วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ธรรมทานเลิศกว่าการให้ทานทั้งหลาย



ทานสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒อย่างนี้ คือ
การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย
๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ
การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์
๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยมพระผู้มีพระ
ภาคได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่าอย่างยิ่งยอดเยี่ยม วิญญูชน
ผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ผู้เป็นเขตอัน
เลิศ รู้ชัดอยู่ซึ่งทานและการแจกจ่ายทานนั้นๆ ใครจะไม่พึงบูชา
(ให้ทาน) ในกาลอันควรเล่า ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้แสดง
และผู้ฟังทั้ง๒ ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระสุคตย่อมหมดจด
ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้ไม่ประมาทแล้วในคำสั่งสอนของพระสุคต
ย่อมหมดจด ฯ

จบสูตรที่ ๙

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
หน้าที่ ๒๓๘/๔๑๘ ข้อที่ ๒๗๘

https://www.youtube.com/watch?v=ak2hqFAgb2c

หลังฉัน วัดนาป่าพง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ
ทาน ๑ เปยยวัชชะ ๑ อัตถจริยา ๑ สมานัตตตา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทาน
ทั้งหลาย การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำ
อันเป็นที่รัก การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา ชักชวนผู้ทุศีลให้
ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา ชักชวนผู้มีปัญญา
ทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย พระโสดาบัน
มีตนเสมอกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอ
กับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์ นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย นี้
เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล ย่อมก้าวล่วงภัย ๕
ประการ ภัย ๕ ประการเป็นไฉน คือ อาชีวิตภัย ๑ อสิโลกภัย ๑ปริสสารัชภัย ๑ มรณภัย
๑ ทุคติภัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นแลพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราไม่กลัวต่อภัย
อันเนื่องด้วยชีวิต ไฉนเราจักกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิตเล่า เรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลัง
ปัญญา กำลังความเพียรกำลังการงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์ คนที่มีปัญญาทรามแล
จึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต คนเกียจคร้านจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต คือ กลัวต่อภัย
อันเนื่องด้วยชีวิตเพราะการงานทางกาย ทางวาจาและทางใจที่มีโทษ คนที่ไม่สงเคราะห์ใครก็กลัว
ต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต เราไม่กลัวต่อภัย คือ การติเตียน ฯลฯ เราไม่กลัวต่อภัยคือการสะทก
สะท้านในบริษัท ... เราไม่กลัวต่อภัยคือความตาย ... เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ ไฉนเราจักกลัว
ต่อภัย คือ ทุคติเล่าเพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลังปัญญา กำลังความเพียร กำลัง
การงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์ คนที่มีปัญญาทรามแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติคนเกียจ
คร้านแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ คือ กลัวต่อภัยคือทุคติเพราะการงานทางกาย ทางวาจา และ
ทางใจที่มีโทษ คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร ก็กลัวภัยคือทุคติดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบ
ด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
http://etipitaka.com/read/thai/23/293/…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น