วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
พุทธวจน จูฬสุญญตสูตร (๑๒๑) *เทียบเคียง..ไทย - บาลี... ธรรมะชั้นลึก ละเอียด ลึกซึ่ง ปราณีต
๑. จูฬสุญญตสูตร (๑๒๑)
*เทียบเคียง..ไทย - บาลี... ธรรมะชั้นลึก ละเอียด ลึกซึ่ง ปราณีต
#ไทย
[๓๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาท
ของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา
ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจากสถานที่
หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่สักยนิคมชื่อนครกะ
ในสักกชนบท ณ ที่นั้น
--
ข้าพระองค์ได้สดับ
ได้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
ดูกรอานนท์บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว
รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว
ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ
---
#บาลี
จูฬสุญฺญตสุตฺตํ
[๓๓๓] เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ
ปุพฺพาราเม มิคารมาตุ ปาสาเท ฯ อถ โข อายสฺมา อานนฺโท
สายณฺหสมยํ ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิ ฯ เอกมนฺตํ
นิสินฺโน โข อายสฺมา อานนฺโท ภควนฺตํ เอตทโวจ เอกมิทํ
ภนฺเต สมยํ ภควา สกฺเกสุ วิหรติ นครกํ นาม สกฺยานํ นิคโม
ตตฺถ เม ภนฺเต ภควโต สมฺมุขา สุตํ สมฺมุขา ปฏิคฺคหิตํ สุญฺญตา
วิหาเรนาหํ อานนฺท เอตรหิ พหุลํ วิหรามีติ กจฺจิ เมตํ ภนฺเต
สุสฺสุตํ สุคหิตํ สุมนสิกตํ สุปธาริตนฺติ ฯ
---
#ไทย
[๓๓๔] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
ดูกรอานนท์ แน่นอน
นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว
ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
--
ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้
เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม
เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้
--
ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา
ว่างเปล่าจากทองและเงิน
ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ
มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว
เฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น
ฉันใด
ดูกรอานนท์
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
--
ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน
ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์
ใส่ใจแต่สิ่งเดียว
เฉพาะสัญญาว่าป่า
-
จิตของเธอย่อมแล่นไป
เลื่อมใสตั้งมั่น
และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า
-
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ในสัญญาว่าป่านี้
ไม่มีความกระวนกระวาย
ชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน
และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย
มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย
คือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
--
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้
ว่างจากสัญญาว่าบ้าน
สัญญานี้
ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์
และรู้ชัดว่า
มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว
เฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
ด้วยอาการนี้แหละ
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วย
สิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย
และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี
ดูกรอานนท์
แม้อย่างนี้
ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง
ตามความเป็นจริง
ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
*******************
#บาลี
[๓๓๔] ตคฺฆ เต เอตํ อานนฺท สุสฺสุตํ สุคหิตํ สุมนสิกตํ
สุปธาริตํ ๑ ฯ ปุพฺเพ จาหํ ๒ อานนฺท เอตรหิ จ สุญฺญตาวิหาเรน
