วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน ทำไมต้องสวดมนต์และได้ประโยชน์อะไร

ทำไมต้องสวดมนต์และได้ประโยชน์อะไร::

#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
----------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
-พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
-------------------------------
-เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
----------------------------
-เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
--------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-------------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-----------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
*****
----------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
********
****
#ประโยชน์ของการสาธยายธรรม
๑. เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม
(หนึ่งในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕.
๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ
(หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.
๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต
ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๗๓.
๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ
ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒.
๕. ทำให้ไม่เป็นมลทิน
อฎฺก. อํ. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕.
๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน
(หนึ่งในห้าบริขารของจิต)
มู. ม. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘.
๗. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้
(หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง)
สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๓/๕๘
*********
******
#เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ
..มีบทสรุปเดียวกันคือ..
.... เมื่อเธอเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว
ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว
ย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่ง วิมุตติข้อที่ ๑,๒,๓,๔,๕
---
เหตุวิมุตติ (อย่างย่อ)
๑.ขณะรับการแสดงธรรมจากพระศาสดาเพื่อนสพรหมจารีก็บรรลุธรรม
๒.ขณะภิกษุนั้นเองแสดงธรรมก็บรรลุธรรม
๓.ขณะภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับก็ได้บรรลุธรรม
๔.ขณะภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับก็บรรลุธรรม
๕.สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งเธอเล่าเรียนมาด้วยดีทำไว้ในใจด้วยดีทรงไว้ด้วยดีแทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญา ก็บรรลุธรรม
-----------
#วิมุตติสูตร
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้นอาสวะที่ยังไม่สิ้น
ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ใน
ฐานะครูบางรูป แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี
ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว
ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่ง วิมุตติข้อที่ ๑
------------------------
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น
ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป
ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรม
เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ...
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒ ...
--------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครู
บางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียน
มาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ...
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ...
---------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครู
บางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา
แก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจเธอย่อมเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมในธรรมนั้น
ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ ... เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔ ...
---------------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครู
บางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่
ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร
แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอด
ด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิต
อย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี
ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อ
เธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิด
ปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
----------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรม
อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล
ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
ชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ฯ
จบสูตรที่ ๖
------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๐/๔๐๗ ข้อที่ ๒๖
----------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
-------------------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
*******
*****
ดาวน์โหลดหนังสือ #สาธยายธรรม พุทธวจน
https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1719064278325108

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น