วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์_หลังฉัน_2015-05-24



นิครนถ์มองไม่เห็นเรื่องจิต นิครนถ์มองว่า..ถ้าต้องการดับกรรม..สิ้นกรรม..หมดกรรม..ให้ยืนเฉยๆ..แล้วอย่าก้าวขาไป..อย่าก้าวถอยกลับ..ไม่ขยับตัว..ให้ปรารถความเพียรอย่างนี้..กรรมจะสิ้นไป..เพราะเค้ามองว่า..กายกรรมนั้นหนักที่สุด..แรงที่สุด..แต่พระศาสดาเราบอกไม่ใช้ ..มโนกรรม.หนักที่สุด.แรงที่สุด..เมืื่อเขามองไม่เห็นมโนกรรม..ไม่เข้าใจตรงนี้ เค้าก็เลยเข้าใจว่า..ถ้าหยุดกายกรรมได้..นั้นแหละคือ..สุดยอด..
--
แต่พระพุทธเจ้าเราหยุด..มโน..ละเอียดกว่านั้น..แล้วก็เห็นมโนหรือใจนี้..เป็นของไม่เทียง..เป็นอนัตตา..และปล่อยวาง..สิ่งที่รู้...การเกิดดับของมโน..คือตัวที่ละเอียดที่สุด..ที่เรียกว่า..สิ่งๆ หนึ่ง..ที่ถูกบัญญัติให้เรียกว่า..ผู้ยึดติด..หรือ สัตะ..สัตโต.หรือ..สัตตานัง..เป็นผู้เข้ามายึดติดขันธ์ทั้ง ๕..รู้จักความเป็นตัวเราของเราไม่ครบ..
ประมาณนาทีที่ 24.45 https://www.youtube.com/watch…
ดูกรตปัสสี เราย่อมบัญญัติกรรม
ในการทำบาปกรรม
ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้ ๓ ประการ คือ
กายกรรม ๑ วจีกรรม ๑ มโนกรรม ๑.
-
พระโคดม ก็กายกรรมอย่างหนึ่ง
วจีกรรมอย่างหนึ่ง
มโนกรรมอย่างหนึ่งมิใช่หรือ?
-
ดูกรตปัสสี
กายกรรมอย่างหนึ่ง
วจีกรรมอย่างหนึ่ง
มโนกรรมอย่างหนึ่ง.
-
ท่านพระโคดม ก็บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ
ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกัน เหล่านี้
กรรมไหน คือ
กายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรม
ที่พระองค์บัญญัติว่ามีโทษมากกว่า
ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม?
-
ดูกรตปัสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ
ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้
-
เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า
ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม
-
เราจะบัญญัติกายกรรม วจีกรรมว่า
มีโทษมากเหมือนมโนกรรมหามิได้.
ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ?
ดูกรตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม.
ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ?
ดูกรตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม.
ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ?
ดูกรตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม.
ทีฆตปัสสีนิครนถ์ให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยันในเรื่องที่ตรัสนี้
ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้
แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่.
-
[๖๕] ก็สมัยนั้น นิครนถ์นาฏบุตรนั่งอยู่พร้อมด้วยคิหิบริษัทเป็นอันมาก
ผู้มีความเขลามีอุบาลิคฤหบดีเป็นประมุข.
ได้เห็นทีฆตปัสสีนิครนถ์มาแต่ไกล
ได้กล่าวกะทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่า
ดูกรตปัสสี ดูเถอะ ท่านมาจากไหนแต่ยังวันเทียวหนอ?
-
ทีฆตปัสสีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระโคดมนี้เอง.
นิ. ดูกรตปัสสี ก็ท่านได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดม
เรื่องอะไรบ้างหรือ?
ที. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดมมาบ้าง.
ดูกรตปัสสี
ก็ท่านได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดมมาอย่างไร?
ลำดับนั้น ทีฆตปัสสีนิครนถ์
บอกเรื่องการเจรจาปราศรัย
กับพระผู้มีพระภาคจนหมดสิ้น
แก่นิครนถ์นาฏบุตร.
เมื่อทีฆตปัสสีกล่าวอย่างนี้แล้ว
นิครนถ์นาฏบุตรได้กล่าวกะทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่า
ดูกรตปัสสี ดีละๆ
ข้อที่ทีฆตปัสสีนิครนถ์พยากรณ์แก่พระสมณโคดม
ตรงตามที่สาวกผู้ฟัง
ผู้รู้ทั่วถึงคำสอนของศาสดาโดยชอบ
-
(((มโนทัณฑะอันต่ำทราม
จะงามอะไรเล่า
เมื่อเทียบกับกายทัณฑะอันยิ่งใหญ่อย่างนี้
โดยที่แท้กายทัณฑะเท่านั้น
มีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม
ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม
วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ
หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.)))
