วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์ หลังฉัน 2015 05 30



วันนี้วัน วิสาขะบูชา ขอกราบนอบน้อมพระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยเศียรเกล้า..

 ท่าน MEDHANKARA THERO ภิกขุเมธังคละเถโร ผู้นำภิกขุจากมหาโพธิสมาคม แห่งประเทศอินเดีย MBSI มาเยี่ยมเยี่ยนพระอาจารย์และคณะสงฆ์ ที่วัดนาป่าพง วันนี้ ประมาณ 13.00 น.Bhikku K. Medhankara Thero

Joint Secretary & Bhikku in Charge Maha Bodhi Society of India, Buddhagaya Centre​

https://www.youtube.com/watch?v=uCCESq0i_p0

มรรคคานุคา เยาวชนชาวลาวผู้คล่องปากขึ้นใจในพุทธวจน



สา..ธุ..อนุโมทนาคะ.ขอโอกาสสรรเสริญด้วยพระสูตรเหล่านี้คะ

***รวมพระสูตรประโยชน์ของสุตตะพุทธวจน

      (อนุสาสนีย์ปราฏิหาริย์)***

***สั่งสมสุตะมาก เปรียบเหมือนการสั่งสมอาวุธไว้มาก***

--     **เป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า,

        เป็นผู้มักโกรธ,    เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แก้ได้ด้วยสุตะ

-**ประโยชน์ของการสาธยายธรรม

- **คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น

    (พระสูตรตามรู้สัทธรรม 12 ขั้นตอน)

-

***มีสติหลงลืมทำกาละ..จะได้ไปเกิดเป็นเทวดา..และจะบรรลุธรรมในภพนั้น

--

https://www.youtube.com/watch?v=21RaGmpdMW4

***ประโยชน์ของการสาธยายธรรม***

๑. เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม

(หนึ่งในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม)

อํ. ปญฺจก. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕



๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ

(หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ)

อํ ปญฺจก. ๒๒/๒๓/๒๖



๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูตร

อํ. ทสก. ๒๔/๑๒๐/๗๓



๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ

อํ. ทุก. ๒๐/๖๘/๒๙๒



๕. ทำให้ไม่เป็นมลทิน

อํ. อฎฺฐก. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕



๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน

(หนึ่งในห้าบริขารของจิต)

ม. มู. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘



๗. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้

(หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง)

อํ. สตฺตก. ๒๓/๗๓/๕๘

.............................................

***อานิสงส์ในการฟังพุทธวจนเนื่องๆ คล่องปาก ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น***

(พระสูตรตามรู้สัทธรรม 12 ขั้นตอน)

-

มีสติหลงลืมทำกาละ..จะได้ไปเกิดเป็นเทวดา..และจะบรรลุธรรมในภพนั้น

-

[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ

แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล

-

ฟังเนืองๆ

คล่องปาก

ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

-

อันบุคคลพึงหวังได้

อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

-

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ

ธรรมเหล่านั้น

เป็นธรรมอันภิกษุนั้น

ฟังเนืองๆ คล่องปาก

ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

-

เธอมีสติ หลงลืมเมื่อกระทำกาละ

ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง

-

บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ

-

ผู้มีความสุขในภพนั้น

สติบังเกิดขึ้นช้า

แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑

แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล

ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ

ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้น

ฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ

ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง

-

บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ

ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต

แสดงธรรมแก่เทพบริษัท

เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า

ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด

นี้คือธรรมวินัยนั้น

-

สติบังเกิดขึ้นช้า

แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง

เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง

เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า

เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ

ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด

-

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...

บทแห่งธรรมทั้งหลาย

ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต

ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท

แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน

เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด

นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง

สติบังเกิดขึ้นช้า

แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์

เขาเดินทางไกล

พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า

เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ว่า

เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ

ที่แท้ เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉันใด

-

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ

ย่อมเป็นผู้ บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ...

บทแห่งธรรมทั้งหลาย

ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท

แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท

แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า

ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า

เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน

เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์

สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน

บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง

สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า

สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ

เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้

เราระลึกได้ ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน

ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ

ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ประการนี้

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๗๘ ข้อที่ ๑๙๑

-

http://etipitaka.com/read/thai/21/186/…

-

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)

มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการ

ตามรู้ซึ่งความจริง”

ภารท๎วาชะ ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้

เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดี

หรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่

ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ :-

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ....

เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า

เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ต่อแต่นั้น

เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรม

ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ….ในธรรมทั้งหลายอันเป็น

ที่ตั้งแห่งโมหะ…. เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น

ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง

โทสะ....ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ

ลำดับนั้น เขา :-

(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมี

ศรัทธาเกิดแล้ว

(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว

(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว

(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง

(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว

(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม

(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย

อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่

(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ,

เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่

(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว

(๑๐) ย่อม มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว

(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม,

ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว

(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น; เขาผู้มีตน

ส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ

(ความจริงโดยจริงความหมายสูงสุด) ด้วยนามกาย ด้วย,

ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.

ภารท๎วาชะ !

การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;

แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

-------------------

การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง(สจฺจานุปตฺติ)

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

(สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึง

ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญ

ถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง”

ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ

การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ (ทั้ง ๑๒ ข้อ

ข้างต้น) เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

ภารท๎วาชะ !

การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

และเราบัญญัติการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.

ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗.

--

***สั่งสมสุตตะมาก เปรียบเหมือนการสั่งสมอาวุธไว้มาก***

ภิกษุทั้งหลาย !

เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา

มีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก

ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัว

และประหารไกลตัว

สำหรับคุ้มภัยในภายใน

และป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด.



ภิกษุทั้งหลาย !

อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก

ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ, ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในสุด

ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญ ชนะ,

ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก

ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.



การสั่งสมสุตตะมาก เปรียบเหมือนการสั่งสมอาวุธไว้มาก

ภิกษุทั้งหลาย !

อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล

ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ

บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน

นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.



- สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔

--

#อานิสงส์ของสุตตะ

อานนท์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน



และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ของเขาตามความเป็นจริง



บุคคลนั้น ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยความเห็น



ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ...



อานนท์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน



แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ของเขาตามความเป็นจริง



บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยความเห็น



ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม...



เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้

ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต



อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย

อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล



เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ...



-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๔๗/๗๕.



...................................................

คลิกอ่านพระสูตร

http://etipitaka.com/read?keywords=มิคสาลาสูตร&language=thai&number=122&volume=24 —

ทรงเป็นยามเฝ้าตลิ่งให้ปวงสัตว์



***ทรงเป็นยามเฝ้าตลิ่งให้ปวงสัตว์***

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนมีบุรุษผู้หนึ่ง

ว่ายล่องกระแสน้ำลงไป

เพราะเหตุจะได้สิ่งน่ารักน่าเพลินใจ.

