วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

(((ผู้แก่?...ผู้ควรได้รับการเคารพ สักการะ บูชา.)))) สามพระสูตรที่สอดรับกัน





(((ผู้แก่?...ผู้ควรได้รับการเคารพ สักการะ บูชา.)))) สามพระสูตรที่สอดรับกัน
-ทรงเป็นลูกไก่ตัวพี่ที่สุด(ผู้แก่)
-ภูมิคนแก่และภูมิเด็ก(วัดกันที่ไหน)
-พราหมณ์ ๕ จำพวก(สถานภาพของเขาเองไม่ได้อยู่ในสถานพราหมณ์ที่จะได้รับการเคารพ)
***พระสมณะโคดมไม่อภิวาท 
***ไม่ลุกรับ 
***หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ 
***ซึ่งพราหมณ์ผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว 
https://www.youtube.com/watch?v=OjyMZxfBrk8
พราหมณ์ ๕ จำพวก
๒. โทณสูตร
[๑๙๒] ครั้งนั้นแล โทณพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค 
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว 
จึงนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า 
-
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า 
พระสมณะโคดมไม่อภิวาท 
ไม่ลุกรับ 
หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ 
ซึ่งพราหมณ์ผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว 
ข้อนั้นเห็นจะเป็นเหมือนอย่างนั้น 
เพราะท่านพระโคดมไม่อภิวาท 
ไม่ลุกรับ 
หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ 
ซึ่งพราหมณ์ผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว 
ข้อนี้ไม่ดีเลย 
-
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโทณะ 
แม้ท่านก็ย่อมปฏิญาณว่าเป็นพราหมณ์มิใช่หรือ ฯ
-
ท. ข้าแต่ท่านพระโคดม 
ผู้ใดเมื่อกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวว่าเป็นพราหมณ์ 
-
อุภโตสุชาติทั้งฝ่ายมารดาและบิดา 
มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ 
ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ 
-
เป็นผู้เล่าเรียน 
ทรงมนต์รู้จบไตรเพท 
พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและเกฏุภะ 
พร้อมทั้งอักขระประเภท มีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ห้า 
เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์
เป็นผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ
และตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ 
ผู้นั้นเมื่อกล่าวโดยชอบ 
พึงหมายซึ่งข้าพระองค์นั้นเทียว 
-
เพราะข้าพระองค์เป็นพราหมณ์อุภโตสุชาติทั้งฝ่ายมารดาและบิดา
มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ 
ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ 
-
เป็นผู้เล่าเรียน ทรงมนต์ รู้จบไตรเพท 
พร้อมด้วยคัมภีร์นิฆัณฑุและเกฏุภะ พร้อมทั้งอักขระประเภท 
มีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ห้า 
เข้าใจตัวบทเข้าใจไวยากรณ์ เป็นผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ
และตำราทายมหาปุริสลักษณะ ฯ
-
พ. ดูกรโทณะ 
บรรดาฤาษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ 
คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทวะ 
ฤาษีเวสสามิตตระ ฤาษียมตัคคี ฤาษีอังคีรส ฤาษีภารทวาชะ 
ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภัคคุ 
ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้
ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบทมนต์ของเก่านี้ 
ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง 
บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกไว้ 
ฤาษีเหล่านั้นย่อมบัญญัติพราหมณ์ไว้ ๕ จำพวกนี้ 
คือ 
-
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม ๑ 
พราหมณ์เสมอด้วยเทวดา ๑ 
พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี ๑
พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดีและชั่ว ๑ 
พราหมณ์จัณฑาลเป็นที่ ๕ 
-
ดูกรโทณะท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน
ในจำพวกพราหมณ์ ๕ จำพวกนั้น ฯ
-
โท. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ 
ข้าพระองค์ไม่รู้จักพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้
แต่ข้าพระองค์รู้ว่าเป็นพราหมณ์เท่านั้น 
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ 
โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ ฯ
-
พ. ดูกรโทณะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ฯ
โทณพราหมณ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า 
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรโทณะ 
ก็พราหมณ์เป็นผู้เสมอด้วยพรหมอย่างไร 
พราหมณ์ในโลกนี้เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา 
มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ 
ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ 
-
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์เรียนมนต์อยู่ตลอด ๔๘ ปี 
ครั้นแล้ว
-
ย่อมแสวงหาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยธรรมอย่างเดียว 
ไม่แสวงหาโดยไม่เป็นธรรม 
-
ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร 
คือ ไม่ใช่แสวงหาด้วยกสิกรรม 
พาณิชยกรรม
โครักขกรรม 
การเป็นนักรบ 
การรับราชการ 
ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง 
-
เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว 
-
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์แก่อาจารย์แล้ว 
ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสายะ 
ออกบวชเป็นบรรพชิต 
เขาบวชแล้วอย่างนี้ 
มีใจประกอบด้วยเมตตา
แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน 
ตามนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน 
ด้วยใจประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ถึง
ความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ
-
มีใจประกอบด้วยกรุณา 
... ประกอบด้วยมุทิตา 
... ประกอบด้วยอุเบกขา 
แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน 
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง 
แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า 
ในที่ทุกสถานด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ 
ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ 
เธอเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการนี้แล้ว 
-
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติพรหมโลก 
-
ดูกรโทณะ 
พราหมณ์เป็นผู้ชื่อว่าเสมอด้วยพรหมอย่างนี้แล ฯ
-
ดูกรโทณะ ก็พราหมณ์เป็นผู้เสมอด้วยเทวดาอย่างไร 
พราหมณ์ในโลกนี้เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา 
มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดตลอด ๗ชั่วบรรพบุรุษ 
ไม่มีใครๆ จะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ 
-
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนต์อยู่ตลอด ๔๘ ปี
ครั้นแล้ว 
-
ย่อมแสวงหาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยธรรม 
ไม่แสวงหาอย่างไม่เป็นธรรม 
ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร คือ 
-
ไม่ใช่แสวงหาด้วยกสิกรรม 
พาณิชยกรรม
โครักขกรรม 
การเป็นนักรบ 
การรับราชการ 
ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง 
-
เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว 
-
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์แก่อาจารย์แล้ว
ย่อมแสวงหาภรรยาโดยธรรมอย่างเดียว 
ไม่แสวงหาโดยไม่เป็นธรรม 
ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร คือ 
-
ไม่แสวงหาด้วยการซื้อ 
ด้วยการขาย 
ย่อมแสวงหาพราหมณีเฉพาะที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ 
เขาย่อมสมสู่เฉพาะพราหมณี
ไม่สมสู่ด้วยสตรีชั้นกษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล 
เนสาท ช่างจักสาน ช่างทำรถ เทหยากเยื่อ 
-
สตรีมีครรภ์ มีลูกอ่อน ไม่มีระดู 
-
ดูกรโทณะ เพราะเหตุไรพราหมณ์จึงไม่สมสู่ สตรีมีครรภ์ 
เพราะเหตุว่า ถ้าพราหมณ์สมสู่สตรีมีครรภ์ไซร้ 
มาณพหรือมาณวิกาย่อมเป็นผู้ชื่อว่าเกิดแต่กองอุจจาระ 
เพราะฉะนั้นพราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีครรภ์ 
-
เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีลูกอ่อน 
เพราะเหตุว่า ถ้าพราหมณ์สมสู่สตรีมีลูกอ่อนไซร้ 
มาณพหรือมาณวิกาย่อมเป็นผู้ชื่อว่าดื่มของไม่สะอาด 
เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีลูกอ่อน
-
พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ 
มิใช่ต้องการความใคร่ ความสนุก ความยินดี 
ต้องการบุตรอย่างเดียว 
เขามีบุตรหรือธิดาแล้ว 
จึงปลงผมและหนวด 
นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต

เขาบวชแล้วอย่างนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน 
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ 
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ 
เธอเจริญฌาณทั้ง ๔ ประการนี้แล้ว 
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 
-
ดูกรโทณะ 
พราหมณ์เป็นผู้เสมอด้วยเทวดาอย่างนี้แล ฯ
-
ดูกรโทณะ ก็พราหมณ์เป็นผู้มีความประพฤติดีอย่างไร 
พราหมณ์ในโลกนี้ 
เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา 
มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ 
ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ 
