วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน ผู้ไม่ได้ยินไม่ได้ฟัง ..พุทธวจน..ไม่อาจหลุดพ้นได้



ผู้ที่ไม่ได้ยิน..ไม่ได้ฟัง ..พุทธวจน..ไม่อาจหลุดพ้นได้..
คำสอนของพระศาสดา..จะทำให้เรา..ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว..จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
สนทนาธรรมผ่านระบบ vdo conference พุทธวจนสถาบัน usa
ค่ำวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฏาคม 2558

เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
http://watnapp.com/
**********
‪#‎โสดาปัตติมรรค‬ ๒ จำพวก
ก. สัทธานุสารี
ภิกษุ ท. ! ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.
ภิกษุ ท.! บุคคลใด มีความเชื่อน้อมจิตไป
ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้;
บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว
จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควร
ที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
ข. ธัมมานุสารี
ภิกษุ ท. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่ง
โดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญาของบุคคลใด ด้วยอาการ
อย่างนี้;
บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ(ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว
จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควร
ที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.
**********
******
#ทิฎฐิอริยา 7 ประการ
คุณสมบัติโสดาบัน
1 ละนิวรณ์ห้า [กามราคะ, พยาบาท, ถีนมิทธะ, อุททัจจกุกกุจจะ, วิจิกิจฉา]
ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้
ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกหน้า
ไม่เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก
--
2 อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้
ย่อมได้ ความระงับเฉพาะตน ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตน
--
3 อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือ
พราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มิได้มี
--
4 ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ
อริยสาวกเมื่อต้องอาบัติ
อริยสาวกนั้นรีบแสดง
เปิดเผย
ทำให้ตื้น
ซึ่งอาบัตินั้น ในสำนักพระศาสดา
--
หรือเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย
ครั้นแสดง
เปิดเผย
ทำให้ตื้น
แล้ว ก็ถึงความสำรวมต่อไป.
--
เปรียบเหมือนกุมารที่อ่อนนอนหงาย
ถูกถ่านไฟ
ด้วยมือหรือด้วยเท้าเข้าแล้ว
ก็ชักหนีเร็วพลัน
ฉะนั้น.
--
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัด
อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยธรรมดา เช่นใด
ถึงเราก็
ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น
--
5 ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ อริยสาวกถึงความขวนขวายในกิจใหญ่น้อยที่ควรทำอย่างไร
ของเพื่อนสพรหมจารีโดยแท้ ถึงอย่างนั้น
ความเพ่งเล็งกล้าในอธิศีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา
และอธิปัญญาสิกขา
ของ อริยสาวกนั้นก็มีอยู่
เปรียบเหมือนแม่โคลูกอ่อน
ย่อมเล็มหญ้ากินด้วย
ชำเลืองดูลูกด้วยฉะนั้น.
--
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น
--
6 พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ อริยสาวกนั้น
เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคต
ประกาศแล้ว
อันบัณฑิตแสดงอยู่
ทำให้มีประโยชน์
ทำไว้ในใจ
กำหนดด้วย
จิตทั้งปวง
เงี่ยโสตฟังธรรม.
อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้
ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.
-
7 พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ อริยสาวกนั้น
เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศแล้ว
อันบัณฑิตแสดงอยู่
ย่อมได้ความรู้อรรถ
ย่อมได้ความรู้ธรรม
ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม.
อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่น นั้น.
--
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วย
โสดาปัตติผล
--
ทิฏฐิที่เป็นนิยยานิกธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก
เป็นนิยยานิกธรรม
นำออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็นไฉน?
--
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้ว
ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง
ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่เรายังละไม่ได้ มีอยู่หรือหนอ?
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุม
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุม
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุม
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
มีจิตอันอุททัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุม
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
เป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
เป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกหน้า
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
และเกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่
ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้ว
ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง
ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่เรายังละไม่ได้แล้ว
มิได้มีเลย จิตเราตั้งไว้ดีแล้ว
เพื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย.
นี้ญาณที่ ๑ เป็นอริยะ
เป็นโลกุตระไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน
อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว.
--
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้
ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน
ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตนหรือหนอ?
อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้
ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน
ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตน.
นี้ญาณที่ ๒ เป็นอริยะ
เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน
อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด
สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มีอยู่หรือหนอ?
อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด
สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มิได้มี.
นี้ญาณที่ ๓ เป็นอริยะ
เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน
อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ ความออกจากอาบัติเช่นใด
ย่อมปรากฏ
อริยสาวกย่อมต้องอาบัติเช่นนั้นบ้างโดยแท้
ถึงอย่างนั้น อริยสาวกนั้นรีบแสดง
เปิดเผย
ทำให้ตื้น
ซึ่งอาบัตินั้น
ในสำนักพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย
ครั้นแสดงเปิดเผย
ทำให้ตื้นแล้ว
ก็ถึงความสำรวมต่อไป.
-
เปรียบเหมือนกุมารที่อ่อนนอนหงาย
ถูกถ่านไฟ ด้วยมือหรือด้วยเท้าเข้าแล้ว
ก็ชักหนีเร็วพลัน ฉะนั้น.
-
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดา เช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.
นี้ญาณที่ ๔ เป็นอริยะ
เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน
อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ อริยสาวกถึงความขวนขวายในกิจใหญ่น้อยที่ควรทำอย่างไร
ของเพื่อนสพรหมจารีโดยแท้
ถึงอย่างนั้น
ความเพ่งเล็งกล้า
ในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
ของอริยสาวกนั้นก็มีอยู่
เปรียบเหมือนแม่โคลูกอ่อน
ย่อมเล็มหญ้ากินด้วย
ชำเลืองดูลูกด้วยฉะนั้น.
อริยสาวกนั้น
ย่อมรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.
นี้ญาณที่ ๕ เป็นอริยะ
เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน
อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ อริยสาวกนั้น
เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
อันบัณฑิตแสดงอยู่
ทำให้มีประโยชน์
ทำไว้ในใจ
กำหนดด้วยจิตทั้งปวง
เงี่ยโสตฟังธรรม.
อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.
นี้ญาณที่ ๖ เป็นอริยะ
เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน
อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ อริยสาวกนั้น
เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
อันบัณฑิตแสดงอยู่
ย่อมได้ความรู้อรรถ
ย่อมได้ความรู้ธรรม
ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม.
อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยพละเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นใด
ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.
นี้ญาณที่ ๗ เป็นอริยะ
เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน
อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมดาอันอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการอย่างนี้
ตรวจดูดีแล้ว
ด้วยการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยโสดาปัตติผล
ฉะนี้แล.
-
พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้น
ชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ฉะนี้แล.
*********
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๒
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
หน้าที่ ๔๑๓ ข้อที่ ๕๔๓
****
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read/thai/12/413/?keywords=%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
*******
****
"อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผล ๖ ประการ "
ภิกษุ ท. ! อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผล ๖ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่.
หกอย่างเหล่าไหนเล่า ? หกอย่าง คือ : -
เป็นบุคคลผู้ เที่ยงแท้ต่อสัทธรรม;
เป็นบุคคลผู้ มีธรรมอันไม่รู้เสื่อม;
ทุกข์ดับไป ทุกขั้นตอนแห่งการกระทำที่กระทำแล้ว
เป็นบุคคลผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ
(ที่ไม่ทั่วไปแก่พวกอื่น) ;
เป็นบุคคลผู้ เห็นธรรมที่เป็นเหตุ และ
เห็นธรรมทั้งหลาย ที่เกิดมาแต่เหตุ.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อานิสงส์ ๖ ประการ
แห่งการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

(ไทย) ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๔/๓๖๘.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น