วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน เกิดมาทำไม? .ความทุกข์ของบุถุชน



คนเราเกิดมาทำไม..ความทุกข์ของบุถุชน..การที่เราเกิดมา อะไรคือ..สิ่งที่เราต้องแก้ไขในชีวิต.อย่าให้เรื่องทางโลก.ชักจูงเราออกไป..จนกระทั้งลืมเรื่องหลักของชีวิต..คือ..การพ้นจาก..ความแก่..ความเจ็บ.ความตาย.**ความทุกข์ของปุถุชน*
ตะวัน พุทธวจน BN.4386 (( รับชมคลิป พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.กับการ..เชื่อมโยงพระสูตร..ที่ลึกขึ้นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง.ได้จาก 5 ช่องทาง..สร้างเหตุไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว..ไม่ถึงความเสื่อม.. ))
link ;; ทวิตเตอร์ ;; https://twitter.com/fantachaleeporn
link;; G+ ;; https://plus.google.com/u/0/+ChaleepornInrodBNNo312
link;; blogger ;; http://buddhawajana252.blogspot.com/
link ;;ช่อง YouTube; https://www.youtube.com/c/ChaleepornInrodBNNo312
link ;; คลิป ;; https://www.youtube.com/watch?v=lcr0RaHiN6s
link ;; คลิป facebook ;; https://www.facebook.com/100012607659827/videos/226519674444953/
link ;; facebook ; 5 เฟส
เฟส 1 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012502933592
เฟส 2 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012607659827
เฟส 3 ;; https://www.facebook.com/fata.chalee
เฟส 4 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100010716036268
เฟส 5 ;; https://www.facebook.com/profile.php?id=100012410853671
เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน
โดยพอจ.คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง10 จังหวัด ปทุมธานี
เพจ พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์
โดย : ตะวัน พุทธวจน BN.4386
https://www.facebook.com/groups/679713432115426/
***รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ แต่คำตถาคต***
ขอบพระคุณเว็ปไซต์จากวัดนาป่าพง
http://watnapp.com/ และ คุณป๊อก บางกรวย
**********
3 พระสูตร..
1.ฐานะ๕ประการ*..‬‪
2.เพราะไม่รู้อริยสัจ‬ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ*
3.การรู้อริยสัจ๔ ...เร่งด่วนกว่า..การดับไฟ..ที่กำลังไหม้อยู่บนศรีษะ*
สร้างเหตุ ในการบรรลุธรรม
1.การได้ฟังธรรมตถาคตเนื่องๆ*
2.กระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง ฯลฯ รู้แจ้ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือ มีศีล ทุศีล ราคะกล้า มักโกรธ ฟุ้งซาน..
3. อบรมจิต อบรมปัญญา..อานาปานสติ..สมถะ วิปัสนา.
๘. ฐานสูตร
[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ ๕ ประการเป็นไฉน คือฐานะว่า
• ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑
• ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ ๑
• ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา[ของเรา] อย่าตาย ๑
• ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าสิ้นไป ๑
• ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหาย ๑
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา
ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว
เขาย่อมไม่เห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น
แก่ไป โดยที่แท้สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง
ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ
ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง
ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว
พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไรทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน
แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม
แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก
แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรพึงเสียใจ ดังนี้
เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว
เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษแทงเข้าแล้ว
ย่อมทำตนให้เดือดร้อน ดังนี้
-
จบสูตรที่ ๘
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๔๘/๔๐๗ ข้อที่ ๔๘
••••••••••••••••••
‪#‎เพราะไม่รู้อริยสัจ‬ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ
ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง,
เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ
ตลอดกาลยืดยาวนาน ถึงเพียงนี้.
ภิกษุ ท. ! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะ ไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจคือทุกข์,
อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์, อริยสัจคือ
ความดับไม่เหลือของทุกข์
และอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;
เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ
ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.
; ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.
---
#การรู้อริยสัจ๔ ...
#เร่งด่วนกว่า..#การดับไฟ..#ที่กำลังไหม้อยู่บนศรีษะ...

