วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน เหตุสำเร็จความปรารถนา สมบูรณ์ด้วย อานาปานสติอย่างไร?

เหตุสำเร็จความปรารถนา สมบูรณ์ด้วย อานาปานสติอย่างไร? ::
******
***เหตุสำเร็จความปรารถนา***
*******************************
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนาแก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังเหตุสำเร็จความปรารถนานั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย

#ศรัทธา
#ศีล
#สุตะ
#จาคะ
#ปัญญา

เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาลเถิด” ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้มรรค นี้ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาล.

ภพภูมิ หน้า ๒๐๑
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๗๒/๓๑๘-๓๒๐.
--------------------
********
******
#รักษาศีล๕ เป็น #มหาทาน ชั้นเลิศ
ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ในกรณีนี้ ละปาณาติบาต
เว้นขาดจาก ปาณาติบาต.
ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเว้นขาด
จากปาณาติบาตแล้ว
ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน
แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ;
ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน
แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว
ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่ง
ความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.
-----
ภิกษุ ท. ! นี้
เป็นทานชั้นปฐม เป็นมหาทาน
รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ
เป็นของมีมานาน
เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ
ไม่ถูกทอดทิ้งเลย
ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต
ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน
และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต
อันสมณพราหมณ์ ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
------
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ
เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล
นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี
มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์
เป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลเพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.
------
(ในกรณีศีล ๕ อีกสี่ข้อที่เหลือ คือ การเว้นขาดจาก
อทินนาทาน, การเว้นขาดจากกาเมสุมิฉาจาร, การเว้นขาดจากมุสาวาท
และการเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท ก็ได้ตรัสโดยมีนัยอย่างเดียวกัน)
ภิกษุ ท. ! ทาน ๕ ประการนี้แล เป็นมหาทาน
รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของ
ประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูก
ทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูก
ทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๕๐/๑๒๙.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น