วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน อาคามี VS อนาคามี :: โยคสูตร





#โยคสูตร #กามสูตร :: อาคามี VS อนาคามี :: สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2559 ::
******
โยคสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ
กามโยคะ ๑
ภวโยคะ ๑
ทิฏฐิโยคะ ๑
อวิชชาโยคะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็
‪#‎กามโยคะเป็นไฉน‬
บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง
ความเกิด
ความดับ
คุณ
โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออก
แห่งกามทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง
ความเกิด
ความดับ
คุณ
โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออก
แห่งกามทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
*
ความกำหนัดเพราะกาม
ความเพลิดเพลินเพราะกาม
ความเยื่อใยเพราะกาม
ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม
ความเร่าร้อนเพราะกาม
ความหยั่งลงในกาม และ
ความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลาย
ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่ากาม
*
โยคะ กามโยคะเป็นดังนี้
‪#‎ก็ภวโยคะเป็นไฉน‬ บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิดความดับคุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
*
ความกำหนัดเพราะภพ
ความเพลิดเพลินเพราะภพ
ความเยื่อใยเพราะภพ
ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ
ความเร่าร้อนเพราะภพ
ความหยั่งลงในภพ และ
ความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าภวโยคะ
กามโยคะ ภวโยคะเป็นดังนี้
*
‪#‎ก็ทิฏฐิโยคะเป็นไฉน‬ บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับคุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
***
ความกำหนัดเพราะทิฐิ
ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ
ความเยื่อใยเพราะทิฐิ
ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ
ความกระหายเพราะทิฐิ
ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ
ความหยั่งลงเพราะทิฐิ และ
ความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ
กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะเป็นดังนี้
******
‪#‎ก็อวิชชาโยคะเป็นไฉน‬ บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ
ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ
ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้
ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ
ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้
บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมอันลามก
อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก
มีชาติ ชราและมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษมจากโยคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการ
เหล่านี้แล ฯ
******************
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ
ความพรากจากกามโยคะ ๑
ความพรากจากภวโยคะ ๑
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๑
ความพรากจากอวิชชาโยคะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
‪#‎ก็ความพรากจากกามโยคะเป็นไฉน‬
บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
*
ความกำหนัดเพราะกาม
ความเพลิดเพลินเพราะกาม
ความเยื่อใยเพราะกาม
ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม
ความเร่าร้อนเพราะกาม
ความหยั่งลงในกาม
ความทะยานอยากเพราะกาม
ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากกามโยคะ
ความพรากจากกามโยคะเป็นดังนี้
*******
‪#‎ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นไฉน‬
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพ
ทั้งหลายตามความเป็นจริง
*
ความกำหนัดเพราะภพ
ความเพลิดเพลินเพราะภพ
ความเยื่อใยเพราะภพ
ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ
ความเร่าร้อนเพราะภพ
ความหยั่งลงในภพ
และความทะยานอยากเพราะภพ
ในภพทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากภวโยคะ
ความพรากจากกามโยคะความพรากจากภวโยคะ
เป็นดังนี้
‪#‎ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นไฉน‬
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลายตามความเป็นจริง
ความกำหนัดเพราะทิฐิ
ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ
ความเยื่อใยเพราะทิฐิ
ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ
ความกระหายเพราะทิฐิ
ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ
ความหยั่งลงในทิฐิ
และความทะยานอยากเพราะทิฐิ
ในทิฐิทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ
ความพรากจากกามโยคะความพรากจากภวโยคะ
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้
**
‪#‎ก็ความพรากจากอวิชชาโยคะเป็นไฉน‬
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ประการ
ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ
ตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ในผัสสายตนะ ๖ ประการ
ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากอวิชชาโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้
*************
บุคคลผู้พรากจากอกุศลธรรมอันลามก
อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง
เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์
เป็นวิบาก
มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ
****
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการ นี้แล ฯ
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วย
กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ
ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ
ไปสู่ สงสาร
********
ส่วนสัตว์เหล่าใด
กำหนดรู้กามทั้งหลาย และ
ภวโยคะโดยประการทั้งปวง
ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ
และสำรอก อวิชชาเสียได้
สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวง
เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบภัณฑคามวรรคที่ ๑
*********
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๙ ข้อที่ ๑๐
**********
** ‪#‎อนาคามี‬ อาคามี ***
****************************
๗. กามสูตร
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี
ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้
(คืออัตภาพแห่งมนุษย์)
**
ดูกรภิกษุทั้งหลายพระอริยบุคคล
ผู้พรากแล้วจากกามโยคะ (แต่)
ยังประกอบด้วยภวโยคะ
เป็นอนาคามี
ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
*
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระอริยบุคคลผู้
พรากแล้วจากกามโยคะ
พรากแล้วจากภวโยคะ
เป็นพระอรหันตขีณาสพ ฯ
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้วด้วย
กามโยคะและภวโยคะ
ย่อมไปสู่สงสาร
ซึ่งมีปรกติถึงความเกิดและความตาย
ส่วนสัตว์เหล่าใดละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด
แต่ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ยังประกอบด้วยภวโยคะ
สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า
เป็นพระอนาคามี
ส่วนสัตว์เหล่าใด
ตัดความสงสัยได้แล้ว
มีมานะและมีภพใหม่สิ้นแล้ว ถึงความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้วในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๗
**
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๕
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย
ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
หน้าที่ ๒๓๗ ข้อที่ ๒๗๖
**

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น