#สัตติสตสูตร
#ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ๔

[๑๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว
จะควรกระทำอย่างไร?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว
ควรจะกระทำความพอใจ
ความพยายาม
ความอุตสาหะ
ความไม่ย่นย่อ
ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า
เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลพึงวางเฉย
ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้
แล้ว

#พึงกระทำความพอใจ
#ความพยายาม
#ความอุตสาหะ
#ความไม่ย่นย่อ
#ความไม่ท้อถอย
#สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า
#เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔
#ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง

อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ
ทุกขอริยสัจ ฯลฯ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ
เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๔๓๖/๔๖๙
ข้อที่ ๑๗๑๘-๑๗๑๙

http://etipitaka.com/compare?utf8=✓&lang1=thai&volume=19&p1=435&lang2=pali&commit=►#
--
มีสติหลงลืมทำกาละ..จะได้ไปเกิดเป็นเทวดา..และจะบรรลุธรรมในภพนั้น
-
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล
-
ฟังเนืองๆ
คล่องปาก
ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
-
อันบุคคลพึงหวังได้
อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
-
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้น
เป็นธรรมอันภิกษุนั้น
ฟังเนืองๆ คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
-
เธอมีสติ หลงลืมเมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
-
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ
-
ผู้มีความสุขในภพนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล
ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้น
ฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
-
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ
ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต
แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้น
-
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง
เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง
เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า
เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด
-
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...
บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต
ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน
เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
เขาเดินทางไกล
พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า
เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ว่า
เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ
ที่แท้ เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉันใด
-
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้ บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ...
บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า
ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า
เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน
บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง
สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า
สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ
เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้
เราระลึกได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ประการนี้
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๗๘ ข้อที่ ๑๙๑
-
http://etipitaka.com/read/thai/21/186/…
-
#อานิสงส์ของสุตตะ
อานนท์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน

และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ของเขาตามความเป็นจริง

บุคคลนั้น ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยความเห็น

ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ...

อานนท์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน

แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ของเขาตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยความเห็น

ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม...

เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้
ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต

อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย
อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล

เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ...

-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๔๗/๗๕.