-

มีบุรุษบัณฑิตผู้หนึ่ง ยืนอยู่บนฝั่ง

เห็นบุรุษผู้ว่ายน้ำนั้นแล้ว ร้องบอกไปว่า

-

“ท่านผู้เจริญ!ท่านย่อมว่ายล่องตามกระแสน้ำ

เพราะเหตุจะได้สิ่งน่ารักน่าเพลินใจโดยแท้.

-

แต่ว่า ทางเบื้องล่างนั้น

มีห้วงน้ำลึก มีคลื่น มีน้ำวน มียักษ์ มีรากษส

ซึ่งเมื่อท่านไปถึงที่นั่นแล้ว

จักต้องตาย

หรือได้รับทุกข์เจียนตาย”.

-

ภิกษุ ท. ! บุรุษผู้ว่ายล่องตามกระแสน้ำ นั้น

ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว

ก็พยายามว่ายทวนกระแสน้ำกลับมา

ด้วยกำลังมือและเท้าทั้งหมดของเขา.

-

คำว่า ‘กระแสน้ำ' เป็นชื่อแห่งตัณหา.

คำว่า ‘สิ่งน่า รักน่าเพลินใจ' เป็นชื่อแห่งอายตนะภายในหก.

คำว่า`ห้วงน้ำลึก' เป็นชื่อแห่งสัญโญชน์เบื้องต่ำห้าอย่าง.

คำว่า `คลื่น' เป็นชื่อแห่งความโกรธ และความคับแค้น.

คำว่า ‘น้ำวน' เป็นชื่อแห่งกามคุณห้า.

คำว่า ‘ยักษ์' และ’รากษส' เป็นชื่อแห่งเพศตรงข้าม.

คำว่า ‘ว่ายทวนกระแสกลับมา' เป็นชื่อแห่งเนกขัมมะ.

คำว่า ‘พยายามด้วยกำลังมือและเท้าทั้งหมด' เป็นชื่อแห่งการปรารภความเพียร.

คำว่า ‘บุรุษบัณฑิต ผู้ยืนอยู่บนฝั่ง' เป็นชื่อแห่งตถาคต

         ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้แล.

-

บาลี อิติวุ. ชุ. ๒๕/๓๑๖/๒๘๙. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.

https://www.youtube.com/watch?v=RmCn3p7iOvQ

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

BBW T1



#การรู้อริยสัจ๔ ...
#เร่งด่วนกว่า..#การดับไฟ..#ที่กำลังไหม้อยู่บนศรีษะ... 

#สัตติสตสูตร
#ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ๔

[๑๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว
จะควรกระทำอย่างไร?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว
ควรจะกระทำความพอใจ
ความพยายาม
ความอุตสาหะ
ความไม่ย่นย่อ
ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้
เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลพึงวางเฉย
ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้
แล้ว

#พึงกระทำความพอใจ
#ความพยายาม
#ความอุตสาหะ
#ความไม่ย่นย่อ
#ความไม่ท้อถอย
#สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า
#เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔
#ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง

อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ
ทุกขอริยสัจ ฯลฯ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ
เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๔๓๖/๔๖๙
ข้อที่ ๑๗๑๘-๑๗๑๙

http://etipitaka.com/compare?utf8=✓&lang1=thai&volume=19&p1=435&lang2=pali&commit=►#

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันพฤหัสบดี_หลังฉัน_2015-05-28



คำถามนี้ดีจริง...คนเราเป็นทายาทแห่งกรรม..ต้องชดใช้กรรม..แต่ที่ท่านเทศน์เมื่อกี้นี้..ถ้าเราเป็น..โสดาบันได้..หรือ.อรหันต์ได้นี้..เท่ากับเราหนี.นรก..ได้..หนี..กรรม..ได้..นะครับ?  พระอาจารย์ตอบได้กระจ่างมากอีกแล้ว

(..ช่ายยยย..เราทำได้..เราเลือกเกิดหรือไม่เกิดได้..) ประมาณนาทีที่ 1.00

https://www.youtube.com/watch?v=7wtPYSBFTOc

ก็เพราะว่า..กรรมก็คือตัวตนเรานะเอง..

กรรม = ธาตุ๔ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

กรรม = พื้นนา

ภพ = พื้นนา

ภพ กับ กรรม อันเดียวกัน

ภพ=สถานที่เกิดของจิต ก็คือ วิญญาณฐิิติ นั้นเอง

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

วิญญาณเป็นผู้ที่เข้าไปรู้..ธาตุ๔..หรือ..เข้าไปรู้..กรรม..หรือเข้าไปรู้ภพ..

หรือไปตั้งอาศัยตรงนั้น

ดังนั้น.‪#‎ตอนนี้เราเป็นไปตามกรรมเพราะเรายึดกรรมว่าเป็นเรา‬

ยึด รูป เวทนา สัญญา สังขาร ซึ่งคือกรรมนี้ ว่า เป็นเรา

เราจึงต้องเป็นไปตามนี้

--

แต่ถ้าเราปล่อยวางสิ่งที่เรายึด..ระบบของกรรม..

ก็ไม่ใช่..ตัวเรา..ของเรา..เราจะพ้นจาก..ระบบของกรรม

เราก็ไม่เป็นไปตามกรรม และเราจะไม่ถูกเรียกว่า สัตว์

เพราะ สัตว์ คือ ผู้ยึดติด

เราไม่ใช่ ผู้ยึดติด แล้ว

เราเป็นอิสระ ก็จะเป็นวิมุตติญาณทัศนะ..ผู้หลุดพ้นจากขันธ์ทั้ง ๕

--

‪#‎โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม‬

‪#‎หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม‬

.. โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม

หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม

สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด

เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำลังแล่นไปอยู่.

สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน

เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด

มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม

จักเป็นผู้รับผลกรรมนั้น.

-บาลี สุ. ขุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒. , -บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓.