-
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนต์อยู่ตลอด ๔๘ ปี
ครั้นแล้ว 
-
แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยธรรมอย่างเดียว 
ไม่แสวงหาโดยไม่เป็นธรรม 
ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร คือ 
ไม่ใช่แสวงหาด้วยกสิกรรม 
พาณิชยกรรม
โครักขกรรม 
การเป็นนักรบ 
การรับราชการ 
ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง 
-
เขาถือ กระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว 
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์แก่อาจารย์แล้ว
-
ย่อมแสวงหาภรรยาโดยธรรมอย่างเดียว 
ไม่แสวงหาโดยไม่เป็นธรรม 
ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร คือ 
ไม่แสวงหาด้วยการซื้อ การขาย 
ย่อมแสวงหาพราหมณีเฉพาะผู้ที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ
เขาย่อมสมสู่เฉพาะพราหมณี 
ไม่สมสู่สตรีชั้นกษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล เนสาท ช่างจักสาน 
ช่างทำรถ เทหยากเหยื่อ สตรีมีครรภ์ มีลูกอ่อน ไม่มีระดู 
-
ดูกรโทณะ เพราะเหตุไรพราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีครรภ์ 
เพราะเหตุว่า ถ้าพราหมณ์ย่อมสมสู่สตรีมีครรภ์ไซร้ 
มาณพหรือมาณวิกาย่อมเป็นผู้ชื่อว่าเกิดแต่กองอุจจาระ 
เพราะฉะนั้นพราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีครรภ์ 
-
เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีลูกอ่อน 
เพราะเหตุว่า ถ้าพราหมณ์สมสู่สตรีมีลูกอ่อนไซร้ 
มาณพหรือมาณวิกาย่อมเป็นผู้ชื่อว่าดื่มของไม่สะอาด 
เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีลูกอ่อน 
-
พราหมณีนั้นย่อมเป็นพราหมณีของพราหมณ์ 
มิใช่ต้องการความใคร่ ความสนุก ความยินดี 
ต้องการบุตรอย่างเดียว 
เขามีบุตรหรือธิดาแล้ว 
ปรารถนาความยินดีในบุตรหรือธิดานั้น 
ครอบครองทรัพย์สมบัติ 
-
ไม่ออกบวชเป็นบรรพชิต
เขาดำรงอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน 
ไม่ล่วงละเมิด 
พราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน 
ไม่ล่วงละเมิด เพราะเหตุดังนี้แล 
ชาวโลกจึงเรียกว่าพราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี 
-
ดูกรโทณะ 
พราหมณ์เป็นผู้มีความประพฤติดีอย่างนี้แล ฯ
-
ดูกรโทณะ ก็พราหมณ์เป็นผู้มีความประพฤติดีชั่วอย่างไร 
พราหมณ์ในโลกนี้ 
เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา 
มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ 
ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ 
-
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์เรียนมนต์ อยู่ ๔๘ ปี 
ครั้นแล้ว 
-
แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยธรรมอย่างเดียว 
ไม่แสวงหาโดยไม่เป็นธรรม 
ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร คือ 
ไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม 
พณิชยกรรม 
โครักขกรรม
การเป็นนักรบ 
การรับราชการ 
ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง 
-
เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว 
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์แก่อาจารย์แล้ว 
-
ย่อมแสวงหาภรรยาโดยธรรมบ้าง โดยไม่เป็นธรรมบ้าง 
ด้วยการซื้อบ้าง ด้วยการขายบ้าง 
ย่อมแสวงหาพราหมณีผู้ที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ 
เขาย่อมสมสู่พราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง ชั้นแพศย์บ้าง 
ชั้นศูทรบ้าง ชั้นจัณฑาลบ้าง ชั้นเนสาทบ้าง ชั้นจักสานบ้าง 
ชั้นช่างทำรถบ้าง ชั้นเทหยากเยื่อบ้าง มีครรภ์บ้าง
มีลูกอ่อนบ้าง มีระดูบ้าง ไม่มีระดูบ้าง 
พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ 
ต้องการความใคร่บ้าง ความสนุกบ้าง ความยินดีบ้าง 
ต้องการบุตรบ้าง 
-
เขาไม่ตั้งอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน 
ล่วงละเมิดพราหมณ์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน
ล่วงละเมิด เพราะเหตุดังนี้ 
พราหมณ์ชาวโลกจึงเรียกว่าผู้มีความประพฤติดีและชั่ว 
-
ดูกรโทณะ
พราหมณ์เป็นผู้มีความประพฤติดีและชั่วอย่างนี้แล ฯ

ดูกรโทณะ ก็พราหมณ์ผู้เป็นพราหมณ์จัณฑาลอย่างไร 
พราหมณ์ในโลกนี้ 
เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา 
มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ
ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ 
-
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์เรียนมนต์อยู่ตลอด๔๘ ปี 
ครั้นแล้ว 
-
แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยธรรมบ้าง 
โดยไม่เป็นธรรมบ้าง 
ด้วยกสิกรรมบ้าง