พหุลํ วิหรามิ ฯ เสยฺยถาปิ อานนฺท อยํ มิคารมาตุ ปาสาโท
สุญฺโญ หตฺถิ ควาสฺสวลเวน สุญฺโญ ชาตรูปรชเตน สุญฺโญ
อิตฺถีปุริสสนฺนิปาเตน ฯ อตฺถิ เจวิทํ อสุญฺญตํ ยทิทํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปฏิจฺจ
เอกตฺตํ เอวเมว โข อานนฺท ภิกฺขุ อมนสิกริตฺวา คามสญฺญํ
อมนสิกริตฺวา มนุสฺสสญฺญํ อรญฺญสญฺญํ ปฏิจฺจ มนสิกโรติ
#๑ ม. ยุ. สูปธาริตํ ฯ ๒ ม. ปาหํ ฯ
เอกตฺตํ ฯ ตสฺส อรญฺญสญฺญาย จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ ปสีทติ สนฺติฏฺฐติ
อธิมุจฺจติ ๑ ฯ โส เอวํ ปชานาติ เย อสฺสุ ทรถา คามสญฺญํ
ปฏิจฺจ เตธ น สนฺติ เย อสฺสุ ทรถา มนุสฺสสญฺญํ ปฏิจฺจ เตธ
น สนฺติ อตฺถิ เจวายํ ทรถมตฺตา ยทิทํ อรญฺญสญฺญํ ปฏิจฺจ
เอกตฺตนฺติ ฯ โส สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ คามสญฺญายาติ ปชานาติ
สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ มนุสฺสสญฺญายาติ ปชานาติ ฯ อตฺถิ เจวิทํ
อสุญฺญตํ ยทิทํ อรญฺญสญฺญํ ปฏิจฺจ เอกตฺตนฺติ ฯ อิติ ยํ หิ
โข ตตฺถ น โหติ เตน ตํ สุญฺญํ สมนุปสฺสติ ยํ ปน ตตฺถ
อวสิฏฺฐํ โหติ ตํ สนฺตํ อิทมตฺถีติ ปชานาติ ฯ เอวมฺปิสฺส เอสา
อานนฺท ยถาภุจฺจา อวิปลฺลตฺถา ปริสุทฺธา สุญฺญตาวกฺกนฺติ ภวติ ฯ
*******************
#ไทย
[๓๓๕] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์
ไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน
เปรียบเหมือน หนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย
เป็นของปราศจากรอยย่น
ฉันใด
ดูกร อานนท์
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจแผ่นดินนี้
ซึ่งจะมีชั้นเชิง มีแม่น้ำ ลำธาร
มีที่เต็มด้วยตอหนาม มีภูเขา
และพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ทั้งหมด
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่า แผ่นดิน
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ในสัญญาว่าแผ่นดินนี้
ไม่มีความกระวนกระวาย
ชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์
และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่า
มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย
คือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น
เธอ รู้ชัดว่า
สัญญานี้
ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์
สัญญานี้
ว่างจากสัญญาว่าป่า
และรู้ชัดว่า
มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น
ด้วยอาการนี้แหละเธอจึง
พิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย
และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้
ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง
ตามความเป็นจริง
ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
---
#บาลี
[๓๓๕] ปุน จปรํ อานนฺท ภิกฺขุ อมนสิกริตฺวา มนุสฺสสญฺญํ
อมนสิกริตฺวา อรญฺญสญฺญํ ปฐวีสญฺญํ ปฏิจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺตํ ฯ
ตสฺส ปฐวีสญฺญาย จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ ปสีทติ สนฺติฏฺฐติ อธิมุจฺจติ ฯ
เสยฺยถาปิ อานนฺท อาสภจมฺมํ ๒ สงฺกุสเตน สุวิหตํ วิคตวลิกํ
เอวเมว โข อานนฺท ภิกฺขุ ยํ อิมิสฺสา ปฐวิยา อุกฺกุลวิกุลํ นทีวิทุคฺคํ
ขาณุกณฺฏกธานํ ๓ ปพฺพตวิสมํ ตํ สพฺพํ อมนสิกริตฺวา ปฐวีสญฺญํ
ปฏิจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺตํ ฯ ตสฺส ปฐวีสญฺญา จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ
ปสีทติ สนฺติฏฺฐติ อธิมุจฺจติ ฯ โส เอวํ ปชานาติ เย อสฺสุ
ทรถา มนุสฺสสญฺญํ ปฏิจฺจ เตธ น สนฺติ เย อสฺสุ ทรถา
#๑ ยุ. วิมุจฺจติ ฯ ๒ ยุ. อุสภจมฺมํ ฯ ๓ ยุ. ขาณุกณฺฏกาธารนฺติ ทิสฺสติ ฯ
#สี. ขาณุกนฺตกธรนฺติ ทิสฺสติ ฯ
อรญฺญสญฺญํ ปฏิจฺจ เตธ น สนฺติ อตฺถิ เจวายํ ทรถมตฺตา
ยทิทํ ปฐวีสญฺญํ ปฏิจฺจ เอกตฺตนฺติ ฯ โส สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ