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔

สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๘๗ ข้อที่ ๕๗๙ - ๕๘๐

--

http://etipitaka.com/read/thai/14/287/…

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันพฤหัสบดี_หลังฉัน_2015-05-28



อนุโมทนาสาธุกับท่าน อำนวย กลิ่นอยู่ ผู้ถวายทานอันเลิศ..ธรรมทาน..๕ เล่มจากพระโอษฐ์ ..อย่างต่อเนื่อง..***ผู้ให้กำลังย่อมได้กำลัง***..สาธุๆๆ คะ

***ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย*** ประมาณนาทีที่ 47.27
https://www.youtube.com/watch?v=7wtPYSBFTOc
การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก
การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา
ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา
ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา
ชักชวนผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา
นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย
-
พระโสดาบัน มีตนเสมอกับพระโสดาบัน
พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี
พระอนาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี
พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์
นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย
--
นี้เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์
--
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล
ย่อมก้าวล่วงภัย ๕
ประการ ภัย ๕ ประการเป็นไฉน คือ
อาชีวิตภัย ๑
อสิโลกภัย ๑
ปริสสารัชภัย ๑
มรณภัย๑
ทุคติภัย ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นแลพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เราไม่กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
ไฉนเราจักกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิตเล่า
เรามีกำลัง ๔ ประการ คือ
กำลังปัญญา
กำลังความเพียร
กำลังการงานอันไม่มีโทษ
กำลังการสงเคราะห์
--
คนที่มีปัญญาทรามแลจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
คนเกียจคร้านจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
คือ กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
เพราะการงานทางกาย ทางวาจาและทางใจที่มีโทษ
-
คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร
ก็กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
เราไม่กลัวต่อภัย คือ การติเตียน ฯลฯ
เราไม่กลัวต่อภัยคือการสะทกสะท้านในบริษัท ...
เราไม่กลัวต่อภัยคือความตาย ...
เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ
ไฉนเราจักกลัวต่อภัย
คือ ทุคติเล่า
-
เพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ
คือ กำลังปัญญา
กำลังความเพียร
กำลังการงานอันไม่มีโทษ
กำลังการสงเคราะห์
-
คนที่มีปัญญาทรามแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ
คนเกียจคร้านแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ
คือ กลัวต่อภัยคือทุคติ
เพราะการงานทางกาย ทางวาจา และทางใจที่มีโทษ
คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร
ก็กลัวภัยคือทุคติ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล
ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๒๙๓ ข้อที่ ๒๐๙
-
http://etipitaka.com/read/thai/23/293/… 

ความทุกข์ในนรก



#‎เทวทูตทั้ง‬ ๕

..เกิด..แก่..เจ็บ..ถูกลงกรรมกรณ์..ตาย..ปรากฏให้เห็นบนโลก

‪#‎ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ‬ เห็น เทวทูตทั้ง ๔

..เกิด..แก่..เจ็บ..ตาย..ปรากฎบนโลก

ถึงกับ..ออกบวช..แสวงหาความไม่ตาย...

https://www.youtube.com/watch?v=D87E9b511oE

--

#เทวทูตทั้ง ๕

‪#‎กับความทุกข์ในนรก‬

ภิกษุทั้งหลาย !

เปรียบเหมือนเรือน ๒ หลัง

มีประตูตรงกัน

บุรุษผู้มีตาดี

ยืนอยู่ระหว่างกลางเรือน ๒ หลังนั้น

พึงเห็นมนุษย์

กําลังเข้าเรือนบ้าง

กําลังออกจากเรือนบ้าง

กําลังเดินมาบ้าง

กําลังเดินไปบ้าง ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย !

ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เราย่อมมองเห็นหมู่สัตว์

กําลังจุติ กําลังอุบัติ

เลว ประณีต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม

ได้ดี ตกยาก

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์

ล่วงจักษุของมนุษย์



ย่อมทราบชัด

ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ว่า

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ประกอบด้วย

กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ

เชื่อมั่นกรรมด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ

เมื่อตายไปแล้ว

เข้าถึงสุคติโลกสวรรคก็มี



สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ประกอบด้วย

กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ

เชื่อมั่นกรรมด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ

เมื่อตายไปแล้ว

บังเกิดในหมู่มนุษย์ก็มี



สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ประกอบด้วย

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ

เชื่อมั่นกรรมด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ

เมื่อตายไปแล้ว

เข้าถึงเปรตวิสัยก็มี



สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ประกอบด้วย

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ

เชื่อมั่นกรรมด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ

เมื่อตายไปแล้ว

เข้าถึงกําเนิดเดรัจฉานก็มี



สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ประกอบด้วย

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ

เชื่อมั่นกรรมด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ

เมื่อตายไปแล้ว

เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี



ภิกษุทั้งหลาย !

เหล่านายนิรยบาล

จะจับสัตว์นั้นที่ส่วนต่าง ๆ ของแขน

ไปแสดงแก่พระยายมว่า

ข้าแต่พระองค์ !

บุรุษนี้ไม่ปฏิบัติชอบในมารดา

ไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ

ไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์

ไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล

ขอพระองค์จงลงอาชญาแก่บุรุษนี้เถิด

ภิกษุทั้งหลาย !

พระยายมจะปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๑ กะสัตว์นั้นว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๑

ปรากฏในหมู่มนุษย์หรือ ?

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า !

พระยายมถามอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้เห็นเด็กแดง ๆ ยังอ่อน

นอนหงายเปื้อนมูตรคูถของตน

อยู่ในหมู่มนุษย์หรือ ?

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

เห็น เจ้าข้า !

พระยายมถามอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านนั้นเมื่อรู้ความ มีสติ เป็นผู้ใหญ่

แล้วได้มีความคิดดังนี้บ้างไหมว่า

แม้ตัวเราแล

ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา

ไม่ล่วงพ้นความเกิดไปได้

ควรที่เราจะทําความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจ

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า !

มัวประมาทเสีย เจ้าข้า !

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้ทําความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้

เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น

เหล่านายนิรยบาลจักลงโทษ

โดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว

ก็บาปกรรมนี้นั่นแล

ไม่ใช่มารดาทำให้ท่าน

ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน

ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน

ไม่ใช่พี่น้องหญิงทำให้ท่าน

ไม่ใช่มิตรอมาตย์ทำให้ท่าน

ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้ท่าน

ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน

ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน

ตัวท่านเองทำเข้าไว้

ท่านเท่านั้น

จักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้



ภิกษุทั้งหลาย !

พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๑ กะสัตว์นั้นแล้ว

จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๒ ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๒

ปรากฏในหมู่มนุษย์หรือ ?

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า !

พระยายมถามอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้เห็นหญิงหรือชาย

มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี ๑๐๐ ปี

นับแต่เกิดมาเป็นผู้ชรา

ซี่โครงคด หลังงอ ถือไม้เท้างกเงิ่น

เดินไปกระสับกระส่าย

ล่วงวัยหนุ่มสาว ฟันหัก ผมหงอก

หนังเหี่ยวย่น ศีรษะล้าน ผิวตกกระ

ในหมู่มนุษย์หรือ ?

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

เห็น เจ้าข้า !

พระยายมถามอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านนั้นเมื่อรู้ความ มีสติ เป็นผู้ใหญ่

แล้วได้มีความคิดดังนี้บ้างไหมว่า

แม้ตัวเราแล

ก็มีความแก่เป็นธรรมดา

ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้

ควรที่เราจะทําความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจ

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า !

มัวประมาทเสีย เจ้าข้า !

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้ทําความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้

เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น

เหล่านายนิรยบาลจักลงโทษ

โดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว

ก็บาปกรรมนี้นั่นแล

ไม่ใช่มารดาทำให้ท่าน

ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน

ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน

ไม่ใช่พี่น้องหญิงทำให้ท่าน

ไม่ใช่มิตรอมาตย์ทำให้ท่าน

ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้ท่าน

ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน

ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน

ตัวท่านเองทำเข้าไว้

ท่านเท่านั้น

จักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้



ภิกษุทั้งหลาย !

พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๒ กะสัตว์นั้นแล้ว

จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๓ ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๓

ปรากฏในหมู่มนุษย์หรือ ?

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า !

พระยายมถามอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ป่วยทนทุกข์

เป็นไข้หนัก นอนเปื้อนมูตรคูถของตน

มีคนอื่นคอยพยุงลุก พยุงเดิน

ในหมู่มนุษย์หรือ ?

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

เห็น เจ้าข้า !

พระยายมถามอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านนั้นเมื่อรู้ความ มีสติ เป็นผู้ใหญ่

แล้วได้มีความคิดดังนี้บ้างไหมว่า

แม้ตัวเราแล

ก็มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา

ไม่ล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้

ควรที่เราจะทําความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจ

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า !

มัวประมาทเสีย เจ้าข้า !

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้ทําความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้

เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น

เหล่านายนิรยบาลจักลงโทษ

โดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว

ก็บาปกรรมนี้นั่นแล

ไม่ใช่มารดาทำให้ท่าน

ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน

ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน

ไม่ใช่พี่น้องหญิงทำให้ท่าน

ไม่ใช่มิตรอมาตย์ทำให้ท่าน

ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้ท่าน

ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน

ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน

ตัวท่านเองทำเข้าไว้

ท่านเท่านั้น

จักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้



ภิกษุทั้งหลาย !

พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๓ กะสัตว์นั้นแล้ว

จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๔ ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๔

ปรากฏในหมู่มนุษย์หรือ ?

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า !

พระยายมถามอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้เห็นพระราชาทั้งหลาย

ในหมู่มนุษย์ จับโจรผู้ประพฤติผิดมา

แล้วสั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิดบ้างหรือ

คือ

โบยด้วยแส้บ้าง

โบยด้วยหวายบ้าง

ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง

ตัดมือบ้าง

ตัดเท้าบ้าง

ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง

ตัดหูบ้าง

ตัดจมูกบ้าง

ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

หม้อเคี่ยวน้ำส้ม บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

ขอดสังข์ บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

ปากราหู บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

มาลัยไฟ บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

คบมือ บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

ริ้วส่าย บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

นุ่งเปลือกไม้ บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

ยืนกวาง บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

เกี่ยวเหยื่อเบ็ด บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

เหรียญกษาปณ์ บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

แปรงแสบ บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

กางเวียน บ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธี

ตั่งฟาง บ้าง

ราดด้วยน้ำมันเดือด ๆ บ้าง

ให้สุนัขทึ้ง บ้าง

ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ บ้าง

ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

เห็น เจ้าข้า !

พระยายมถามอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านนั้นเมื่อรู้ความ มีสติ เป็นผู้ใหญ่

แล้วได้มีความคิดดังนี้บ้างไหมว่า

สัตว์ที่ทำกรรมอันเป็นบาปไว้นั้น

ย่อมถูกลงกรรมกรณ์ต่างชนิด

เห็นปานนี้ในปัจจุบัน

จะป่วยกล่าวไปไยถึงชาติหน้า

ควรที่เราจะทำความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจ

สัตวนั้นทูลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า !

มัวประมาทเสีย เจ้าข้า !

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้ทําความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้

เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น

เหล่านายนิรยบาลจักลงโทษ

โดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว

ก็บาปกรรมนี้นั่นแล

ไม่ใช่มารดาทำให้ท่าน

ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน

ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน

ไม่ใช่พี่น้องหญิงทำให้ท่าน

ไม่ใช่มิตรอมาตย์ทำให้ท่าน

ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้ท่าน

ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน

ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน

ตัวท่านเองทำเข้าไว้

ท่านเท่านั้น

จักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้



ภิกษุทั้งหลาย !

พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๔ กะสัตว์นั้นแล้ว

จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๕ ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๕

ปรากฏในหมู่มนุษย์หรือ ?

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า !

พระยายมถามอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้เห็นหญิงหรือชายที่ตายแล้ว

วันหนึ่งหรือสองวัน หรือสามวัน

ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม

ในหมู่มนุษย์หรือ ?

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

เห็น เจ้าข้า !

พระยายมถามอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านนั้นเมื่อรู้ความ มีสติ เป็นผู้ใหญ่

แล้วได้มีความคิดดังนี้บ้างไหมว่า

แม้ตัวเราแล

ก็มีความตายเป็นธรรมดา

ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้

ควรที่เราจะทําความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจ

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า !

มัวประมาทเสีย เจ้าข้า !

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

ท่านไม่ได้ทําความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้

เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น

เหล่านายนิรยบาลจักลงโทษ

โดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว

ก็บาปกรรมนี้นั่นแล

ไม่ใช่มารดาทำให้ท่าน

ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน

ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน

ไม่ใช่พี่น้องหญิงทำให้ท่าน

ไม่ใช่มิตรอมาตย์ทำให้ท่าน

ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้ท่าน

ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน

ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน

ตัวท่านเองทำเข้าไว้

ท่านเท่านั้น

จักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้



ภิกษุทั้งหลาย !

พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๕ กะสัตวนั้นแล้ว

ก็ทรงนิ่งอยู่

ภิกษุทั้งหลาย !

