วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน อานิสงส์ในการฟังพุทธวจนเนื่องๆ.. ไปเกิดเป็นเทวดาและจะบรรลุธรรม



อานิสงส์ในการฟังพุทธวจนเนื่องๆ ขาดสติตอนตาย จะได้ไปเกิดเป็นเทวดาและจะบรรลุธรรมในภพนั้น
มีสติหลงลืมทำกาละ..จะได้ไปเกิดเป็นเทวดา..และจะบรรลุธรรมในภพนั้น
-
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล
-
ฟังเนืองๆ
คล่องปาก
ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
-
อันบุคคลพึงหวังได้
อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
-
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้น
เป็นธรรมอันภิกษุนั้น
ฟังเนืองๆ คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
-
เธอมีสติ หลงลืมเมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
-
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ
-
ผู้มีความสุขในภพนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล
ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้น
ฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
-
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ
ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต
แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้น
-
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง
เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง
เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า
เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด
-
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...
บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต
ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน
เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
เขาเดินทางไกล
พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า
เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ว่า
เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ
ที่แท้ เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉันใด
-
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้ บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ...
บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า
ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า
เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์
สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน
บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง
สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า
สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ
เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้
เราระลึกได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน
ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
-
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ประการนี้
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ
ฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๗๘ ข้อที่ ๑๙๑
-
http://etipitaka.com/read/thai/21/186/…
-
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)
มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการ
ตามรู้ซึ่งความจริง”
ภารท๎วาชะ ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้
เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดี
หรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่
ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ :-
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ....
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ต่อแต่นั้น
เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรม
ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ….ในธรรมทั้งหลายอันเป็น
ที่ตั้งแห่งโมหะ…. เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น
ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โทสะ....ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
ลำดับนั้น เขา :-
(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมี
ศรัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม
(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย
อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ,
เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อม มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม,
ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว
(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น; เขาผู้มีตน
ส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ
(ความจริงโดยจริงความหมายสูงสุด) ด้วยนามกาย ด้วย,
ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.
ภารท๎วาชะ !
การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
-------------------
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง(สจฺจานุปตฺติ)
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
(สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึง
ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญ
ถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง”
ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ
การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ (ทั้ง ๑๒ ข้อ
ข้างต้น) เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
ภารท๎วาชะ !
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
และเราบัญญัติการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗.
*******
****
#ท่องจำไปก่อนคะ.. เป็นปฏิจจสมุปบาทแห่งการตามรู้ซึ่งพระสัทธรรม
#การทรงจำธรรมนั้นไว้มีอุปการระมากแก่การใคร่ครวญพิจารณาธรรมที่ตนทรงจำไว้
การใคร่ครวญพิจารณาธรรมที่ตนทรงจำไว้มีอุปการระมากแก่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพิสูจน์
ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอุปการระมากแก่ฉันทะ
ฉันทะมีอุปการระมากแก่ความอุตสาหะ
ความอุตสาหะมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา
ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร
ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุซึ่งสัจธรรม
---
#การทรงจำเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก พระศาสดาตรัสไว้ดังนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------
กา. ท่านพระโคดม ก็ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
จึงจะเชื่อว่าเป็นการตามรักษาสัจจะ
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการตาม
รักษาสัจจะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีศรัทธา
เขากล่าวว่า ศรัทธาของเราอย่างนี้
ดังนี้ ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ
แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า
-
สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
-
ดูกรภารทวาชะ
การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
-
แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน
ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีความชอบใจ
... มีการฟังตามกัน
... มีความตรึกตามอาการ
... มีการทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิ
เขากล่าวว่า การทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิของเราอย่างนี้ ดังนี้
ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ
แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า
-
สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
-
ดูกรภารทวาชะ
การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
-
แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน.
กา. ท่านพระโคดม
การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลชื่อว่า
ตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็ง
การรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
-
ท่านพระโคดม
ก็การตรัสรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม
ถึงการตรัสรู้สัจจะ?
-
พ. ดูกรภารทวาชะ ได้ยินว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือนิคมแห่งหนึ่งอยู่.
คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี
เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว
ย่อมใคร่ครวญดูในธรรม ๓ ประการ คือ
-
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ๑
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ๑
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑
-
ว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำแล้ว
เมื่อไม่รู้ก็พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็พึงกล่าวว่าเห็น
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ได้หรือหนอ.
เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่
ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า
-
ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำ
ท่านผู้นี้เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น
หรือว่าสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย.
อนึ่ง ท่านผู้นี้มี
-
กายสมาจาร
วจีสมาจาร
เหมือนของบุคคลผู้ไม่โลภฉะนั้น
ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้
ธรรมนั้นอันคนโลภแสดงไม่ได้โดยง่าย.
