วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน อานาปานสติสมาธิ เป็นทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา

อานาปานสติ เป็นทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา
*************
#เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ
ย่อมเจริญ
ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพเจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้
อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
-----
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ
ย่อมเจริญ
ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
------
เมื่อเธอเสพ เจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้
อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
-------
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ เจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละ
สังโยชน์ทั้งหลายได้
อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
----
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น
สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว
ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้
อนุสัยย่อมสิ้นสุด
----
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้
โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
จบปฏิปทาวรรคที่ ๒
------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
*********
#เจริญอัฏฐังคิกมรรค
#สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป
[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ
นี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้
#คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่
ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์
คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณเหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คืออวิชชา และภวตัณหาเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือสมถะและวิปัสสนาเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือวิชชาและวิมุตติเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
---------------------
#ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (อัฏฐังคิกมรรค)
ภิกษุ ท.! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง (อนฺตา) อยู่ ๒ อย่าง
ที่ บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย.
สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร ? คือ
การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วย
#ความใคร่ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค)
อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ
เป็นของชาวบ้าน
เป็นของชั้นบุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์,
และ
#การประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก(อัตตกิลมถานุโยค)
อันนำมาซึ่งความทุกข์ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล.
ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)
ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น
เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว
เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว
เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ
เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ
เป็นไปเพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ความรู้อันยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้พร้อม
เพื่อนิพพาน.
ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง
ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่ง สองอย่างนั้น
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ
ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ
ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการ นี่เอง.
แปดประการคืออะไรเล่า ? คือ
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริที่ถูกต้อง)
สัมมาวาจา(การพูดจาที่ถูกต้อง)
สัมมากัมมันตะ (การทำงานที่ถูกต้อง)
สัมมาอาชีวะ (การดำรงชีพที่ถูกต้อง)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรที่ถูกต้อง)
สัมมาสติ (ความระลึกที่ถูกต้อง)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง).
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
-มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย ๙
---------------------------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น