วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ตรวจสอบความเป็นโสดาบันของตนเอง



ตรวจสอบความเป็นโสดาบันของตนเอง ::
สนทนาธรรมเช้าวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ::
****
#ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน

นัยที่ ๑

ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ (โดยธรรมชาติ) ๖ ประการเหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ :-
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไรๆ โดยความเป็นของสุข
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงธรรมะไรๆ โดยความเป็นตัวตน
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจกระทำอนันตริยกรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจหวังการถึงความบริสุทธิ์ โดยโกตุหลมงคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจแสวงหาทักขิเณยยบุคคล ภายนอกจากศาสนานี้.


ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

หนังสือโสดาบัน หน้า ๑๑๐
(ไทย)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๖๔.
(บาลี)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๙/๓๖๔
*********
*****
#ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน
นัยที่ ๒

ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการเหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ : -


ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระธรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระสงฆ์
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในสิกขา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่อนาคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา)
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจยังภพที่แปดให้เกิดขึ้น


ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

คู่มือโสดาบัน หน้า๑๑๒
(ไทย)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๖๓.
(บาลี)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๙/๓๖๓.
*********
******
#ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน
นัยที่ ๓

ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ : -


เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง ปลงชีวิตมารดา
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง ปลงชีวิตบิดา
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง ปลงชีวิตพระอรหันต์
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง คิดประทุษร้ายตถาคตแม้เพียงทำโลหิตให้ห้อ
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง ทำให้สงฆ์ให้แตกกัน
เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึง ถือศาสดาอื่น (นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)


ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

คู่มือโสดาบัน ๑๑๕
(ไทย)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๖๕.
(บาลี)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๙/๓๖๕.
********
******
#ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน
นัยที่ ๔

ภิกษุทั้งหลาย ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการเหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า? หกประการ คือ : -


ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ ตนทำเอง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ตนทำเองก็มี ผู้อื่นทำให้ก็มี
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเอง เกิดขึ้นได้ตามลำพัง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ไม่ต้องใครอื่นทำให้เกิดขึ้นได้ตามลำพัง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า สุขและทุกข์ไม่ต้องทำเองและไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง

ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่าเหตุ (แห่งสุขและทุกข์) อันผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เห็นแล้วโดยแท้จริงและธรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่เกิดมาแต่เหตุด้วย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.

คู่มือโสดาบัน ๑๑๗
(ไทย)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๓/๓๖๖.
(บาลี)ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๐/๓๖๖.
*********
*****
#กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท.
อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ
เมื่อสิ่งนี้ “มี” สิ่งนี้ ย่อมมี
อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
เมื่อสิ่งนี้ “ไม่มี” สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.
มม. ๑๓๓๕๕๓๗๑, นิทาน. สํ. ๑๖๘๔๑๕๔


ปฏิจจสมุปบาท แห่ง ความสิ้นสุดของโลก
นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ
เมื่อความน้อมไป ไม่มี, การมาและการไป ย่อมไม่มี
อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต นะ โหติ
เมื่อการมาและการไป ไม่มี, การเคลื่อนและการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี
จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้น ไม่มี, อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้
ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
เอเสวันโต ทุกขัสสะนั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.
อุทานขุ. ๒๕๒๐๘๑๖๑

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ
สัมมา ปัสสัง นิพพินทะติ;
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
นันทิกขะยา ราคักขะโย;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ(คือความเพลิน) จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ(คือความพอใจ)
ราคักขะยา นันทิกขะโย;
เพราะความสิ้นไปแห่ง ราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่ง นันทิ
นันทิราคักขะยา จิตตัง สุวิมุตตันติ วุจจะติ.
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.
(สฬา.สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕-๖.)
********
*****
#ชื่อของโสดาบัน
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ
ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว
ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้
ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ
ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว
ผู้ประเสริฐ มีปัญญาเครื่องชำาแรกกิเลส
ยืนอยู่จรดประตูแห่งอมตะ
นิทาน. สํ. ๑๖/๙๕-๙๖/๑๘
*******
****
#โสดาบัน ๓ จำพวก
เสขสูตรที่ ๔
[๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่ง
กุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น
รวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉนคือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญา
สิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา๓ นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำ
ให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงใน
สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ก็หรือว่า
เมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิย
สังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามี
ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอด
วิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป
ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็น
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕หมด สิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อ
ยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และ
เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึงยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน เพราะ
สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป มาบังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบันเพราะสังโยชน์
๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือ
ว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะ
สังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมากเพียง ๗ ครั้ง แล้วจะทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
*******
*****
ดาวน์โหลดหนังสือ คู่มือ โสดาบัน พุทธวจน
http://buddhaoat.blogspot.com/p/blog-page_13.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น