-
เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัด
เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
เมื่อนั้น เขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไป
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายว่า
ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย
มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงำ
เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ได้หรือหนอ.
เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย
ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงำ
เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ไม่มีเลย.
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร
เหมือนของบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายฉะนั้น
ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิต
พึงรู้ธรรมนั้นอันบุคคลผู้ประทุษร้ายแสดงไม่ได้โดยง่าย.
เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ย่อมเห็น
แจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย
เมื่อนั้นเขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไป
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงว่า
ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ
เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึง
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ได้หรือหนอ.
เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ
เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น
หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น
พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย.
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่หลง ฉะนั้น
ก็ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก
ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ ธรรม
นั้นอันบุคคลผู้หลงพึงแสดงไม่ได้โดยง่าย
เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า
เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
เมื่อนั้น เขาย่อมตั้งศรัทธาลงในเธอนั้นมั่นคง เขาเกิดศรัทธาแล้ว
ย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้
เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เขาเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม
ครั้นฟังแล้วย่อมทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่ง
เมื่อธรรมควรแก่การเพ่งมีอยู่ ย่อมเกิดฉันทะ
เกิดฉันทะแล้ว ย่อมขะมักเขม้น
ครั้นขะมักเขม้นแล้ว ย่อมเทียบเคียง
ครั้นเทียบเคียงแล้วย่อมตั้งความเพียร เป็นผู้มีใจแน่วแน่
ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งชัดด้วยกายและเห็นแจ้งแทงตลอดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา
ดูกรภารทวาชะ การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่เชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว.
กา. ท่านพระโคดม การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมตรัสรู้
สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะ
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงการบรรลุสัจจะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเสพจนคุ้น การเจริญ การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้น
แล ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ดูกรภารทวาชะ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติ
เพียงเท่านี้.
กา. ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุ
สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้ ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่าน
พระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าไม่พึงตั้ง
ความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียรจึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียร
จึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร?
พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา
ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้งความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณา
จึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นไฉน ข้าพเจ้า
ขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา?
พ. ดูกรภารทวาชะ ความอุตสาหะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้า
ไม่พึงอุตสาหะ ก็พึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึงมี
อุปการะมากแก่ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูล
ถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด ก็พึง
อุตสาหะไม่ได้ แต่เพราะฉันทะเกิดจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่าน
พระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ?
พ. ดูกรภารทวาชะ ธรรมที่ควรแก่การเพ่งมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลายไม่
ควรแก่การเพ่ง ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การเพ่ง ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น
ธรรมที่ควรแก่การเพ่งจึงมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรการเพ่งเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่
การเพ่ง ถ้าไม่พึงใคร่ครวญเนื้อความนั้น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ควรแก่การเพ่ง แต่เพราะใคร่ครวญ
เนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่ง ฉะนั้น ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ จึงมี
อุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญา เครื่องใคร่ครวญเนื้อความเป็นไฉน
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ?
พ. ดูกรภารทวาชะ การทรงจำธรรมไว้ มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ
ถ้าไม่พึงทรงจำธรรมนั้น ก็พึงใคร่ครวญเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะทรงจำธรรมไว้ จึงใคร่ครวญ
เนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจำธรรมไว้ จึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม?
พ. ดูกรภารทวาชะ การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าไม่พึงฟังธรรม
ก็พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรมจึงมีอุปการะ
มากแก่การทรงจำธรรม.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าไม่พึงเงี่ยโสตลง
ก็พึงฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมีอุปการะมาก
แก่การฟังธรรม. กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าไม่เข้าไปนั่งใกล้
ก็พึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลง ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะ
มากแก่การเงี่ยโสตลง.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้?
พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าไม่พึงเข้าไปหา
ก็พึงนั่งใกล้ไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้า
ไปนั่งใกล้.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา?
พ. ดูกรภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึง
เข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.
กา. ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตามรักษาสัจจะ ท่านพระโคดมทรง
พยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น
ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตรัสรู้สัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่
ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจ ทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์ และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง
ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมี
อุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง
ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงข้อใดๆ
ท่านพระโคดมได้ทรงพยากรณ์ข้อนั้นๆ แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่
ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า
พวกสมณะหัวโล้นเชื้อสายคฤหบดีกัณหโคตร เกิดจากพระบาทท้าวมหาพรหม จะแปลกอะไรและจะ
รู้ทั่วถึงธรรมที่ไหน พระโคดมผู้เจริญได้ทรงทำความรักสมณะในสมณะ ความเลื่อมใสสมณะใน
สมณะ ความเคารพสมณะในสมณะ ให้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์แล้วหนอ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักพระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า
ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป ฉะนี้แล.
------------------------------------------------------------------------------
ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗.
*******
******
*****
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น