วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน ธรรมอันเป็นเหตุ ธรรมเกิดแต่เหตุ แห่งความรักใคร่ปรองดอง

เหตุปัจจัยของการทะเลาะวิวาท.((คือ ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่ (มัจฉริยะ) )) เกิดจาก.(( สิ่งที่เป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก))...ถ้าเราไม่ละ..ธรรมอันเป็นเหตุ..แล้วธรรมที่เกิดมาแต่เหตุ..คือความสามัคคี..จะมีขึ้นได้มั๊ย...ไม่ได้..ต้องทำให้สิ่งนี้มี...สิ่งนี้จึงมี..ต้องให้ศีลธรรมกับคน..ต้องพัฒนาคน..ให้เป็น..อริยะ..มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างไม่หวั่นไหว..มีศีลอันเป็นที่รักของอริยเจ้า(ศีล๕)
******************************
ละธรรม ๓ อย่าง..เจริญ..ธรรม ๓ อย่าง..เหตุแห่งความรักใคร่ปองดอง.

***
#ทำอย่างไรผู้ไม่สมบูรณ์ #จะไปแต่ทางเจริญไม่เสื่อมเลย
บุคคลใด...
#มากระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง
#มากระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูต
#มาแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิ
#บุคคลผู้นี้จะไปแต่ทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อมเลย...
--------
#บุคคล๖จำพวก
(1,2) เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วม เป็นสุข
พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน
(3,4) -มีความโกรธและความถือตัว บางครั้งบาง คราว
-โลกธรรมย่อมเกิดแก่เขา
(5,6) มีความโกรธและความถือตัว บางครั้ง บางคราว
-วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา
------------------------------
เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
-ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม
---------------------------
เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
-ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย ความเป็นพหูสูต
-ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
-ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
เมื่อตายไป แล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ ฯ
-------------------------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๑๘/๔๐๗ข้อที่ ๓๑๕
-----------------------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จาก โปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read…
---------------------------
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ http://www.watnapp.com
***
--------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
****
ภิกษุ ท. ! สมณะ (ที่หนึ่ง) มีในธรรมวินัยนี้แหละ ; สมณะที่สอง มีในธรรมวินัยนี้ ; สมณะที่สาม มีในธรรมวินัยนี้ ; สมณะที่สี่ มีในธรรมวินัยนี้. ลัทธิอื่น ว่างจากสมณะแห่งลัทธิอื่น :
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงบันลือสีหนาทโดยชอบ อย่างนี้เถิด.
------------------------------
- มู. ม. ๑๒/๑๒๘/๑๕๔.
******
ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
ดูกรสุภูติ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลาย
1. เป็นผู้มีศีล... สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
2. เป็นผู้มีสุตะมาก... ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามากทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
3. เป็นผู้มีมิตรดี... มีสหายดี มีเพื่อนดี
4. เป็นผู้ว่าง่าย... ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีย์โดยเคารพ
5. เป็นผู้ขยัน... ไม่เกียจคร้าน ในกรณียกิจทั้งสูงและต่ำของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้นอาจทำ อาจจัดได้
6. เป็นผู้ใคร่ธรรม... กล่าวคำเป็นที่รัก เป็นผู้มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง
7. เป็นผู้ปรารภความเพียร... เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรม ให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรม
8. เป็นผู้ได้ตามปรารถนา... ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน (ทั้ง) ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
9. ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก...(ได้บุพเพนิวาสานุสสติญาณ)
10. เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ...(ได้จุตูปปาตญาณ)
11. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
------------------------
สุภูติสูตร (ไทย) เอกาสทก.อํ. ๒๕/๓๑๒-๓๑๖/๒๒๑
*******
**
ละธรรม ๓ อย่าง..เจริญธรรม ๓ อย่าง..