-
[๖๖] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว
อุบาลีคฤหบดีได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตร
ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทีฆตปัสสีพยากรณ์ดีแล้วๆ
ข้อที่ท่านทีฆตปัสสีพยากรณ์แก่พระสมณโคดม
ตรงตามที่สาวกผู้ฟัง ผู้รู้ทั่วถึงคำสอนของศาสดาโดยชอบ
มโนทัณฑะอันต่ำทรามจะงามอะไรเล่า
เมื่อเทียบกับกายทัณฑะอันยิ่งใหญ่อย่างนี้
โดยที่แท้ กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า
ในการทำบาปกรรม
ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม
วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ
หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่
-
ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะไป
จักยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม
ถ้าพระสมณโคดมจักยืนยันแก่ข้าพเจ้า
เหมือนอย่างที่ยืนยันกับท่านตปัสสีไซร้
ข้าพเจ้าจักฉุดกระชาก ลากไปมา
ซึ่งวาทะด้วยวาทะกะพระสมณโคดม
เหมือนบุรุษมีกำลังพึงจับแกะมีขนยาวที่ขนแล้ว
ฉุดกระชากลากไปมา ฉะนั้น
-
ข้าพเจ้าจักฉุดกระชากลากไปมา
ซึ่งวาทะด้วยวาทะกะพระสมณโคดม
เหมือนบุรุษมีกำลังผู้ทำการงานโรงสุรา
พึงทิ้งกระสอบเครื่องประกอบสุราใหญ่ไว้ในห้วงน้ำลึกแล้ว
จับที่มุมฉุดกระชากลากไปมา ฉะนั้น
-
ข้าพเจ้าจักขจัด ขยี้ บด ซึ่งวาทะด้วยวาทะกะพระสมณโคดม
เหมือนบุรุษที่มีกำลังเป็นนักเลงสุรา
พึงจับถ้วยสุราที่หูถ้วยแล้ว พลิกลง
พลิกขึ้น ไสไป ฉะนั้น
-
ข้าพเจ้าจักเล่นดังเล่นล้างเปลือกป่าน
กะพระสมณโคดม เหมือนช้างแก่อายุ ๖๐ ปี
ลงไปยังสระลึกเล่นล้างเปลือกป่าน ฉะนั้น
-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะไป
จักยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม.
-
นิ. ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป
จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม
ดูกรคฤหบดี เราก็ได้ ทีฆตปัสสีนิครนถ์ก็ได้
ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม.
-
[๖๗] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว
ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดี
จะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น
ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย
ด้วยว่า พระสมณโคดมเป็นคนมีมายา
ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์.
-
นิ. ดูก่อนตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดี
จะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดม
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
แต่ข้อที่พระสมณโคดม
จะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดี
เป็นฐานะที่จะมีได้
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะ
ในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ ท่านก็ได้
พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม.
ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวเตือนนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๒
ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น
ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย
ด้วยพระสมณโคดมเป็นคนมีมายา
ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์.
-
นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดี
จะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดม
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
แต่ข้อที่พระสมณโคดม
จะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดี
เป็นฐานะที่จะมีได้
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะ
ในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ ท่านก็ได้
พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม.
ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวเตือนนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๓
-
ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดี
จะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น
ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย
ด้วยพระสมณโคดมเป็นคนมีมายา
ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์.
-
นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดี
จะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดม
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
แต่ข้อที่พระสมณโคดม
จะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดี
เป็นฐานะที่จะมีได้
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะ
ในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ ท่านก็ได้
พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม.
-
[๖๘] อุบาลีคฤหบดีรับคำนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว
ลุกจากอาสนะไหว้นิครนถ์นาฏบุตร
ทำประทักษิณแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงปาวาริกัมพวัน
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
-
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทีฆตปัสสีนิครนถ์
ได้มา ณ ที่นี้หรือ?
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ดูกรคฤหบดี
ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้มา ณ ที่นี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์ได้เจรจาปราศรัยเรื่องอะไรๆ
กับทีฆตปัสสีนิครนถ์
บ้างหรือ?
ดูกรคฤหบดี เราได้เจรจาปราศรัยกับทีฆตปัสสีนิครนถ์บ้าง.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็พระองค์ได้เจรจาปราศรัยกับทีฆตปัสสีนิครนถ์อย่างไรบ้าง?