ด้วยพาณิชยกรรมบ้าง 
ด้วยโครักขกรรมบ้าง 
ด้วยการเป็นนักรบบ้าง
ด้วยการรับราชการบ้าง 
ด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง 
-
เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
-
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์แก่อาจารย์แล้ว 
-
ย่อมแสวงหาภรรยาโดยธรรมบ้างโดย ไม่เป็นธรรมบ้าง 
ด้วยการซื้อบ้าง ด้วยการขายบ้าง 
ย่อมแสวงหาพราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ 
เขาย่อมสมสู่พราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง ชั้นแพศย์บ้าง ชั้นศูทรบ้าง 
ชั้นจัณฑาลบ้าง ชั้นเนสาทบ้าง ชั้นช่างจักสานบ้าง 
ชั้นช่างทำรถบ้าง ชั้นเทหยากเยื่อบ้าง มีครรภ์บ้าง มีลูกอ่อนบ้าง 
มีระดูบ้าง ไม่มีระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ 
ต้องการความใคร่บ้าง ความสนุกบ้าง ความยินดีบ้าง 
ต้องการบุตรบ้าง 
-
เขาสำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง 
พวกพราหมณ์ได้กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า 
ท่านปฏิญาณว่าเป็นพราหมณ์ 
เพราะเหตุไรจึงสำเร็จการเลี้ยงชีพ
ด้วยการงานทุกอย่าง 
เขาได้ตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ 
เปรียบเหมือนไฟย่อมไหม้สิ่งที่สะอาดบ้าง สิ่งที่ไม่สะอาดบ้าง 
แต่ไฟย่อมไม่ติดด้วยสิ่งนั้น 
แม้ฉันใด ถ้าแม้พราหมณ์สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่างไซร้ 
แต่พราหมณ์ย่อมไม่ติดด้วยการงานนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน 
พราหมณ์สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง 
เพราะเหตุดังนี้แล 
พราหมณ์ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์จัณฑาล 
-
ดูกรโทณะ 
พราหมณ์ผู้เป็นพราหมณ์จัณฑาลอย่างนี้แล ฯ
-
ดูกรโทณะ บรรดาฤาษีที่เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ 
คือ ฤาษี อัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทวะ ฤาษีเวสสามิตตระ 
ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ 
ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภัคคุ 
ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ 
พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้
ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบทมนต์ของเก่านี้ 
ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง
บอกได้ถูกต้อง ตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกไว้ 
ฤาษีเหล่านั้นย่อมบัญญัติพราหมณ์ไว้ ๕ จำพวก
-
คือ พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม ๑ 
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา ๑ 
พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี ๑
พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดีและชั่ว ๑ 
พราหมณ์จัณฑาลเป็นที่ ๕ 
-
ดูกรโทณะ ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน 
ในจำพวกพราหมณ์ ๕ จำพวกนั้น ฯ
-
โท. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ 
ข้าพระองค์ย่อมไม่ยังแม้พราหมณ์จัณฑาลให้เต็มได้ 
-
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ 
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก 
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก 
พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย 
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ 
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง 
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า 
ผู้มีจักษุ จักเห็นรูป ฉะนั้น 
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ 
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งธรรมและพระภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ 
ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า 
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต 
จำเดิม
แต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๒
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๒๐๑ ข้อที่ ๑๙๒
http://etipitaka.com/read/thai/22/201/
-
***ทรงเป็นลูกไก่ตัวพี่ที่สุด***
พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนฟองไข่ของแม่ไก่
อันมีอยู่ ๘ ฟอง หรือ ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง, 
เมื่อแม่ไก่นอนทับ กก ฟักด้วยดีแล้ว, 
บรรดาลูกไก่ในไข่เหล่านั้น 
ตัวใดเจาะแทงทำลายเปลือกไข่ด้วยจะงอยเล็บเท้า 
หรือจะงอยปากออกมาได้ก่อนตัวอื่นโดยปลอดภัย 
เราควรเรียกลูกไก่ตัวนั้นว่าอย่างไร 
คือจะเรียกว่าตัวพี่ผู้แก่ที่สุด 
หรือตัวน้องผู้น้อยที่สุด? 
