
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ ข้อที่ ๓๑๕
---
#อานิสงส์ ฟัง #พุทฺธวจน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล
ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้น
ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติ หลงลืม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ
ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง
เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง
เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า
เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า
เสียงกลองทีเดียว ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต
ก็ไม่ได้แสดงธรรม ในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์ เขาเดินทางไกล
พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ว่า
เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า
เสียงสังข์ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้ บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ...
บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต
ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า
ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า
เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน
เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว
ในที่บางแห่ง สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า
สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกันย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก
ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๘/๑๙๑
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=178&volume=21
---
*************
**********
#สุตะมาก เป็นลักษณะของผู้มีศรัทธา
#ลักษณะแห่งศรัทธา #ของผู้มีศรัทธา
สุภูติสูตร
ครั้งนั้นแล ท่านพระสุภูติกับสัทธภิกษุ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสุภูติว่า
ดูกรสุภูติ ภิกษุนี้ชื่อไร ท่านพระสุภูติกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้ชื่อว่าสัทธะ
เป็นบุตรอุบาสกผู้มีศรัทธา
ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสุภูติ
ก็สัทธภิกษุนี้เป็นบุตรของอุบาสก
ผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
ย่อมเห็นพร้อมในลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลายแลหรือ ฯ
สุ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควร
ทรงแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น
ข้าแต่พระสุคต
บัดนี้เป็นกาลสมควรทรงแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น
ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาเถิด
ข้าพระองค์จักทราบบัดนี้ว่า
ภิกษุนี้จะเห็นพร้อมในลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลายหรือไม่ ฯ
พ. ดูกรสุภูติ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ท่านพระสุภูติทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรสุภูติ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล
สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุเป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ
เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสุตะมาก ฯลฯ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ แม้นี้
ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี
ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี
แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย
ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีย์โดยเคารพ
ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย
เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
เป็นผู้อดทนเป็นผู้รับอนุศาสนีย์โดยเคารพแม้นี้
ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้าน
ในกรณียกิจทั้งสูงและต่ำของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย
ประกอบด้วยปัญญา
เป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้น
อาจทำ อาจจัดได้
ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ฯลฯ
อาจทำ อาจจัดได้
แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม
กล่าวคำเป็นที่รัก
เป็นผู้มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง
ในวินัยอันยิ่ง ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม
เป็นผู้กล่าวคำอันเป็นที่รัก
มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง
ในวินัยอันยิ่ง
แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร
เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรม ให้ถึงพร้อม
เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุปรารภความเพียร ฯลฯ
แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน(ทั้ง) ๔
อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ดูกรสุภูติข้อที่ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน(ทั้ง) ๔
อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้างยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า
ในภพโน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น เสวยสุขมีอาหารอย่างนั้น
เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรสุภูติ
ข้อที่ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้
แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ
กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป จึงต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสุภูติ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธา ที่พระผู้มีพระภาคตรัสนี้นั้น มีพร้อมอยู่แก่ภิกษุนี้ และภิกษุนี้ย่อมเห็นพร้อมในลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธาเหล่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้เป็นเป็นผู้มีศีล ... สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นผู้มีสุตะมาก ... ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ภิกษุนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับเอาอนุศาสนีย์โดยเคารพ ภิกษุนี้เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งหลาย ทั้งสูงและต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ภิกษุนี้เป็นผู้ใคร่ในธรรม กล่าวคำอันเป็นที่รัก เป็นผู้มีความปราโมทย์ยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ภิกษุนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ภิกษุนี้เป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน(ทั้ง) ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ภิกษุนี้ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้างสองชาติบ้าง ฯลฯ เธอระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนี้พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ เธอย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนี้ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธา ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วนี้ มีพร้อมอยู่แก่ภิกษุนี้ อนึ่ง ภิกษุนี้จักปรากฏในลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธาเหล่านี้พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดีละๆ สุภูติ ดูกรสุภูติ ถ้าเช่นนั้นเธอพึงอยู่กับสัทธภิกษุนี้เถิด ดูกรสุภูติ อนึ่ง เธอพึงหวังจะมาเยี่ยมเยือนตถาคตในกาลใด ในกาลนั้น เธอกับสัทธภิกษุนี้พึงเข้ามาเยี่ยมเยือนตถาคตเถิด ฯ
(ภาษาไทย) เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๑๒ – ๓๑๖/๒๒๑.
*****************
*********
#อานิสงส์ในการฟังธรรมก่อนตาย
***
#ฟังธรรม..
-จากตถาคต
-สาวกตถาคต
-ระลึกถึงบทแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
***
-จะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้(อนาคามี)
-ที่ละได้แล้วจะน้อมไปเพื่อนิพพาน
***
ดูกรอานนท์
อานิสงส์
#ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร
#ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร
๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
-
ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ และในเวลา
ตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้น
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้ว
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
ดูกร อานนท์
จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้
ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
-
ในเวลาใกล้ตาย
#เธอได้เห็นตถาคต
ตถาคตย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ
-
จิตของเธอย่อมหลุดพ้น
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
-
อีก ประการหนึ่ง
จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
-
ในเวลาใกล้ตาย
เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย
#แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต
สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
-
อีกประการหนึ่ง
จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
-
ในเวลาใกล้ตาย
เธอไม่ได้เห็นตถาคต
และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย
แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ
#ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา
เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ
ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา
ได้เรียนมาอยู่
จิตของเธอย่อมหลุดพ้น
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
-
ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓
ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม
โดยกาลอันควร ฯ
-
ดูกร อานนท์
จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้
ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
-
ในเวลาใกล้ตาย
#เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต
พระตถาคตย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น ... แก่ เธอ
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
-
อีกประการหนึ่ง
จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
-
ในเวลาใกล้ตาย
เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต
#แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต
สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน
เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
-
ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕
ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
-
อีกประการหนึ่ง
จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้ว
จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
-
ในเวลาใกล้ตาย
เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต
และย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย
#แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรม
ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา
เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ
ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน
อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
-
ดูกรอานนท์
นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖
ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม
โดยกาลอันควร
-
ดูกรอานนท์
อานิสงส์ในการฟังธรรม
ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร
๖ ประการนี้แล ฯ
-
(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๔๓/๓๒๗
-
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=343&volume=22
***************
***********
#สั่งสมสุตตะมาก เปรียบเหมือนการ #สั่งสมอาวุธไว้มาก
ภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา
มีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก
ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัว
และประหารไกลตัว
สำหรับคุ้มภัยในภายใน
และป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด.
ภิกษุทั้งหลาย !
อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก
ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ, ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในสุด
ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญ ชนะ,
ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก
ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.
การสั่งสมสุตตะมาก เปรียบเหมือนการสั่งสมอาวุธไว้มาก
ภิกษุทั้งหลาย !
อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล
ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ
บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.
- สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔
*******************
************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น