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสบอกเรื่องการเจรจาปราศรัยกับทีฆตปัสสีนิครนถ์จนหมดสิ้น
แก่อุบาลีคฤหบดี.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสบอกอย่างนี้แล้ว
อุบาลีคฤหบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆตปัสสีพยากรณ์ดีแล้วๆ
ข้อที่ทีฆตปัสสีพยากรณ์ แก่พระผู้มีพระภาคนั้น
ตรงตามที่สาวกผู้ฟัง
ผู้รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยชอบ
มโนทัณฑะอันต่ำทรามนั้น
จะงามอะไรเล่า
เมื่อเทียบกับกายทัณฑะนี้
อันยิ่งใหญ่อย่างนี้
โดยที่แท้กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า
ในการทำบาปกรรม
ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม
วจีทัณฑะ
มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.
-
ดูกรคฤหบดี
ถ้าแลท่านจะพึงมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน
เราทั้งสองพึงเจรจาปราศรัยกันได้
ในเรื่องนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน
ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัย
กันในเรื่องนี้เถิด.
-
‪#‎พระผู้มีพระภาคทรงย้อนถามปัญหากรรม‬ ๓
[๖๙] ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญในความข้อนั้นเป็นไฉน
นิครนถ์ในโลกนี้เป็นคนอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
ห้ามน้ำเย็น ดื่มแต่น้ำร้อน
เมื่อเขาไม่ได้น้ำเย็นจะต้องตาย
-
ดูกรคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตร
บัญญัติความเกิดของนิครนถ์ผู้นี้ในที่ไหนเล่า?
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาชื่อว่ามโนสัตว์มีอยู่
นิครนถ์นั้นย่อมเกิดในเทวดาจำพวกนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนิครนถ์
ผู้นั้นเป็นผู้มีใจเกาะเกี่ยวทำกาละ.
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้ว
จงพยากรณ์คำหลังกับคำก่อนก็ดี
คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย
ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจาต่อกัน
ของเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็จริง
ถึงอย่างนั้นกายทัณฑะเท่านั้น มีโทษมากกว่า
ในการทำบาปกรรมในการเป็นไปแห่งบาปกรรม
วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.
-
[๗๐] ดูกรคฤหบดี
ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
นิครนถ์ในโลกนี้พึงเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรโดยส่วน ๔
คือห้ามน้ำทั้งปวง
ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งปวง กำจัดบาป
ด้วยการห้ามบาปทั้งปวง อันการห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว
เมื่อเขาก้าวไป ถอยกลับ
ย่อมถึงการฆ่าสัตว์ตัวเล็กๆ เป็นอันมาก
-
ดูกรคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติวิบากเช่นไร
แก่นิครนถ์ผู้นี้?
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรมิได้บัญญัติกรรม
อันเป็นไปโดยไม่จงใจว่ามี
โทษมากเลย.
ดูกรคฤหบดี ก็ถ้าจงใจเล่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นกรรมมีโทษมาก.
ดูกรคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตร
บัญญัติเจตนาลงในส่วนไหน?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตร
บัญญัติเจตนาลงในส่วนมโนทัณฑะ.
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้ว จงพยากรณ์
คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่าน
ไม่ต่อกันเลย
-
ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน
ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
กายทัณฑะเท่านั้น มีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม
ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม
วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ
หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บ้านนาลันทานี้เป็นบ้านมั่งคั่ง
เป็นบ้านเจริญ มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น?
อย่างนั้น พระเจ้าข้า บ้านนาลันทา เป็นบ้านมั่งคั่ง
เป็นบ้านเจริญ มีชนมาก
มีมนุษย์เกลื่อนกล่น.
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
ในบ้านนาลันทานี้ พึงมีบุรุษคนหนึ่ง
เงื้อดาบมา เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
เราจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้
ให้เป็นลานเนื้อ อันเดียวกัน
ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน
โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุรุษนั้นจะสามารถทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้
ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน
ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน
โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้หรือ?
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษ ๑๐ คนก็ดี ๒๐ คนก็ดี ๓๐ คนก็ดี
๔๐ คนก็ดี ๕๐ คนก็ดี
ไม่สามารถจะทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้
ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน
ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน
โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึงได้
-
พระเจ้าข้า บุรุษผู้ต่ำทรามคนเดียว จะงามอะไรเล่า.
