วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน สัตตานัง ยึด วิญญาณก่อน แล้วใช้วิญญาณไปรู้ธาตุ ๔, อนาคามีไปเกิดเป็นพรหม,และคำถามที่ถามกันไม่จบ



สัตตานัง เกาะ วิญญาณ?, อนาคามีไปเกิดเป็นพรหม?,และคำถามที่ถามกันไม่จบ?.
สนทนาธรรมหลังฉันท์เช้าวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฏาคม 2558
http://watnapp.com/
*****
#สัตตานังเกาะวิญญาณ
https://www.youtube.com/watch?v=gBsrc3nsFno&feature=share
นวสูตร
......... กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช
ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง
-
((วิญญาณ))...ประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างเลวของ..(((สัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ)))) .....
-
ด้วยประการฉะนี้
จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก............
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๒๑๑ ข้อที่ ๕๑๖
---
http://etipitaka.com/read/thai/20/211/…
---
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้,
อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงไรเล่า พระเจ้าข้า
ราธะ !
ฉันทะ (ความพอใจ)
ราคะ (ความกําหนัด)
นันทิ (ความเพลิน)
ตัณหา (ความอยาก)
ใดๆ มีอยูใน
#รูป เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในรูปนั้น
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” (ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้.
ราธะ !
ฉันทะ
ราคะ
นันทิ
ตัณหา
ใดๆ มีอยูใน
#เวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์)
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ !
ฉันทะ
ราคะ
นันทิ
ตัณหา
ใดๆ มีอยู่ใน
#สัญญา (ความหมายรู้)
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสัญญานั้น
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ !
ฉันทะ
ราคะ
นันทิ
ตัณหา
ใดๆ มีอยู่ใน
#สังขารทั้งหลาย (ความปรุงแต่ง)
เพราะการติดแล้ว
ข้องแล้วในสังขารทั้งหลายนั้น
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ !
ฉันทะ
ราคะ
นันทิ
ตัณหา
ใดๆ มีอยูใน
#วิญญาณ
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณนั้น
เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สัตว์” ดังนี้แล.
พุทธวจน ภพภูมิ หน้า ๒๓.
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๑/๓๖๗.
*********
*****
**อนาคามี ปรินิพพาน ภายหลังกายแตกทำลาย**‪
ประมาณนาทีที่ 1.46 https://www.youtube.com/watch?v=Kt5wVUwN868
#‎อนาคามี‬ ๕ จำพวก
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
ประมาณนาทีที่ 1.00.55 https://www.youtube.com/watch?v=f7-tnESegNg
ปุริสคติสูตร
[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการ
และอนุปาทาปรินิพพาน
เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง
จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ๗ ประการเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
คือ ได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา
เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
-
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ภิกษุนั้นย่อมปรินิพพานในระหว่าง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
คือ ได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ ... เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่
ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ...
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่
ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล
ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ ...อนุสัยคืออวิชชา
เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้า
หรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน
เผากองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ
นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้ย่อมๆ สะเก็ดนั้นพึงให้เกิดไฟ
และควันที่กองหญ้าหรือกองไม้ย่อมๆ นั้น
ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือกอง
ไม้ย่อมๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ฯลฯ
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
-
เธอเป็นผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ
เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน
สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า
หรือกองไม้ใหญ่ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว
เผากองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป
แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้
ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว
ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขาที่สุดชายน้ำ
หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุริสคติ๗ ประการนี้แล ฯ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ
ย่อมได้ความวางเฉยว่า
ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต
ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
อนุสัยคือมานะ ... อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง
-
เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
อนุปาทาปรินิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้
และอนุปาทาปรินิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๒
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๖๒ ข้อที่ ๕๒
-
-อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจาก โปรแกรม E-Tipitaka ;
link ; http://etipitaka.com/read/thai/23/62/…
--
เชื่อมโยงกับพระสูตรข้างบน..บุคคล ๔ จำพวก
[๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็น สสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพาน
ด้วย ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง ในปัจจุบันเทียว
( บาลี : ทิฏฺเฐว ธมฺเม สสงฺขารปรินิพฺพายี )
๒. บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี
( บาลี : กายสฺส เภทา สสงฺขารปรินิพฺพายี )
๓. บางคนเป็น อสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพาน
ด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง ในปัจจุบัน
( บาลี : ทิฏฺเฐว ธมฺเม อสงฺขารปรินิพฺพายี )
๔. บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี
( บาลี : กายสฺส เภทา อสงฺขารปรินิพฺพายี )
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
● มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล
● มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
● พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
● และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
● เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญา
● ทั้งอินทรีย์๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของ
เธอปรากฏว่าแก่กล้า
● เธอย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันเทียว
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็น สสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ฯลฯ
● อินทรีย์ ๕ ประการคือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ...ของเธอปรากฏว่าอ่อน
● เธอเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล ฯ
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็น อสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
● บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุจตุตถฌาน
● เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ ศรัทธา ... ปัญญา
● อินทรีย์๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่า แก่กล้า
● เธอเป็น อสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบัน
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเป็น อสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
● สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
● บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
● บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
● แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่า อ่อน
● เธอเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี
● เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
__________
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๔๗/๒๔๐ ข้อที่ ๑๖๙
***********
********
ทรงสมาธิได้ตอนตาย + เป็นผู้ได้สดับ จะไปเกิดเป็นเทวดาหลังจากตายจากเทวดา จะปรินิพพานในภพนั้น
((เปิดธรรมที่ถูกปิดด้วยพุทธวจน โดยท่านพอจ.คึกฤิทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง ลำลูกกาคลอง๑๐ ปทุมธานี จัดทำคลิปโดย ตะวัน พุทธวจน ลำดับที่ 4386]
https://www.facebook.com/1000066123480…/…/1774634006100327/…
#ตายในสมาธิ
#ตายในฌาน ๑ ๒ ๓ ๔
ปฐมฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา อายุ ๑ กัป
ทุติยฌาน = เข้าถึงสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ อายุ ๒ กัป
ตติยฌาน = ย่อมเข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ อายุ ๔ กัป
จตุตถฌาน = ย่อมเข้าถึงสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ อายุ ๕๐๐ กัป
--
#ตายจากเทวดา
-- ผู้ไม่ได้สดับ--ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
--ผู้ได้สดับ-- ปรินิพพานในภพนั้น
--
ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น
ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น
น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น
ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กัปหนึ่ง
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา
-
ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ
ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ
ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
บุคคลนั้นพอใจ
ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น
น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัป
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น
ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
คือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข
บุคคลนั้นพอใจชอบใจตติยฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้นน้อมใจไปในตติยฌานนั้น
อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น
ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น
ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมด
ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับ
คือ ในเมื่อคติ อุบัติ มีอยู่ ฯ
-
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น
น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น
ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัป
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น
ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้น
ให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ
ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก
มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๓
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๑๒๕/๒๔๐ ข้อที่ ๑๒๓
--
http://etipitaka.com/read…#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น