มนุสฺสสญฺญายาติ ปชานาติ สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ อรญฺญสญฺญายาติ
ปชานาติ ฯ อตฺถิ เจวิทํ อสุญฺญตํ ยทิทํ ปฐวีสญฺญํ
ปฏิจฺจ เอกตฺตนฺติ ฯ อิติ ยํ หิ โข ตตฺถ น โหติ เตน
ตํ สุญฺญํ สมนุปสฺสติ ยํ ปน ตตฺถ อวสิฏฺฐํ โหติ ตํ สนฺตํ
อิทมตฺถีติ ปชานาติ ฯ เอวมฺปิสฺส เอสา อานนฺท ยถาภุจฺจา
อวิปลฺลตฺถา ปริสุทฺธา สุญฺญตาวกฺกนฺติ ภวติ ฯ
---
#ไทย
[๓๓๖] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า
ไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตน
สัญญาจิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากาสานัญจายตน สัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ในอากาสานัญจายตน
สัญญานี้
ไม่มีความกระวนกระวาย
ชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่า
และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน
มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย
คือภาวะเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า
สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า
สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน
และรู้ ชัดว่า
มีไม่ว่างอยู่ก็คือ
สิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้น
ด้วยอาการนี้แหละ
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย
และรู้ ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้น
อันยังมีอยู่ว่ามี
ดูกรอานนท์
แม้อย่างนี้
ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง
ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น ฯ
---
#บาลี
[๓๓๖] ปุน จปรํ อานนฺท ภิกฺขุ อมนสิกริตฺวา อรญฺญสญฺญํ
อมนสิกริตฺวา ปฐวีสญฺญํ อากาสานญฺจายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ
มนสิกโรติ เอกตฺตํ ฯ ตสฺส อากาสานญฺจายตนสญฺญาย จิตฺตํ
ปกฺขนฺทติ ปสีทติ สนฺติฏฺฐติ อธิมุจฺจติ ฯ โส เอวํ ปชานาติ
เย อสฺสุ ทรถา อรญฺญสญฺญํ ปฏิจฺจ เตธ น สนฺติ เย อสฺสุ
ทรถา ปฐวีสญฺญํ ปฏิจฺจ เตธ น สนฺติ อตฺถิ เจวายํ
ทรถมตฺตา ยทิทํ อากาสานญฺจายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ เอกตฺตนฺติ ฯ โส
สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ อรญฺญสญฺญายาติ ปชานาติ สุญฺญมิทํ
สญฺญาคตํ ปฐวีสญฺญายาติ ปชานาติ ฯ อตฺถิ เจวิทํ อสุญฺญตํ
ยทิทํ อากาสานญฺจายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ เอกตฺตนฺติ ฯ อิติ ยํ หิ
โข ตตฺถ น โหติ เตน ตํ สุญฺญํ สมนุปสฺสติ ยํ ปน ตตฺถ
อวสิฏฺฐํ โหติ ตํ สนฺตํ อิทมตฺถีติ ปชานาติ ฯ เอวมฺปิสฺส เอสา
อานนฺท ยถาภุจฺจา อวิปลฺลตฺถา ปริสุทฺธา สุญฺญตาวกฺกนฺติ ภวติ ฯ
----
#ไทย
[๓๓๗] ดูกรอานนท์
ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน
ไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะ
วิญญาณัญจายตนสัญญา
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
และนึกน้อมอยู่ในวิญญาณัญจายตนสัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ในวิญญาณัญจายตนสัญญาน้ีไม่มีความกระวน
กระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน
และชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญา
มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย
คือภาวะเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า
สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน
สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญ จายตนสัญญา
และรู้ชัดว่า
มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว
เฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญา
เท่านั้น
ด้วยอาการนี้แหละ
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน
สัญญานั้นเลย
และรู้ชัด
สิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
ดูกรอานนท์
แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง
ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด
บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
-----
#บาลี
[๓๓๗] ปุน จปรํ อานนฺท ภิกฺขุ อมนสิกริตฺวา ปฐวีสญฺญํ
อมนสิกริตฺวา อากาสานญฺจายตนสญฺญํ วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญํ
ปฏิจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺตํ ฯ ตสฺส วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญาย
จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ ปสีทติ สนฺติฏฺฐติ อธิมุจฺจติ ฯ โส เอวํ ปชานาติ
เย อสฺสุ ทรถา ปฐวีสญฺญํ ปฏิจฺจ เตธ น สนฺติ เย อสฺสุ ทรถา
อากาสานญฺจายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ เตธ น สนฺติ อตฺถิ เจวายํ
ทรถมตฺตา ยทิทํ วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ เอกตฺตนฺติ ฯ
โส สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ ปฐวีสญฺญายาติ ปชานาติ สุญฺญมิทํ
สญฺญาคตํ อากาสานญฺจายตนสญฺญายาติ ปชานาติ ฯ อตฺถิ เจวิทํ
อสุญฺญตํ ยทิทํ วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ เอกตฺตนฺติ ฯ
อิติ ยํ หิ โข ตตฺถ น โหติ เตน ตํ สุญฺญํ สมนุปสฺสติ
ยํ ปน ตตฺถ อวสิฏฺฐํ โหติ ตํ สนฺตํ อิทมตฺถีติ ปชานาติ ฯ
เอวมฺปิสฺส เอสา อานนฺท ยถาภุจฺจา อวิปลฺลตฺถา ปริสุทฺธา
สุญฺญตาวกฺกนฺติ ภวติ ฯ
-----
#ไทย
[๓๓๘] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา
ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญา ยตนสัญญา
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
และนึกน้อมอยู่ในอากิญ จัญญายตนสัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ในอากิญจัญญายตนสัญญานี้
ไม่มีความกระวนกระวาย
ชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญา
และชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญา
มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย
คือภาวะเดียวเฉพาะ
อากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า
สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญา
สัญญานี้่ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว
เฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น
ด้วยอาการนี้แหละ
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย
และรู้ชัด
สิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้น
อันยังมีอยู่ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้
ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง
ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาดบริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น ฯ
-----
#บาลี
[๓๓๘] ปุน จปรํ อานนฺท ภิกฺขุ อมนสิกริตฺวา อากาสานญฺจายตนสญฺญํ
อมนสิกริตฺวา วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญํ อากิญฺจญฺญายตนสญฺญํ
ปฏิจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺตํ ฯ ตสฺส อากิญฺจญฺญายตนสญฺญาย
จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ ปสีทติ สนฺติฏฺฐติ อธิมุจฺจติ ฯ โส เอวํ
ปชานาติ เย อสฺสุ ทรถา อากาสานญฺจายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ เตธ
น สนฺติ เย อสฺสุ ทรถา วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ เตธ
น สนฺติ อตฺถิ เจวายํ ทรถมตฺตา ยทิทํ อากิญฺจญฺญายตนสญฺญํ
ปฏิจฺจ เอกตฺตนฺติ ฯ โส สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ อากาสานญฺจายตนสญฺญายาติ
ปชานาติ สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญายาติ
ปชานาติ ฯ อตฺถิ เจวิทํ อสุญฺญตํ ยทิทํ
อากิญฺจญฺญายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ เอกตฺตนฺติ ฯ อิติ ยํ หิ โข
ตตฺถ น โหติ เตน ตํ สุญฺญํ สมนุปสฺสติ ยํ ปน ตตฺถ
อวสิฏฺฐํ โหติ ตํ สนฺตํ อิทมตฺถีติ ปชานาติ ฯ เอวมฺปิสฺส เอสา