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์
ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิต
พึงมาในบ้านนาลันทานี้
สมณะหรือพราหมณ์นั้น
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
เราจักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า
ด้วยใจคิดประทุษร้ายดวงเดียว
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์
ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น
จะสามารถทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า
ด้วยใจประทุษร้ายดวงหนึ่งได้หรือหนอ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านก็ดี ๒๐ บ้านก็ดี ๓๐ บ้านก็ดี
๔๐ บ้านก็ดี ๕๐ บ้านก็ดี สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์
ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น
สามารถจะทำให้เป็นเถ้าได้ด้วยใจประทุษร้ายดวงหนึ่ง
บ้านนาลันทาอันต่ำทรามบ้านเดียวจะงามอะไรเล่า.
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์
คำหลังกับคำก่อนก็ดี
คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย
-
ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน
ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็จริงถึงอย่างนั้น
กายทัณฑะเท่านั้น
มีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม
ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม
วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ
หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไป
ท่านได้ฟังมาแล้วหรือ?
อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ
ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไป ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว.
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ
ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไป
ท่านได้ฟังมาว่าอย่างไร เกิดเป็นป่าไปเพราะเหตุอะไร?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า ป่าทัณฑกี
ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไปนั้น
เพราะใจประทุษร้าย อันพวกเทวดาทำเพื่อฤาษี.
-
ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์
คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่าน
ไม่ต่อกันเลย ดูกรคฤหบดี ก็ท่านได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน
ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.
-
‪#‎อุบาลีคฤบดีแสดงตนเป็นอุบาสก‬
[๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระพุทธเจ้าชื่นชมยินดีต่อพระผู้มีพระภาคด้วยข้ออุปมา ข้อแรก
แต่ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะฟังปฎิภาณการพยากรณ์ปัญหาอันวิจิตร
ของพระผู้มีพระภาคนี้ ฉะนั้น
-
ข้าพระพุทธเจ้าจึงยังแกล้งทำเป็นดุจถือตรงกันข้ามอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนที่หลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด
-
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น
เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค
พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-
[๗๒] ดูกรคฤหบดี
ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ
การที่มนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเช่นท่าน
ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเป็นความดี.
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
แม้ด้วยเหตุที่พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพระพุทธเจ้าอย่างนี้ว่า
ดูกรคฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ
การที่มนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเช่นท่านใคร่ครวญเสียก่อน
แล้วจึงทำเป็นความดีนี้
-
ข้าพระพุทธเจ้ายิ่งชื่นชมยินดีต่อพระผู้มีพระภาคมากขึ้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยว่าพวกอัญญเดียรถีย์ได้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวกแล้ว
จะพึงยกธงปฏากเที่ยวไปตลอด
บ้านนาลันทาทั้งสิ้น ซึ่งเป็นเหตุจะได้รู้กันว่า
อุบาลีคฤหบดี ถึงความเป็นสาวกของพวกเราดังนี้
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพระพุทธเจ้าอย่างนี้ว่า
ดูกรคฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้ว
จึงทำ ด้วยว่ามนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเช่นท่าน
ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเป็นความดี ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค
พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
เป็นครั้งที่ ๒
-
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-
[๗๓] ดูกรคฤหบดี ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำ
ของพวกนิครนถ์มานานแล้ว
ท่านพึงสำคัญบิณฑบาตอันท่านพึงให้แก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึง.
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพระพุทธเจ้าอย่างนี้ว่า
ดูกรคฤหบดี ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำ
ของพวกนิครนถ์มานานแล้ว
ท่านพึงสำคัญบิณฑบาตอันท่านพึงให้แก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึงนี้
ข้าพระพุทธเจ้ายิ่งชื่นชมยินดีต่อพระผู้มีพระภาคมากขึ้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า
พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า
ควรให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้ทานแก่คนเหล่าอื่น
ควรให้ทานแก่สาวกทั้งหลายของเราเท่านั้น
ไม่ควรให้ทานแก่สาวกของผู้อื่น
ทานที่บุคคลให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก
ทานที่บุคคลให้แก่สาวกของผู้อื่นไม่มีผลมาก
แต่ความจริง พระผู้มีพระภาคยังทรงชักชวนข้าพระพุทธเจ้า
ในการให้ทาน
แม้ในพวกนิครนถ์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็แต่ว่าข้าพระพุทธเจ้าจักทราบกาลอันควรในการให้ทานนี้
-
ข้าพระพุทธเจ้านี้
ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
เป็นครั้งที่ ๓
-
ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป.
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๓
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
หน้าที่ ๕๐ ข้อที่ ๖๗ - ๖๘
http://etipitaka.com/read/thai/13/50/…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น