วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

-สัตว์คบค้ากันโดยธาตุ -ถ้อยคำดี ถ้อยคำชั่ว



พระอาจารย์โยงสองพระสูตร
-สัตว์คบค้ากันโดยธาตุ
-ถ้อยคำดี ถ้อยคำชั่ว
((กลุ่มของคน กลุ่มของธาตุ ที่จะคบค้า สมาคมกัน))
ประมาณนาทีที่ <<16.00>> https://www.youtube.com/watch…
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว
-
คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา
-
สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ
ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ
-
สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ
-
สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย
-
สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน
-
สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม
-
สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม
-
แม้ในอดีตกาล ...
แม้ในอนาคตกาล ...
แม้ในปัจจุบันกาล
สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน
ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือ
-
สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา
-
สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ
-
สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ
-
สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย
-
สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน
-
สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม
-
สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ฯ
-
[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน
ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ
-
สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัธทา
-
สัตว์จำพวกที่มีหิริ
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ
-
สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ
ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ
-
สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก
-
สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร
-
สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง
-
สัตว์จำพวกที่มีปัญญา
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา
-
แม้ในอดีตกาล ...
แม้ในอนาคตกาล ...
แม้ในปัจจุบันกาล
สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว
-
จบ สูตรที่ ๗
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
หน้าที่ ๑๕๕ ข้อที่ ๓๗๓
--
http://etipitaka.com/read/thai/16/151/
--
(((ถ้อยคำชั่ว)))
๗. ทุกถาสูตร
● [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว
เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
๑.• ถ้อยคำปรารภศรัทธาเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ๑
๒.• ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล ๑
๓• ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย ๑
๔.• ถ้อยคำปรารภจาคะเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่ ๑
๕.• ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ๑ ฯ
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา
เพราะผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา
ย่อมขัดข้อง โกรธพยาบาท กระด้าง
แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
-
เพราะผู้ไม่มีศรัทธานั้น ย่อมไม่เห็นศรัทธาสัมปทาในตน
และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ
ฉะนั้น
-
ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา
-
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล
เพราะผู้ทุศีล เมื่อพูดเรื่องศีลย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท
กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
-
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะผู้ทุศีลนั้นย่อมไม่เห็นศีลสัมปทาในตน
และย่อมไม่ได้ปีติและปราโมทย์ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ
ฉะนั้น
-
ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล
-
๓. เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภ พาหุสัจจะ (บาลี : พาหุสจฺจกถา )
จึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อยเพราะผู้ได้สดับน้อย
เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ
ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาทกระด้าง
แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
-
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะผู้ได้สดับน้อยนั้น
ย่อมไม่เห็นสุตสัมปทาในตน
และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทาเป็นเหตุ
ฉะนั้น
-
ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย
-
๔. เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภจาคะจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่
เพราะผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ
ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง
แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
-
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะผู้ตระหนี่นั้นย่อมไม่เห็นจาคสัมปทาในตน
และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุฉะนั้น
-
ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำชั่วของผู้ตระหนี่
-
๕. เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา
เพราะผู้ทรามปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา
ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง
แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
ข้อนั้น เพราะเหตุไร
-
เพราะผู้ทรามปัญญานั้นย่อมไม่เห็นปัญญาสัมปทาในตน
และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ
-
ฉะนั้นถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล
ย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว
เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล ฯ
(((ถ้อยคำดี)))
●● ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็นถ้อยคำดี
เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
๑• ถ้อยคำปรารภศรัทธาเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา ๑
๒• ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล ๑
๓• ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก ๑
๔• ถ้อยคำปรารภจาคะเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ ๑
๕• ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา ๑ ฯ
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา
เพราะผู้มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา
ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง
ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะผู้มีศรัทธานั้นย่อมเห็นศรัทธาสัมปทาในตน
และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ
ฉะนั้น
-
ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา
-
๒. เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล
เพราะผู้มีศีลเมื่อพูดเรื่องศีล
ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง
ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะผู้มีศีลนั้นย่อมเห็นศีลสัมปทาในตน
และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ
ฉะนั้น
-
ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล
-
๓. เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก
เพราะผู้ได้สดับมาก เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ
ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง
ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะผู้ได้สดับมากย่อมเห็นสุตสัมปทาในตน
และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ
ฉะนั้น
-
ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก
-
๔. เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภจาคะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ
เพราะผู้มีจาคะ เมื่อพูดเรื่องจาคะ
ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง
ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะผู้มีจาคะ นั้นย่อมเห็นจาคะสัมปทาในตน
และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ
ฉะนั้น
-
ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ
-
๕. เพราะเหตุไร
ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา
เพราะผู้มีปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา
ย่อมไม่ขัดข้องไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง
ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีปัญญานั้น
ย่อมเห็นปัญญาสัมปทาในตน
และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ
ฉะนั้น
-
ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล
ย่อมเป็นถ้อยคำดี เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล ฯ
จบสูตรที่ ๗
-
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๑๖๓/๔๐๗ ข้อที่ ๑๕๗
-
http://etipitaka.com/read/thai/22/163/…
-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น