...................................................
คลิกอ่านพระสูตร
http://etipitaka.com/read?keywords=มิคสาลาสูตร&language=thai&number=122&volume=24
-
#กรรมแม้ประมาณน้อย...ไปนรกได้แล้ว
----------------------------------------
-เป็นผู้ไม่อบรมกาย
-ไม่อบรมศีล
-ไม่อบรมจิต
-ไม่อบรมปัญญา
-มีคุณน้อย -มีอัตภาพเล็กมีปรกติ
-อยู่เป็นทุกข์ เพราะวิบากเล็กน้อย
บุคคลเห็นปานนี้ ทำบาปกรรมแม้เล็กน้อย
บาปกรรมนั้นก็ นำเขาเข้านรก
-----------------------------------
โลณกสูตร
[๕๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
บุรุษนี้ทำบาปไว้อย่างไรๆ เขา จะต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีไม่ได้
โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ
ส่วนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
บุรุษนี้ทำกรรม ที่จะต้องเสวยผลไว้ด้วยอาการใดๆ
เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้นด้วยอาการนั้นๆ
เมื่อเป็น เช่นนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีได้
โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อม ปรากฏ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ทำบาปกรรมแม้เล็กน้อย
บาปกรรมนั้นก็นำ เขาเข้านรก
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย เช่นนั้นแหละ
บาปกรรม นั้นย่อมให้ผลทันตาเห็น
แต่ส่วนน้อย ไม่ปรากฏ ปรากฏเฉพาะส่วนที่มาก
บุคคลเช่นไร ทำบาป กรรมแม้เล็กน้อยบาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
-เป็นผู้ไม่อบรมกาย
-ไม่อบรมศีล
-ไม่อบรมจิต
-ไม่อบรมปัญญา
-มีคุณน้อย -มีอัตภาพเล็กมีปรกติ
-อยู่เป็นทุกข์ เพราะวิบากเล็กน้อย
บุคคลเห็นปานนี้ ทำบาปกรรมแม้เล็กน้อย
บาปกรรมนั้นก็ นำเขาเข้านรก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเช่นไรเล่า
-ทำบาปกรรมเล็กน้อยเช่นนั้นเหมือนกัน
-บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น แต่ส่วนน้อยไม่ปรากฏ
-ปรากฏเฉพาะส่วนมาก
ดูกรภิกษุทั้ง หลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
-เป็นผู้อบรมกาย
-อบรมศีล
-อบรมจิต
-อบรมปัญญา
-มีคุณไม่น้อย -มีอัตภาพใหญ่
มีธรรมเป็นเครื่องอยู่หาประมาณมิได้
บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเล็กน้อยเช่นนั้น
เหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น
แต่ส่วนน้อยไม่ปรากฏ
ปรากฏเฉพาะแต่ส่วนมาก
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนบุรุษพึงใส่ก้อนเกลือลงในขันใบน้อย
เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน
น้ำในขันเพียงเล็กน้อยนั้น พึงเค็มดื่มกินไม่ได้
เพราะก้อนเกลือโน้นใช่ ไหม
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่าใช่พระเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ
ภิ. เพราะในขันน้ำมีน้ำนิดหน่อย ฉะนั้นน้ำนั้นจึงเค็ม
ดื่มไม่ได้ เพราะก้อนเกลือนี้ พระเจ้าข้า ฯ
พ. เปรียบเหมือนบุรุษพึงใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อ นั้นเป็นไฉน
แม่น้ำคงคาพึงเค็ม ดื่มไม่ได้ เพราะก้อนเกลือโน้นหรือไม่ ฯ
ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ
ภิ. เพราะในแม่น้ำคงคานั้น มีห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น
ห้วงน้ำใหญ่นั้นจึงไม่เค็ม ดื่มได้ เพราะก้อนเกลือโน้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ทำบาปกรรมเพียง เล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเล็กน้อย
เช่นนั้นเหมือนกัน บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น
ส่วนน้อยไม่ปรากฏ ปรากฏแต่เฉพาะส่วน มาก ... ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง
ถูก จองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง
ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง
ส่วนบุคคลบางคน ในโลกนี้ไม่ถูกจองจำ
แม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ
ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ
ไม่ถูกจอง จำแม้เพราะทรัพย์ตั้งร้อยกหาปณะ
ก็บุคคลเช่นไรเล่า ถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง
ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง
ถูกจองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นคนขัดสน มีสิ่งของของตนน้อย มีโภคทรัพย์น้อย
บุคคล เช่นนี้ย่อมถูกจองจำเพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะบ้าง
ถูกจองจำเพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะบ้าง
ถูก จองจำเพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะบ้าง
บุคคลเช่นไรเล่า ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ
ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ
ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะ
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์เหลือเฟือ มีโภคะมากมาย บุคคลเช่นนี้
ย่อมไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์กึ่งกหาปณะ
ไม่ถูกจองจำแม้เพราะทรัพย์หนึ่งกหาปณะ
ไม่ถูก จองจำแม้เพราะทรัพย์ร้อยกหาปณะ
ฉันนั้นเหมือนกันแล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ทำบาปกรรมไว้เพียงเล็กน้อย
บาปกรรมนั้นก็นำเขาเข้านรก
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
ได้ทำ บาปกรรมเล็กน้อยไว้เช่นนั้นเหมือนกัน
บาปกรรมนั้นให้ผลทันตาเห็น ส่วนน้อยไม่ปรากฏ
ปรากฏเฉพาะแต่ส่วนมาก ฯลฯ ฯ
--
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนสามารถที่จะฆ่า
หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา
หรือทำตามที่ตนปรารถนาบางคนไม่สามารถที่จะฆ่า
หรือ จองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนาได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจ้าของ แกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไรเล่า
สามารถที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา
หรือทำ ตามที่ตนปรารถนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้
เป็นคน ขัดสน มีสิ่งของของตนน้อย มีโภคทรัพย์น้อย
เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้
สามารถที่ จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ
หรือเอาไฟเผา หรือทำตามที่ตนปรารถนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไรเล่า
ไม่สามารถที่จะฆ่า หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา
หรือทำตามที่ตนปรารถนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะบางคนในโลกนี้
เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะเหลือเฟือ
เป็นพระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชา
เจ้าของ แกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะฆ่า
หรือจองจำคนลักแกะ หรือเอาไฟเผา หรือทำตาม ที่ตนปรารถนา
ความจริงเจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะนั้น
อันคนผู้ประนมมือย่อมจะขอเขาได้ว่า ข้าแต่ท่าน
ขอท่านจงให้แกะหรือทรัพย์ที่เป็นมูลค่าของแกะแก่ฉันเถิด
แม้ฉันใด ฉันนั้นเหมือน กัน
ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย
บาปกรรมนั้นย่อมนำ เขาเข้านรก
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
ได้ทำบาปกรรมเล็กน้อยไว้เช่นนั้นเหมือนกัน
บาป กรรมนั้นย่อมให้ผลทันตาเห็น
ส่วนน้อยไม่ปรากฏ ปรากฏแต่เฉพาะส่วนมาก ฯลฯ ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
บุรุษนี้ทำกรรมไว้อย่างไรๆเขาจะต้อง
เสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้นย่อมมีไม่ได้
โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ
ส่วนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
บุรุษนี้ทำกรรมที่ จะต้องเสวยผลไว้ด้วยอาการใดๆ
เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น
ด้วยอาการนั้นๆ เมื่อเป็น เช่นนี้
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้นั้น
ย่อมมีได้โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อม ปรากฏ ฯ
--
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๒๓๗/๒๙๐ข้อที่ ๕๔๐
http://etipitaka.com/read…#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น