อานนฺท ยถาภุจฺจา อวิปลฺลตฺถา ปริสุทฺธา สุญฺญตาวกฺกนฺติ ภวติ ฯ
----
#ไทย
[๓๓๙] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา
ไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
และนึกน้อมอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา นี้
ไม่มีความกระวนกระวาย
ชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญา
และชนิดที่อาศัย อากิญจัญญายตนสัญญา
มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย
คือภาวะเดียวเฉพาะ
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า
สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา
และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว
เฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น
ด้วยอาการนี้แหละ
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย
และรู้ชัด
สิ่งที่เหลืออยู่ใน สัญญานั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
ดูกรอานนท์
แม้อย่างนี้
ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง
ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น ฯ
---
#บาลี
[๓๓๙] ปุน จปรํ อานนฺท ภิกฺขุ อมนสิกริตฺวา วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญํ
อมนสิกริตฺวา อากิญฺจญฺญายตนสญฺญํ เนวสญฺญานาสญฺญายตนสญฺญํ
ปฏิจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺตํ ฯ ตสฺส
เนวสญฺญานาสญฺญายตนสญฺญาย จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ ปสีทติ สนฺติฏฺฐติ
อธิมุจฺจติ ฯ โส เอวํ ปชานาติ เย อสฺสุ ทรถา วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญํ
ปฏิจฺจ เตธ น สนฺติ เย อสฺสุ ทรถา อากิญฺจญฺญายตนสญฺญํ
ปฏิจฺจ เตธ น สนฺติ อตฺถิ เจวายํ ทรถมตฺตา
ยทิทํ เนวสญฺญานาสญฺญายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ เอกตฺตนฺติ ฯ
โส สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญายาติ ปชานาติ
สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ อากิญฺจญฺญายตนสญฺญายาติ ปชานาติ ฯ อตฺถิ
เจวิทํ อสุญฺญตํ ยทิทํ เนวสญฺญานาสญฺญายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ
เอกตฺตนฺติ ฯ อิติ ยํ หิ โข ตตฺถ น โหติ เตน ตํ สุญฺญํ
สมนุปสฺสติ ยํ ปน ตตฺถ อวสิฏฺฐํ โหติ ตํ สนฺตํ อิทมตฺถีติ
ปชานาติ ฯ เอวมฺปิสฺส เอสา อานนฺท ยถาภุจฺจา อวิปลฺลตฺถา
ปริสุทฺธา สุญฺญตาวกฺกนฺติ ภวติ ฯ
---
#ไทย
[๓๔๐] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา
ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ในเจโตสมาธินี้
ไม่มีความ กระวนกระวาย
ชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญา
และชนิดที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
มีอยู่แต่เพียงความกระวนกระวาย
คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖
อาศัยกายนี้เอง
เพราะชีวิตเป็นปัจจัย
เธอรู้ชัดว่า
สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตน สัญญา
สัญญานี้ว่างจากเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
และรู้ชัดว่า
มีไม่ว่างอยู่
ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖
อาศัยกายนี้เอง
เพราะชีวิตเป็นปัจจัย
ด้วยอาการนี้แหละ
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย
และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ว่ามี
ดูกรอานนท์
แม้อย่างนี้
ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง
ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด
บริสุทธิ์ ของ ภิกษุนั้น ฯ
---
#บาลี
[๓๔๐] ปุน จปรํ อานนฺท ภิกฺขุ อมนสิกริตฺวา อากิญฺจญฺญายตนสญฺญํ
อมนสิกริตฺวา เนวสญฺญานาสญฺญายตนสญฺญํ อนิมิตฺตํ
เจโตสมาธึ ปฏิจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺตํ ฯ ตสฺส อนิมิตฺเต
เจโตสมาธิมฺหิ จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ ปสีทติ สนฺติฏฺฐติ อธิมุจฺจติ ฯ โส เอวํ
