วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน ผู้ที่ชอบดูหมอ ฟังคำตถาคต จะมีคติที่ไปอย่างไร

ผู้ที่ชอบดูหมอ ฟังคำตถาคต จะมีคติที่ไปอย่างไร ::

***********

#ประโยชน์ของสุตตะ พุทธวจน

#ผู้ทุศีล #มีศีล #ราคะกล้า #มักโกรธ #ฟุ้งซ้าน

--กระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง

--กระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต

--แทงตลอดอย่างดีด้วยทิฐิ

#ไปแต่ทางเจริญ #ไม่ไปทางเสื่อม

#ถึงความเจริญอย่างเดียว #ไม่ถึงความเสื่อม

------

*****

ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง

สิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตำ มม)

นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

(น เมโส อตฺตา) : เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญา

โดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เวทนสัญญ สังขาร และวิญญณ ก็ตรัสอย่าง

เดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย !

เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตาม

ที่เป็นจริงอย่างนี้, ปุพพันตานุทิฏฐิ1 ทั้งหลาย ย่อมไม่มี;

เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิ2 ทั้งหลาย

ย่อมไม่มี;

1 ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องต้น หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอดีต

2 ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องปลาย หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอนาคต



เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่าง

แรงกล้าย่อมไม่มี;

เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี, จิตย่อม

จางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร

ในวิญญาณ; ยอ่ มหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มี

ความยึดมั่นถือมั่น.

เพระจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่;

เพระเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี;

เพระเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวดสะดุ้ง;

เมื่อไม่หวดสะดุ้ง

ย่อมปรินิพพนเฉพาะตน นั่นเทียว.

เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า

“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว,

กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,

กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก”

ดังนี้.

ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.

******

*****

มิคสาลาสูตร

[๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ

พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล

เวลาเช้าท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา

แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย

ครั้งนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาท่านพระอานนท์

กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว

อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ

-

คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์

คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์

จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ

อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร

-

คือบิดาของดิฉันชื่อปุราณะ

เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล

งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน

ท่านกระทำกาละแล้ว

พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า

เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต

บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน

ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน

แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า

เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว

อันเป็นเหตุให้คนสองคน

คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์

จักเป็นผู้มีสติเสมอกันในสัมปรายภพ

อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร ฯ

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรน้องหญิง

ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนั้นแล

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาตที่นิเวศน์ของมิคสาลาอุบาสิกา

ลุกจากอาสนะกลับไปแล้ว

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต

ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกาชื่อมิคสาลา

แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย

ลำดับนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาข้าพระองค์

กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า

ข้าแต่ท่านอานนท์

ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว

อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ

คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์

คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์

จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ

อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือ

-

บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ

เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลงดเว้นจากเมถุน

อันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว

พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า

เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต

บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน

ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์

แต่ยินดีด้วยภรรยาของตนแม้เขาทำกาละแล้ว

พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า

เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงชั้นดุสิต

ข้าแต่ท่านพระอานนท์

ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว

อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ

คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์

คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์

จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ

อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร

เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว

ข้าพระองค์ได้กล่าวกะมิคสาลาอุบาสิกา

ว่า ดูกรน้องหญิง

ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล ฯ

--

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์

ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาลไม่ฉลาด เป็นคนบอด

มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร

ในญาณเครื่องกำหนดรู้

ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล

-----

ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก ๑๐ จำพวก เป็นไฉน

-----

๑. ดูกรอานนท์บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อมไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ

-------

๒. ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีลแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อมย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดีก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีลและรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย ดูกรอานนท์บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคตดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

-------

๓. ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึงความเจริญดูกรอานนท์

--------

๔. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อมดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

-------

๕. ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึงความเจริญ

-------

๖. ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าแต่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

------

๗. ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

-------

๘. ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟังกระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

--------

๙. ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญดูกรอานนท์

--------

๑๐. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูตแทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อมดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่าธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่านแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคลเพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตนเราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอดมีปัญญาทึบ เป็นอะไรและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล

-------

● ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ดูกรอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใดบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หามิได้ บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใดบุรุษชื่อปุราณะก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้นบุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติ ของบุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้ ดูกรอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๕

--------

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๔

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๑๒๒/๓๓๓ ข้อที่ ๗๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น