เหล่านายนิรยบาลจะให้สัตว์นั้น

กระทําเหตุชื่อการจํา ๕ ประการ คือ

ตรึงตะปูเหล็กแดง

ที่มือข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒

ที่เท้าข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒

และที่ทรวงอกตรงกลาง

สัตวนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้นและยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

เหล่านิรยบาลจะจับสัตว์นั้น

ขึงพืดแล้วเอาผึ่งถาก

สัตวนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้นและยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

เหล่านิรยบาลจะจับสัตว์นั้น

เอาเท้าขึ้นข้างบน

เอาหัวลงข้างล่างแล้วถากด้วยพร้า

สัตวนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้นและยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

เหล่านิรยบาลจะเอาสัตว์นั้น

เทียมรถแล้วให้วิ่งกลับไปกลับมา

บนแผ่นดินที่มีไฟติดทั่ว

ลุกโพลง โชติช่วง

สัตวนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้นและยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

เหล่านิรยบาลจะให้สัตว์นั้น

ปีนขึ้นปีนลงซึ่งภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่

ที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง

สัตวนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้นและยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

เหล่านิรยบาลจะจับสัตว์นั้น

เอาเท้าขึ้นข้างบน

เอาหัวลงข้างล่าง

แล้วพุ่งลงไปในหม้อทองแดง

ที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง

สัตว์นั้นจะเดือดพล่านเป็นฟอง

อยู่ในหม้อทองแดงนั้น

เขาเมื่อเดือดเป็นฟองอยู่

จะพล่านขึ้นข้างบน ครั้งหนึ่งบ้าง

พล่านลงข้างล่าง ครั้งหนึ่งบ้าง

พล่านไปด้านขวาง ครั้งหนึ่งบ้าง

สัตวนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ในหม้อทองแดงนั้น

และยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

เหล่านิรยบาล

จะโยนสัตวนั้นเข้าไปในมหานรก

ก็มหานรกนั้นแล

มีสี่มุม สี่ประตู แบ่งไว้โดยส่วนเท่ากัน

มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ

ครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก

พื้นของมหานรก

ล้วนเต็มไปด้วยเหล็กลุกโพลง

แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์รอบด้าน

ตั้งอยู่ทุกเมื่อ

ภิกษุทั้งหลาย !

และมหานรกนั้นมีเปลวไฟ

พลุ่งจากฝาด้านหน้าจดฝาด้านหลัง

พลุ่งจากฝาด้านหลังจดฝาด้านหน้า

พลุ่งจากฝาด้านเหนือจดฝาด้านใต้

พลุ่งจากฝาด้านใต้จดฝาด้านเหนือ

พลุ่งขึ้นจากข้างล่างจดข้างบน

พลุ่งจากข้างบนจดข้างล่าง

สัตวนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ในมหานรกนั้น

และยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

ย่อมมีสมัยที่ในบางครั้งบางคราว

โดยล่วงระยะกาลนาน

ประตูด้านหน้าของมหานรกเปิด

ประตูด้านหลังของมหานรกเปิด

ประตูด้านเหนือเปิด ประตูด้านใต้เปิด

สัตว์นั้นจะรีบวิ่งไปยังประตูนั้นโดยเร็ว

และย่อมถูกไฟไหม้ผิว

ไหม้หนัง ไหมเนื้อ ไหม้เอ็น

แม้กระดูกทั้งหลายก็เป็นควันตลบ

แต่อวัยวะที่สัตว์นั้นยกขึ้นแล้ว

จะกลับคืนรูปเดิมทันที

และในขณะที่สัตว์นั้น

ใกล้จะถึงประตู ประตูนั้นจะปิด

สัตว์นั่นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ในมหานรกนั้น

และยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

ย่อมมีสมัยที่ในบางครั้งบางคราว

โดยล่วงระยะกาลนาน

ประตูด้านหน้าของมหานรกเปิด

สัตว์นั้นจะรีบวิ่งไปยังประตูนั้นโดยเร็ว

และย่อมถูกไฟไหม้ผิว

ไหม้หนัง ไหมเนื้อ ไหม้เอ็น

แม้กระดูกทั้งหลายก็เป็นควันตลบ

แต่อวัยวะที่สัตว์นั้นยกขึ้นแล้ว

จะกลับคืนรูปเดิมทันที

สัตว์นั้นจะออกทางประตูนั้นได้

แต่ว่ามหานรก นั้นแล

มีนรกเต็มด้วยคูถใหญ่

ประกอบอยู่รอบด้าน

สัตว์นั้นจะตกลงในนรกคูถนั้น

และในนรกคูถ นั้นแล

มีหมู่สัตว์ปากดังเข็ม

คอยเฉือดเฉือนผิว

แล้วเฉือดเฉือนหนัง

แล้วเฉือดเฉือนเนื้อ

แล้วเฉือดเฉือนเอ็น

แล้วเฉือดเฉือนกระดูก

แล้วกินเยื่อในกระดูก

สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ในนรกคูถนั้นและยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

และนรกคูถนั้น

มีนรกเต็มด้วย เถ้ารึงใหญ่

ประกอบอยู่รอบด้าน

สัตว์นั้น

จะตกลงไปในนรกเถ้ารึงนั้น

สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ในนรกเถ้ารึงนั้น

และยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

และนรกเถ้ารึงนั้น

มีป่างิ้วใหญ่ประกอบอยู่รอบด้าน

ต้นสูงชลูดขึ้นไปโยชน์หนึ่ง

มีหนามยาว ๑๖ องคุลี

มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง

เหล่านายนิรยบาล

จะบังคับให้สัตว์นั้น

ขึ้น ๆ ลง ๆ ที่ต้นงิ้วนั้น

สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ที่ต้นงิ้วนั้นและยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

และป่างิ้วนั้น

มีป่าต้นไม้ใบเป็นดาบใหญ่

ประกอบอยู่รอบด้าน

สัตว์นั้นจะเข้าไปในป่านั้น

จะถูกใบไม้ที่ลมพัด

ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง

ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง

ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง

ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง

สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ที่ป่าต้นไม้มีใบเป็นดาบนั้น

และยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

และป่าต้นไม้มีใบเป็นดาบนั้น

มีแม่น้ำใหญ่ น้ำเป็นด่าง

ประกอบอยู่รอบด้าน

สัตว์นั้น

จะตกลงไปในแม่น้ำนั้น

จะลอยอยู่ในแม่นั้น

ตามกระแสบ้าง ทวนกระแสบ้าง

ทั้งตามและทวนกระแสบ้าง

สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ในแม่น้ำนั้น

และยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

เหล่านายนิรยบาล

พากันเอาเบ็ดเกี่ยวสัตว์นั้น

ขึ้นวางบนบก แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

เจ้าต้องการอะไร

สัตว์นั้นบอกอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าหิว เจ้าข้า !

เหล่านายนิรยบาล

จึงเอาขอเหล็กร้อนมีไฟติดทั่ว

ลุกโพลง โชติช่วง เปิดปากออก

แล้วใส่ก้อนโลหะร้อนมีไฟติดทั่ว

ลุกโพลง โชติช่วง เข้าในปาก

ก้อนโลหะนั้น

จะไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้ปากบ้าง

ไหม้คอบ้าง ไหม้ท้องบ้าง ของสัตว์นั้น

และพาเอาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยมาก

ออกมาทางส่วนเบื้องล่าง

สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ ณ ที่นั้นและยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด



ภิกษุทั้งหลาย !