ปชานาติ เย อสฺสุ ทรถา อากิญฺจญฺญายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ เตธ
น สนฺติ เย อสฺสุ ทรถา เนวสญฺญานาสญฺญายตนสญฺญํ ปฏิจฺจ
เตธ น สนฺติ อตฺถิ เจวายํ ทรถมตฺตา ยทิทํ อิมเมว กายํ
ปฏิจฺจ สฬายตนิกํ ชีวิตปจฺจยาติ ฯ โส สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ
อากิญฺจญฺญายตนสญฺญายาติ ปชานาติ สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ
เนวสญฺญานาสญฺญายตนสญฺญายาติ ปชานาติ ฯ อตฺถิ เจวิทํ อสุญฺญตํ
ยทิทํ อิมเมว กายํ ปฏิจฺจ สฬายตนิกํ ชีวิตปจฺจยาติ ฯ อิติ ยํ หิ
โข ตตฺถ น โหติ เตน ตํ สุญฺญํ สมนุปสฺสติ ยํ ปน ตตฺถ
อวสิฏฺฐํ โหติ ตํ สนฺตํ อิทมตฺถีติ ปชานาติ ฯ เอวมฺปิสฺส เอสา
อานนฺท ยถาภุจฺจา อวิปลฺลตฺถา ปริสุทฺธา สุญฺญตาวกฺกนฺติ ภวติ ฯ
---
#ไทย
[๓๔๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญาตนสัญญา
ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิ
อันไม่มีนิมิต
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้แล
ยังมีปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้
ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น
ไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้น
แม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวาย
ชนิดที่อาศัยกามาสวะ
ชนิดที่อาศัยภวาสวะ
และชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ
มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย
คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖
อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย
เธอรู้ชัดว่า
สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ
สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ
สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ
และรู้ชัดว่า
มีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิด แห่งอายตนะ ๖
อาศัยกายนี้เอง
เพราะชีวิตเป็นปัจจัย
ด้วยอาการนี้แหละ
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย
และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้
เป็นการก้าวลงสู่ ความว่าง
ตามความเป็นจริง
ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
-----
#บาลี
[๓๔๑] ปุน จปรํ อานนฺท ภิกฺขุ อมนสิกริตฺวา อากิญฺจญฺญายตนสญฺญํ
อมนสิกริตฺวา เนวสญฺญานาสญฺญายตนสญฺญํ อนิมิตฺตํ
เจโตสมาธึ ปฏิจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺตํ ฯ ตสฺส อนิมิตฺเต
เจโตสมาธิมฺหิ จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ ปสีทติ สนฺติฏฺฐติ อธิมุจฺจติ ฯ โส
เอวํ ปชานาติ อยํ หิ โข อนิมิตฺโต เจโตสมาธิ อภิสงฺขโต
อภิสญฺเจตยิโต ฯ ยํ โข ปน กิญฺจิ อภิสงฺขตํ อภิสญฺเจตยิตํ
ตทนิจฺจํ นิโรธธมฺมนฺติ ปชานาติ ฯ ตสฺส เอวํ ชานโต เอวํ
ปสฺสโต กามาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจติ ภวาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจติ
อวิชฺชาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจติ วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ
ขีณา ชาติ วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ กตํ กรณียํ นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ
ปชานาติ ฯ โส เอวํ ปชานาติ เย อสฺสุ ทรถา กามาสวํ
ปฏิจฺจ เตธ น สนฺติ เย อสฺสุ ทรถา ภวาสวํ ปฏิจฺจ เตธ น
สนฺติ เย อสฺสุ ทรถา อวิชฺชาสวํ ปฏิจฺจ เตธ น สนฺติ อตฺถิ
เจวายํ ทรถมตฺตา ยทิทํ อิมเมว กายํ ปฏิจฺจ สฬายตนิกํ
ชีวิตปจฺจยาติ ฯ โส สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ กามาสเวนาติ ปชานาติ
สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ ภวาสเวนาติ ปชานาติ สุญฺญมิทํ สญฺญาคตํ
อวิชฺชาสเวนาติ ปชานาติ ฯ อตฺถิ เจวิทํ อสุญฺญตํ ยทิทํ อิมเมว
