วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

**อยากเพิ่มยอดขายทำอย่างไร**



คลิปนี้คำถามดีมากๆ..คำถามโลกๆ..พระอาจารย์ตอบ..ส่งถึงนิพพานเลยคะ..
อนุโมทนากับผู้ถามทุกๆ คำถาม และผู้อับโหลดคะ
**อยากเพิ่มยอดขายทำอย่างไร**
ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา(อานาปานสติ) เจริญมาก กระทำมาก
สร้างเหตุถูก ผลก็ต้องได้ถูก แล้วก็ตั้งความปรารถนาเอา
เพิ่มสุตตะ ไปอีกองค์..ถึง..มรรคผลนิพพานเลย..*เป็นบุรุษมีตาสองข้าง*
ตาข้างหนึ่งทำให้เกิดทรัพย์ทางโลก.ปัญหาคือ..ตายแล้วก็ยังไม่พ้น..นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย
ตาข้างหนึ่งทำให้เกิดทรัพย์ในทางธรรม..เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องมีสุตะตถาคต
https://www.youtube.com/watch?v=f8EHDtfwhTc
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-
**ขอโภคทรัพย์จงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม**
นี้เป็นธรรม ประการที่ ๑ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว
**ขอยศจงเฟื่องฟูแก่เราพร้อมด้วยญาติและมิตรสหาย**
นี้เป็นธรรม ประการที่ ๒ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว
ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว
**ขอเราจงเป็นอยู่นาน จงรักษาอายุให้ยั่งยืน**
นี้เป็นธรรม ประการที่ ๓ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว
ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว
เป็นอยู่นานรักษาอายุให้ยั่งยืนแล้ว
**เมื่อตายแล้ว ขอเราจงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์**
นี้เป็นธรรม ประการที่ ๔ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้แล น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ ธรรม ๔ ประการ
อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-
สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๑
สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๑
จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค) ๑
ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ๑ .
คหบดี ! ก็ สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา
เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์”.
คหบดี ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.
ก็ สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน
เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท
เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. นี้เรียกว่า สีลสัมปทา.
ก็ จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่
มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้
และการแบ่งปัน. นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.
ก็ ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
บุคคลมีใจอันความโลภอย่างแรงกล้า คือ อภิชฌาครอบงำแล้ว
ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ
เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและละเลยกิจที่ควรทำเสีย
ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข
บุคคลมีใจอันพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ
เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและละเลยกิจที่ควรทำเสีย
ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข.
คหบดี ! อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า
อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภอย่างแรงกล้า)
เป็นอุปกิเลส (โทษเครื่องเศร้าหมอง) แห่งจิต
ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้
รู้ว่า พยาบาท (คิดร้าย) ถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา)
อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ย่อมละเสียซึ่งสิ่งที่เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้น .
คหบดี ! เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าอภิชฌาวิสมโลภะ
เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้
เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว
เมื่อนั้นย่อมละสิ่งเหล่านั้นเสียได้
อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามาก
มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.
นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.
คหบดี !
ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการ
อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๒๓
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๕/๖๑.
---
คนมีตาดี สองข้าง
-------------------
ภิกษุทั้งหลาย ! คนมีตาสองข้างเป็นอย่างไรเล่า ?
คือ คนบางคนในโลกนี้มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์
ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น
นี้อย่างหนึ่ง;
และมีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรม
ที่เป็นกุศลและอกุศล
- ธรรมมีโทษและไม่มีโทษ
- ธรรมเลวและธรรมประณีต
- ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว
นี้อีกอย่างหนึ่ง.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คนมีตาสองข้าง.
-------------------
(บาลี) ติก. อํ. ๒๐/๑๖๒/๔๖๘.
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๓๖
อภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
หน้าที่ ๑๒๙ ข้อที่ ๙๐
---
http://etipitaka.com/read/thai/36/129/…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น