ภิกษุ ท ! ในทิศใดพวกภิกษุ มีความพร้อมเพรียงกัน มีความบันเทิงต่อกันและกัน
ไม่ทะเลาะวิวาทกัน เข้ากันได้สนิทเหมือนน้ำนมกับน้ำม องดูกันด้วยสายตาแห่งความรัก อยู่
ภิกษุ ท ! ทิศนั้น เป็นที่ผาสุกแก่เรา แม้ต้องเดินไป (อย่างเหน็ดเหนื่อย)
จะป่วยการกล่าวไปใยถึงการที่เพียงแต่นึกถึง ในกรณีนี้
เราเชื่อแน่แก่ใจว่าเป็นเพราะภิกษุเหล่านั้น ได้ละทิ้งธรรมสามอย่างเสียแล้ว
และพากันมาถือกระทำให้มากในธรรมสามอย่าง
ธรรมสามอย่างอะไรบ้างเล่าที่เธอละทิ้งเสียแล้ว ? สามอย่างคือ
๑. กามวิตก ความตรึกในกาม
๒. พยาปาทวิตก ความตรึกในทางมุ่งร้าย
๓. วิหิงสาวิตก ความตรึกที่ก่อให้เกิดความลำบากทั้งแก่ตนและผู้อื่น
ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้นละทิ้งเสียแล้ว
ก็ธรรมสามอย่างอย่างไรเล่า ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันมาถือ
กระทำเพิ่มพูนให้มาก สามอย่างคือ
๑.เนกขัมมวิตก ความตรึกในการหลีกออกจากความพัวพันในกาม
๒.อัพยาปาทวิตก ความตรึกในการไม่ทำความมุ่งร้าย
๓.อวิหิงสาวิตก ความตรึกในการไม่ทำตนและผู้อื่นให้ลำบาก
ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันมาถือ ทำเพิ่มพูนให้มาก
ภิกษุ ท ! ในทิศใด พวกภิกษุ มีความพร้อมเพรียงกัน มีความบันเทิงต่อกันและกัน
ไม่ทะเลาะวิวาทกัน เข้ากันและกันได้สนิทเหมือนน้ำนมกับน้ำ
มองดูกันและกันด้วยสายตาแห่งความรัก อยู่
ภิกษุ ท ! ทิศนั้นเป็นที่ผาสุกแก่เรา แม้ต้องเดินไป(อย่างเหน็ดเหนื่อย) จ
ะป่วยกล่าวไปไยถึงการที่เพียงแต่นึกถึง ในกรณีนี้ เ
ราเชื่อแน่แก่ใจว่า เป็นเพราะพวกภิกษุเหล่านั้น ได้ละทิ้งธรรมสามอย่างเหล่าโน้นเสียแล้ว
และพากันมาถือ กระทำให้มากในธรรมสามอย่างเหล่านี้แทน
ติก. อํ. ๒ๆ/๓๕๕/๕๖๔
--
จอมเทพ !
ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่(มัจฉริยะ) นั่นแล
เป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์ อสูร นาคคนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่)
ปรารถนาอยู่ว่า เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก
ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน
แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก
ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันได้
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็ความอิจฉาและความตระหนี่นั้น
มีอะไรเป็นต้นเหตุ (นิทาน) มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น (สมุทัย)
มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด (ชาติกะ) มีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภวะ)
เมื่ออะไรมีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงมี
เมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงไม่มี พระเจ้าข้า”
จอมเทพ !
ความอิจฉา และความตระหนี่ นั้น
มีสิ่งอันเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก (ปิยาปฺปิย) นั่นแล
เป็นต้นเหตุ... เมื่อสิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักไม่มีอยู่
ความอิจฉาและความตระหนี่ก็ไม่มี
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รัก
นั้นเล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ...ฯลฯ...
เมื่ออะไรมีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงมี
เมื่ออะไรไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงไม่มีพระเจ้าข้า ”
จอมเทพ ! สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้น
มีฉันทะ (ความพอใจ ) เป็นต้นเหตุ...ฯลฯ... เมื่อฉันทะ ไม่มีอยู่
สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักก็ไม่มี...
มหา. ที. ๑๐/๓๑๐/๒๕๕.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น