-
"พระโคดมผู้เจริญ! ใครๆ ก็ควรเรียกมันว่า ตัวพี่ผู้เจริญที่สุด 
เพราะมันเป็นตัวที่แก่ที่สุดในบรรดาลูกไก่เหล่านั้น" 
พราหมณ์ทูลตอบ. 
-
พราหมณ์! ฉันใดก็ฉันนั้น : เรานี้, 
ขณะเมื่อหมู่สัตว์กำลังถูกอวิชชาซึ่งเป็นประดุจเปลือกฟองไข่ห่อหุ้มอยู่แล้ว, 
ก็ทำลายเปลือกห่อหุ้ม คือ อวิชชาออกมาได้ก่อนใครๆ 
เป็นบุคคลแต่ผู้เดียวในโลก 
ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ 
อันไม่มีญาณอะไรยิ่งไปกว่า. 
-
พราหมณ์! เรานั้น, 
เป็นผู้เจริญที่สุดประเสริฐที่สุดของโลก. 
ความเพียรเราได้ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน, 
สติเราได้กำหนดมั่นแล้วไม่ลืมหลง, 
กายก็รำงับแล้วไม่กระสับกระส่าย, 
จิตตั้งมั่นแล้วเป็นหนึ่ง, 
เราได้บรรลุปฐมฌาน---ฯลฯ---* 
ทุติยฌาน---ฯลฯ--- 
ตติยฌาน---ฯลฯ---
จตุตถฌานแล้ว 
-
ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ---ฯลฯ--- 
เป็นการทำลายเปลือกฟองไข่ของลูกไก่ออกจากฟองไข่ ครั้งแรก, 
ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อจุตูปปาตญาณ---ฯลฯ--- 
เป็นการทำลายเปลือกฟองไข่ของลูกไก่ออกจากฟองไข่ครั้งที่สอง, 
ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ---ฯลฯ--- 
เป็นการทำลายเปลือกฟองไข่ของลูกไก่ออกจากฟองไข่ครั้งที่สาม, 
ดังนี้. 
-
บาลี มหาวิภังค์ วินัยปิฎก ๑/๕/๓ . ตรัสแก่เวรัญชพราหมณ์
http://etipitaka.com/read/thai/1/4/
--
‪#‎ภูมิคนแก่และภูมิของเด็ก‬
--
ท่านมหากัจจานะตอบว่า ดูกรพราหมณ์ 
ภูมิคนแก่และภูมิเด็ก 
ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงรู้ทรงเห็นพระองค์นั้นตรัสไว้มีอยู่ 
ดูกรพราหมณ์ ถึงแม้จะเป็นคนแก่
มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี 
แต่กำเนิดก็ดี แต่เขายังบริโภคกาม 
อยู่ในท่ามกลางกาม 
ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา
---ถูกกามวิตกเคี้ยวกินอยู่ 
ยังเป็นผู้ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม 
เขาก็ย่อมถึงการนับว่าเป็นพาล 
ไม่ใช่เถระโดยแท้ 
#
ดูกรพราหมณ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็ก
ยังเป็นหนุ่มมีผมดำสนิท 
ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ 
ยังตั้งอยู่ในปฐมวัย 
แต่เขาไม่บริโภคกาม 
ไม่อยู่ในท่ามกลางกาม 
ไม่ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา 
ไม่ถูกกามวิตกเคี้ยวกิน 
ไม่ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม 
เขาก็ย่อมถึงการนับว่าเป็นบัณฑิตเป็นเถระแน่แท้
ทีเดียวแล 
#
ทราบว่า 
เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว 
พราหมณ์กัณฑรายนะได้ลุกจากที่นั่ง
แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง 
ไหว้เท้าของภิกษุที่หนุ่มด้วยเศียรเกล้า
กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าแก่
ตั้งอยู่แล้วในภูมิคนแก่ 
เรายังเด็ก ตั้งอยู่ในภูมิเด็ก
ข้าแต่ท่านกัจจานะ 
ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก 
ข้าแต่ท่านกัจจานะ 
ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก 
ท่านพระกัจจานะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ 
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง 
หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น 
ข้าแต่ท่านกัจจานะ 
ข้าพเจ้านี้ 
ขอถึง
พระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น 
กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์
เป็นสรณะ 
ขอท่านพระกัจจานะ
จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก 
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๖๔ข้อที่ ๒๘๔
-
http://etipitaka.com/read/thai/20/64/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น