วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน สังโยชน์กับการได้ภพ

สังโยชน์กับการได้ภพ ::

#สังโยชน์และที่ตั้งแห่งสังโยชน์
(ความยึดถือหรือเครื่องร้อยรัดจิต)
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน (สฺโญชนิยธมฺม)
และ ตัวสัญโญชน. พวกเธอทั้งหลาย จงฟงขอนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เปนอยางไร ?
และ ตัวสัญโญชน์ เปนอยางไรเลา ?
ภิกษุทั้งหลาย ! รูป (กาย) เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน.
ฉันทราคะ (ความกําหนัดเพราะพอใจ) ใด เขาไปมีอยูในรูปนั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในรูปนั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! เวทนา เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะ ใด เขาไปมีอยูในเวทนานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในเวทนานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะ ใด เขาไปมีอยูในสัญญานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในสัญญานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะใด เขาไปมีอยูในสังขารทั้งหลายเหลานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในสังขารทั้งหลายเหลานั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ เปนสิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน,
ฉันทราคะใด เขาไปมีอยูในวิญญาณนั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน ในวิญญาณนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ขันธเหลานี้ เรียกวา สิ่งซึ่งเปนที่ตั้งแหงสัญโญชน ;
ฉันทราคะนี้เรียกวา ตัวสัญโญชน แล.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๒๒๗.
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๕๙/๓๐๘.
********
****
#อุปาทานและที่ตั้งแห่งอุปาทาน
"ภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.
"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
(ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด กล่าวคือตัณหา จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)
(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)
**********
****
#เครื่องนำไปสู่ภพ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสอยู่ว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ เครื่องนำไปสู่ภพ’ ดังนี้ ก็เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า ! และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพนั้น เป็นอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า !
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี ราคะ (ความกำหนัด) ก็ดี นันทิ (ความเพลิน) ก็ดี ตัณหา (ความอยาก) ก็ดี อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ) และอุปาทาน (ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส) อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดีใดๆ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ
กิเลสเหล่านี้ นี่เราเรียกว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ’
ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของกิเลส มีฉันทะ ราคะ เป็นต้น เหล่านั้นเอง.
ภพภูมิ หน้า ๘
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๒/๓๖๘.
***********
******
#ความม่ีขึ้นแห่งภพ(นัยที่๑)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ‘ภพ–ภพ’ ดังนี้
ภพ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า!
อานนท์ ! ถ้ากรรมมีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม (กามธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรมมีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
หามิได้ พระเจ้าข้า !
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (อรูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ภพภูมิ หน้า ๔
(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๒๑๑/๕๑๖.
*********
*****
#ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ (ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มีอยู่ ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริ (โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด แต่เขายังมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปมีอยู่ ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน น ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และย่อมไม่มีจิตฝังลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ไม่มี ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.
ภพภูมิ หน้า ๙-๑๐
(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๖๓/๑๔๕. :
**********
*****
#ภพคืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภพทั้งหลาย ๓ อย่าง เหล่า นี้คือ :-
กามภพ รูปภพ อรูปภพ.2
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ภพ.
ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน
ความดับไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภพภูมิ หน้า ๓
(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๓๙/๙๑.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น