กายํ ปฏิจฺจ สฬายตนิกํ ชีวิตปจฺจยาติ ฯ อิติ ยํ หิ โข ตตฺถ น
โหติ เตน ตํ สุญฺญํ สมนุปสฺสติ ยํ ปน ตตฺถ อวสิฏฺฐํ โหติ
ตํ สนฺตํ อิทมตฺถีติ ปชานาติ ฯ เอวมฺปิสฺส เอสา อานนฺท ยถาภุจฺจา
อวิปลฺลตฺถา ปริสุทฺธา ปรมานุตฺตรา สุญฺญตาวกฺกนฺติ ภวติ ฯ
-----
#ไทย
[๓๔๒] ดูกรอานนท์
สมณะหรือพราหมณ์
ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ
ที่ บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์
เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น
ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์
เยี่ยมยอดนี้เองอยู่
สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาล
ไม่ว่าพวกใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติ
อันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่
ทั้งหมดนั้น ก็จัก
บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่
สมณะหรือพราหมณ์
ในบัดนี้ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์
เยี่ยมยอดอยู่
ทั้งหมดนั้นย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์
เยี่ยมยอดนี้เองอยู่
ดูกรอานนท์ เพราะ ฉะนั้นแล
พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า
เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์
เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ จูฬสุญญตสูตร ที่ ๑
-------
#บาลี
[๓๔๒] เยปิ ๑ หิ เกจิ อานนฺท อตีตมทฺธานํ สมณา วา
#๑ ยุ. สพฺพตฺถ เย ฯ ปิสทฺโท นตฺถิ ฯ
พฺราหฺมณา วา ปริสุทฺธํ ปรมานุตฺตรํ สุญฺญตํ อุปสมฺปชฺช วิหรึสุ
สพฺเพ เต อิมํเยว ปริสุทฺธํ ปรมานุตฺตรํ สุญฺญตํ อุปสมฺปชฺช
วิหรึสุ ฯ เยปิ หิ เกจิ อานนฺท อนาคตมทฺธานํ สมณา วา
พฺราหฺมณา วา ปริสุทฺธํ ปรมานุตฺตรํ สุญฺญตํ อุปสมฺปชฺช
วิหริสฺสนฺติ สพฺเพ เต อิมํเยว ปริสุทฺธํ ปรมานุตฺตรํ สุญฺญตํ
อุปสมฺปชฺช วิหริสฺสนฺติ ฯ เยปิ หิ เกจิ อานนฺท เอตรหิ สมณา
วา พฺราหฺมณา วา ปริสุทฺธํ ปรมานุตฺตรํ สุญฺญตํ อุปสมฺปชฺช
วิหรนฺติ สพฺเพ เต อิมํเยว ปริสุทฺธํ ปรมานุตฺตรํ สุญฺญตํ
อุปสมฺปชฺช วิหรนฺติ ฯ ตสฺมาติห อานนฺท ปริสุทฺธํ ปรมานุตฺตรํ
สุญฺญตํ อุปสมฺปชฺช วิหริสฺสามาติ ๑ เอวญฺหิ โว อานนฺท
สิกฺขิตพฺพนฺติ ฯ
อิทมโวจ ภควา อตฺตมโน อายสฺมา อานนฺโท ภควโต
ภาสิตํ อภินนฺทีติ ฯ
จูฬสุญฺญตสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ ปฐมํ ฯ
_____
#๑ ยุ. วิหริสฺสามีติ ฯ
*****
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๘๐ ข้อที่ ๓๓๓ - ๓๔๒
*****
link ;; เทียบเคียง...ไทย - บาลี
http://etipitaka.com/compare/thai/pali/14/180/…
****
#ว่าด้วยการหละหลวมในธรรม(ปริยัติที่เป็นงูพิษ)
*เพราะความไม่แยบคายตีความผิดกันทั้งบ้านทั้งเมือง*
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในกรณีนี้
เล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ,
พวกโมฆบุรุษเหล่านั้น ครั้นเล่าเรียน ธรรมนั้น ๆ แล้ว
****
***ไม่สอดส่องใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา.
เมื่อไม่สอดส่องใคร่ครวญเนื้อความด้วยปัญญา
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
***ย่อมไม่ทน ต่อการเพ่งพิสูจน์ ของโมฆบุรุษเหล่านั้น;
พวกโมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียน ธรรมด้วย
***การเพ่งหาข้อบกพร่อง (ของธรรมหรือของลัทธิใดลัทธิหนึ่ง)
และ
***มีความคิดที่จะใช้เป็นเครื่องทำลายลัทธิใดลัทธิหนึ่ง
เป็นอานิสงส์.
---
ผู้รู้ทั้งหลาย เล่าเรียนพระปริยัติธรรม
***เพื่อคุณประโยชน์อันใด,
พวกโมฆบุรุษ เหล่านั้น
หาได้รับคุณประโยชน์อันนั้นแห่งธรรมไม่,
--
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
ก็เลยเป็นธรรมที่โมฆบุรุษเหล่านั้น
***ถือเอาไม่ดี
เป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูล
เพื่อทุกข์แก่เขาเหล่านั้นตลอดกาลนาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะ
ความที่ธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้น
***ถือเอาไม่ดีเป็นเหตุ.
--
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการ
ใคร่จะได้งู
เที่ยวเสาะแสวงงูอยู่,
บุรุษนั้น ครั้นเห็นงูตัวใหญ่
ก็เข้าจับงูนั้นที่ตัวหรือที่หาง,
อสรพิษตัวนั้น ก็จะพึงกลับฉกเอามือหรือแขน
หรืออวัยวะแห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น;
บุรุษนั้น ก็จะตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย
เพราะการฉกเอาของ อสรพิษนั้นเป็นเหตุ.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะความที่บุรุษนั้นจับงูไม่ดี
(คือไม่ถูกวิธี) เป็นเหตุ, ข้อนี้ฉันใด ;
--
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
โมฆบุรุษบางพวกในกรณีนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน,
เขาเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด)
คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ,
พวกโมฆบุรุษเหล่านั้น ครั้นเล่าเรียนธรรมนั้น ๆ แล้ว
---
**ไม่สอดส่องใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยปัญญา
เมื่อไม่สอดส่องใคร่ครวญเนื้อความด้วยปัญญา
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
****ย่อมไม่ทนต่อการเพ่งพิสูจน์
ของโมฆบุรุษเหล่านั้น ;
--
โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียน ธรรม
****ด้วยการเพ่งหาข้อบกพร่อง
(ของธรรมหรือของลัทธิใดลัทธิหนึ่ง)
และมีความคิดที่จะ
***ใช้เป็นเครื่องทำลายลัทธิใดลัทธิหนึ่งเป็นอานิสงส์.
---
ผู้รู้ทั้งหลาย เล่าเรียน ปริยัติธรรม
เพื่อคุณประโยชน์อันใด,
โมฆบุรุษเหล่านั้น หาได้รับคุณประโยชน์
อันนั้นแห่งธรรมไม่ ;
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
ก็เลยเป็นธรรมที่โมฆบุรุษเหล่านั้น
ถือเอาไม่ดี เป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์แก่เขาเหล่านั้น ตลอดกาลนาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะความที่ธรรมทั้งหลาย อันโมฆบุรุษ เหล่านั้น
ถือเอาไม่ดีเป็นเหตุ แล.
________________________________
อลคัททูปมสูตร มู.ม. ๑๒/๒๗๘/๒๖๗
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
การเพ่งพิสูจน์ในที่นี้ หมายถึงเพ่งโทษ
หรือเพ่งจับผิดรวมอยู่ด้วย.
--
#กุลบุตรเรียนธรรม
ในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว
-
ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา
ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแก่กุลบุตรเหล่านั้น
ผู้ไตร่ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา
กุลบุตรเหล่านั้น
ไม่เป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์
และไม่มีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์
ย่อมเล่าเรียนธรรม
-
และกุลบุตรเหล่านั้น
ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด
ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น
ธรรมเหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร
เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว.
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้น
เธอทั้งหลายพึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเราอย่างใด
พึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด
ก็แลท่านทั้งหลาย
ไม่พึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเรา
พึงสอบถามเรา
หรือถามภิกษุผู้ฉลาดก็ได้
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๘๖/๔๓๐ ข้อที่ ๒๗๙
http://etipitaka.com/read…#
***************************
#ท่องจำไปก่อนคะ.. เป็นปฏิจจสมุปบาทแห่งการตามรู้ซึ่งพระสัทธรรม
#การทรงจำธรรมนั้นไว้มีอุปการระมากแก่การใคร่ครวญพิจารณาธรรมที่ตนทรงจำไว้
การใคร่ครวญพิจารณาธรรมที่ตนทรงจำไว้มีอุปการระมากแก่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพิสูจน์
ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอุปการระมากแก่ฉันทะ
ฉันทะมีอุปการระมากแก่ความอุตสาหะ
ความอุตสาหะมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา
ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร
ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุซึ่งสัจธรรม
---
#การทรงจำเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก พระศาสดาตรัสไว้ดังนี้
------------------------------------------------------------------------
***********************************************************
#การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)
มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการ
ตามรู้ซึ่งความจริง”
ภารท๎วาชะ ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้
เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดี
หรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่
ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ :-
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ....
เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ต่อแต่นั้น
เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรม
ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ….ในธรรมทั้งหลายอันเป็น
ที่ตั้งแห่งโมหะ…. เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น
ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โทสะ....ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
ลำดับนั้น เขา :-
(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมี
ศรัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม
(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย
อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ,
เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อม มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม,
ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว
(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น; เขาผู้มีตน
ส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ
(ความจริงโดยจริงความหมายสูงสุด) ด้วยนามกาย ด้วย,
ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.
ภารท๎วาชะ !
การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
-------------------
#การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
(สจฺจานุปตฺติ)
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
(สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึง
ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญ
ถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง”
ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ
การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ (ทั้ง ๑๒ ข้อ
ข้างต้น) เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
ภารท๎วาชะ !
การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
และเราบัญญัติการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗. --------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น