เหล่านายนิรยบาล

กล่าวกะสัตว์นั้นอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ !

เจ้าต้องการอะไร

สัตว์นั้นบอกอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าหิว เจ้าข้า !

เหล่านายนิรยบาล

จึงเอาขอเหล็กร้อนมีไฟติดทั่ว

ลุกโพลง โชติช่วง เปิดปากออก

แล้วเอานํ้าทองแดงร้อนมีไฟติดทั่ว

ลุกโพลง โชติช่วง กรอกเข้าไปในปาก

น้ำทองแดงนั้น

จะไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้คอบ้าง

ไหม้ท้องบ้าง ของสัตว์นั้น

และพาเอาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง

ออกมาทางส่วนเบื้องล่าง

สัตวนั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า

เจ็บแสบอยู่ ณ ที่นั้นและยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด

ภิกษุทั้งหลาย !

เหล่านายนิรยบาล

จะโยนสัตวนั้นเข้าไปในมหานรกอีก



ภิกษุทั้งหลาย !

เรื่องเคยมีมาแล้ว

พระยายมได้มีความดําริอย่างนี้ว่า

พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย !

เป็นอันว่าเหล่าสัตว์

ทำกรรมอันเป็นบาปไว้ในโลก

ย่อมถูกนายนิรยบาล

ลงกรรมกรณ์ต่างชนิด

เห็นปานนี้

โอหนอ !

ขอเราพึงได้ความเป็นมนุษย์

ขอตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ

พึงเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ขอเราพึงได้นั่งใกล้

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

ขอพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

พึงทรงแสดงธรรมแก่เรา

และขอเราพึงรู้ทั่วถึงธรรม

ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเถิด



ภิกษุทั้งหลาย !

ก็เรื่องนั้น

เรามิได้ฟังต่อสมณะ

หรือพราหมณอื่น ๆ แล้วจึงบอก

เราบอกเรื่องที่รู้เอง เห็นเอง

ปรากฏเองทั้งนั้น



นรชนเหล่าใดยังเป็นมาณพ

อันเทวทูตตักเตือนแล้วประมาทอยู่

นรชนเหล่านั้น

จะเข้าถึงหมู่สัตว์อันเลว

ถึงความเศร้าโศกสิ้นกาลนาน



ส่วนนรชนเหล่าใด

เป็นสัตบุรุษผู้สงบระงับในโลกนี้

อันเทวทูตตักเตือนแล้วย่อมไม่ประมาท

ในธรรมของพระอริยะ ในกาลไหน ๆ

เห็นภัยในความถือมั่น

อันเป็นเหตุแห่งชาติและมรณะ

แล้วไม่ถือมั่น

หลุดพ้นในธรรม

เป็นที่สิ้นชาติและมรณะได้

นรชนเหล่านั้น

เป็นผู้ถึงความเกษม

มีสุข ดับสนิท ในปัจจุบัน

ล่วงเวรและภัยทั้งปวง

และเขาไปล่วงทุกข์ทั้งปวงได้

ภพภูมิ – ความทุกข์ในนรก

( หน้า ๗๓ – ๘๘ )


วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์_หลังฉัน 1_2015-05-17



เด็ก ออทิสติก เจริญอานาปานสติ เสพคำตถาคต ๓ ปี หาย

ประมาณนาทีที่ 1.07 https://www.youtube.com/watch?v=xMc1-iwfJww

#ระงับอาพาธโดยควรแก่ฐานะ

อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์

แล้วกล่าวสัญญา 10 ประการแก่เธอแล้ว

ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์

ฟังสัญญา 10 ประการแล้วอาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอ

ก็จะระงับไปโดยควรแก่ฐานะ สัญญา 10 ประการ นั้นคือ

อนิจจสัญญา

อนัตตสัญญา

อสุภสัญญา

อาทีนวสัญญา

ปหานสัญญา

วิราคสัญญา

นิโรธสัญญา

สัพพโลเกอนภิรตสัญญา

สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา

อานาปานสติ

----

อาพาธสูตร

     [๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ

ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักครั้งนั้นแล

ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

ถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ

ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก

ขอประทานพระวโรกาส

ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์

เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด

พระเจ้าข้า ฯ

-

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์

ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา๑๐ ประการ

แก่คิริมานันทภิกษุไซร้

ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน

เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น

เป็นฐานะที่จะมีได้

-

สัญญา ๑๐ประการเป็นไฉน คือ

อนิจจสัญญา ๑

อนัตตสัญญา ๑

อสุภสัญญา ๑

อาทีนวสัญญา ๑

ปหานสัญญา ๑

วิราคสัญญา ๑

นิโรธสัญญา ๑

สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑

สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑

อนาปานัสสติ ๑ ฯ

-

     ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

รูปไม่เที่ยง

เวทนาไม่เที่ยง

สัญญาไม่เที่ยง

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง

วิญญาณไม่เที่ยง

ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง

ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้

ด้วยประการอย่างนี้

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ

-

     ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

จักษุเป็นอนัตตา

รูปเป็นอนัตตา

หูเป็นอนัตตา

เสียงเป็นอนัตตา

จมูกเป็นอนัตตา

กลิ่นเป็นอนัตตา

ลิ้นเป็นอนัตตา

รสเป็นอนัตตา

กายเป็นอนัตตา

โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา

ใจเป็นอนัตตา

ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา

ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา

ในอายตนะทั้งหลาย

ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้

ด้วยประการอย่างนี้

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ

-

     ดูกรอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแล

เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป

เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา

มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ

เต็มด้วยของไม่สะอาด

มีประการต่างๆ ว่า

ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น

กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจตับ

พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่

อาหารเก่า ดี เสลดหนอง เลือด เหงื่อ

มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร

ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้

ด้วยประการดังนี้

ดูกรอานนท์นี้เรียกว่า อสุภสัญญา ฯ

-

     ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก

เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้

คือโรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย

โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปากโรคฟัน โรคไอ

โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม

โรคในท้องโรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด

โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก

โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย

โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวม

โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน

โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดี

เป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน

อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต

อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน

อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ

อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง

อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม

ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย

ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ

ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้

ด้วยประการดังนี้

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ

-

     ดูกรอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไม่ยินดี

ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป

ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว

ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป

ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว

ย่อมไม่ยินดีย่อมละ ย่อมบรรเทา

ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมให้ถึงความไม่มี

ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว

ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา

ย่อมทำให้หมดสิ้นไป

ย่อมให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า

อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าปหานสัญญา ฯ

-

    ดูกรอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ

ธรรมชาตินั่นประณีต คือ

ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง

ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง

ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา

ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลสธรรมชาติ

เป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์

ดูกรอานนท์ นี้ เรียกว่าวิราคสัญญา ฯ

 -

   ดูกรอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ

ธรรมชาตินั่นประณีต คือ

ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง

ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง

ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา

ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ

ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่านิโรธสัญญา ฯ

-

     ดูกรอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอุบาย

และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น

และเป็นอนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ฯ

-

    ดูกรอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง

ดูกรอานนท์นี้เรียกว่าสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ฯ

-

    ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี

นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า

เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว

หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว

เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น

หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง(ลมหายใจ) หายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา)หายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก  

ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า  จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้าย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ ฯ

-

    ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว

กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่คิริมานนทภิกษุไซร้

ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุ

จะพึงสงบระงับโดยพลัน

เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้

เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

-

     ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์

ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้

ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว

ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่

ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์

ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน

เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้

ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น

ก็แลอาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์

ละได้แล้วด้วยประการนั้นแล ฯ

                         จบสูตรที่ ๑๐

                   

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๔

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๙๙ ข้อที่ ๖๐

--

http://etipitaka.com/read/thai/24/99/?keywords=%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

--

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์_หลังฉัน_2015-05-24



Get เลย..ทำไม..กรรมที่ไม่เจตนาไม่มี..เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม..
ประมาณนาทีที่ <<34.00>> https://www.youtube.com/watch?v=xRXoFQfh6cI
สิ่งๆ นั้น มี...เหมือน..ไม่มี.
(ธรรมธาตุนั้นย่อมตั้งอยู่แล้วนั้นเทียว คือ ความตั้งอยู่แห่งธรรมดา)
ความมี..ไม่มี วัดกันที่ว่า...วิญญาณไปตั้งอาศัยมั๊ย
การที่วิญญาณไปตั้งอาศัย..ก็คือ..กิริยาที่รู้แจ้ง..ไปรับรู้หรือไปตั้งอยู่นั้นเอง
--
วิญญาณ และนาม-รูปต่างอาศัยกันละกันเกิดขึ้น
ถ้าไม่มีนาม-รูป วิญญาณก็ดับ
-
ถ้าไม่มีวิญญาณ นาม-รูปก็ดับ
-
ดังอุปมาของพระสารีบุตร เหมือนไม้ 2 กำพิงกัน
อาศัยกันจึงตั้งอยู่ได้
หากดึงกำที่เป็นวิญญาณออก กำที่เป็น นาม-รูป ก็ล้ม
-
หากดึงกำที่เป็น นาม-รูป ออก กำที่เป็นวิญญาณก็ล้ม
-
อุปมาของพระศาสดา..
-
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนยอด หรือศาลาเรือนยอด ที่ตั้งอยู่
ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก.
ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์
ส่งเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้ว
จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั่นเล่า ?
-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์
จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในด้านทิศตะวันตก พระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ท. ! ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า
แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏอยู่ที่ไหน ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
จักปรากฏที่พื้นดิน พระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ท. ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
จักปรากฏที่ไหน ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
จักปรากฏในน้ำ พระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ท. ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
จักปรากฏที่ไหนอีก?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น
ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว
พระเจ้าข้า !”
--
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
หน้าที่ ๑๐๑ ข้อที่ ๒๔๘ - ๒๔๙
---
http://etipitaka.com/read/thai/16/101/…

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์_หลังฉัน_2015-05-24



พระอาจารย์โยงสองพระสูตร(คลิปนี้มี.ทิพรส..ดูความเร็วของจิต มโน วิญญาณ .. พระอาจารย์แจกแจงได้แจ่มแจ้งนัก)

-สัตว์คบค้ากันโดยธาตุ

-ถ้อยคำดี ถ้อยคำชั่ว

((กลุ่มของคน กลุ่มของธาตุ ที่จะคบค้า สมาคมกัน))

ประมาณนาทีที่ <<16.00>>  https://www.youtube.com/watch…

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว

-

คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

-

สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

-

สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

-

สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย

-

สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน

-

สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม

-

สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

-

แม้ในอดีตกาล ...

แม้ในอนาคตกาล ...

แม้ในปัจจุบันกาล

สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือ

-

สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

-

สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

-

สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

-

สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย

-

สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน

-

สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม

-

สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ฯ

-

[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ

-

สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัธทา

-

สัตว์จำพวกที่มีหิริ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ

-

สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ

ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ

-

สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก

-

สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร

-

สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง

-

สัตว์จำพวกที่มีปัญญา

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา

-

แม้ในอดีตกาล ...

แม้ในอนาคตกาล ...

แม้ในปัจจุบันกาล

สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว

-

จบ สูตรที่ ๗

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๑๕๕ ข้อที่ ๓๗๓

--

http://etipitaka.com/read/thai/16/151/…

--

(((ถ้อยคำชั่ว)))

๗. ทุกถาสูตร

● [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว

เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ

๑.• ถ้อยคำปรารภศรัทธาเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ๑

๒.• ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล ๑

๓• ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย ๑

๔.• ถ้อยคำปรารภจาคะเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่ ๑

๕.• ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ๑ ฯ

๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร

ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา

เพราะผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา

ย่อมขัดข้อง โกรธพยาบาท กระด้าง

แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

-

เพราะผู้ไม่มีศรัทธานั้น ย่อมไม่เห็นศรัทธาสัมปทาในตน

และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ

ฉะนั้น

-

ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา

-

๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร

ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล

เพราะผู้ทุศีล เมื่อพูดเรื่องศีลย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท

กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

-

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะผู้ทุศีลนั้นย่อมไม่เห็นศีลสัมปทาในตน

และย่อมไม่ได้ปีติและปราโมทย์ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ

ฉะนั้น

-

ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล

-

๓. เพราะเหตุไร

ถ้อยคำปรารภ พาหุสัจจะ (บาลี : พาหุสจฺจกถา )

จึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อยเพราะผู้ได้สดับน้อย

เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ

ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาทกระด้าง

แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

-

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะผู้ได้สดับน้อยนั้น

ย่อมไม่เห็นสุตสัมปทาในตน

และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทาเป็นเหตุ

ฉะนั้น

-

ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย

-

๔. เพราะเหตุไร

ถ้อยคำปรารภจาคะจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่

เพราะผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ

ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง

แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

-

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะผู้ตระหนี่นั้นย่อมไม่เห็นจาคสัมปทาในตน

และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุฉะนั้น

-

ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำชั่วของผู้ตระหนี่

-

๕. เพราะเหตุไร

ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา

เพราะผู้ทรามปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา

ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง

แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

ข้อนั้น เพราะเหตุไร

-

เพราะผู้ทรามปัญญานั้นย่อมไม่เห็นปัญญาสัมปทาในตน

และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ

-

ฉะนั้นถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล

ย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว

เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล ฯ

(((ถ้อยคำดี)))

●● ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็นถ้อยคำดี

เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ

๑• ถ้อยคำปรารภศรัทธาเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา ๑

๒• ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล ๑

๓• ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก ๑

๔• ถ้อยคำปรารภจาคะเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ ๑

๕• ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา ๑ ฯ

๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร

ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา

เพราะผู้มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา

ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง

ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะผู้มีศรัทธานั้นย่อมเห็นศรัทธาสัมปทาในตน

และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ

ฉะนั้น

-

ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา

-

๒. เพราะเหตุไร

ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล

เพราะผู้มีศีลเมื่อพูดเรื่องศีล

ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง

ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะผู้มีศีลนั้นย่อมเห็นศีลสัมปทาในตน

และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ

ฉะนั้น

-

ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล

-

๓. เพราะเหตุไร

ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก

เพราะผู้ได้สดับมาก เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ

ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง

ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะผู้ได้สดับมากย่อมเห็นสุตสัมปทาในตน

และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ

ฉะนั้น

-

ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก

-

๔. เพราะเหตุไร

ถ้อยคำปรารภจาคะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ

เพราะผู้มีจาคะ เมื่อพูดเรื่องจาคะ

ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง

ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะผู้มีจาคะ นั้นย่อมเห็นจาคะสัมปทาในตน

และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ

ฉะนั้น

-

ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ

-

๕. เพราะเหตุไร

ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา

เพราะผู้มีปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา

ย่อมไม่ขัดข้องไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง

ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีปัญญานั้น

ย่อมเห็นปัญญาสัมปทาในตน

และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ

ฉะนั้น

-

ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล

ย่อมเป็นถ้อยคำดี เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล ฯ

จบสูตรที่ ๗

-

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๑๖๓/๔๐๗ ข้อที่ ๑๕๗

-

http://etipitaka.com/read/thai/22/163/…

-

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์_หลังฉัน 2_2015-05-23



((กลุ่มของคน  กลุ่มของธาตุ ที่จะคบค้า สมาคมกัน))

ประมาณนาทีที่ <<10.48>> https://www.youtube.com/watch?v=kL5Hz8LeJ1U



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว

-

คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

-

สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

-

สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

-

สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย

-

สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน

-

สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม

-

สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

-

แม้ในอดีตกาล ...

แม้ในอนาคตกาล ...

แม้ในปัจจุบันกาล

สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือ

-

สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

-

สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

-

สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

-

สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย

-

สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน

-

สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม

-

สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ฯ

-

[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ

-

สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัธทา

-

สัตว์จำพวกที่มีหิริ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ

-

สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ

ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ

-

สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก

-

สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร

-

สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง

-

สัตว์จำพวกที่มีปัญญา

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา

-

แม้ในอดีตกาล ...

แม้ในอนาคตกาล ...

แม้ในปัจจุบันกาล

สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว

-

จบ สูตรที่ ๗

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว

-

คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ

-

สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

-

สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

-

สัตว์จำพวกที่มีหิริ

ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ

-

สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ

-

สัตว์จำพวกที่มีปัญญา

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๑๕๕ ข้อที่ ๓๗๓

--

http://etipitaka.com/read/thai/16/151/…

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์_2015-05-23



(((พระสาคตเถระแสดงอิทธิปาฏิหาริย์)))

***************************************

ประมาณนาทีที่ 31.14 https://www.youtube.com/watch?v=UP3aUAMMsN8

    ก็สมัยนั้น ท่านพระสาคตะ

เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค

จึงพวกเขาพากันเข้าไปหาท่านพระสาคตะ

แล้วได้กราบเรียนว่า ท่านขอรับ

ประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนี้

เข้ามาในที่นี้ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค

ขอประทานโอกาสขอรับ

ขอพวกข้าพเจ้าพึงได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค

--

ท่านพระสาคตะบอกว่า ถ้าเช่นนั้น

พวกท่านจงอยู่ ณ ที่นี้สักครู่หนึ่งก่อน

จนกว่าอาตมาจะกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ดังนี้

-

และเมื่อพวกเขากำลังเพ่งมองอยู่ข้างหน้า

ท่านพระสาคตะดำลงไปในแผ่นหิน

อัฒจันทร์ผุดขึ้นตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค

แล้วได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า

ประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนี้พากันเข้ามา ณ ที่นี้

เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้

พระพุทธเจ้าข้า

-

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรสาคตะ

ถ้ากระนั้นเธอจงปูลาดอาสนะ ณ ร่มเงาหลังวิหาร

ท่านพระสาคตะทูลสนองพระพุทธดำรัสว่า ทราบเกล้าฯ แล้ว

พระพุทธเจ้าข้า

-

แล้วถือตั่งดำลงไปตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค

เมื่อประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนั้นกำลังเพ่งมองอยู่ตรงหน้า

จึงผุดขึ้นลากแผ่นหินอัฒจันทร์แล้วปูลาดอาสนะ

ในร่มเงาหลังพระวิหาร.

-

 เสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้า

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากพระวิหาร

แล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ ที่จัดไว้

ณ ร่มเงาหลังพระวิหาร

จึงประชาชนชาวตำบลแปดหมื่นนั้น

เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้ว

ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

-

และพวกเขาพากันสนใจแต่ท่านพระสาคตะเท่านั้น

หาได้สนใจต่อพระผู้มีพระภาค ไม่

-

ทันทีนั้น พระผู้มีพระภาค

ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพวกเขา

ด้วยพระทัยแล้ว

-

จึงตรัสเรียกท่านพระสาคตะมารับสั่งว่า ดูกรสาคต

ถ้ากระนั้น เธอจงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์

ให้ยิ่งขึ้นไปอีก

-

    ท่านพระสาคตะทูลรับสนองพระพุทธาณัติว่า อย่างนั้น

พระพุทธเจ้าข้า แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส

เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง  สำเร็จการนอนบ้าง

บังหวนควันบ้าง โพลงไฟบ้าง หายตัวบ้าง ในอากาศกลางหาว

-

ครั้นแสดงอิทธิปฏิหาริย์อันเป็นธรรมยวดยิ่งของมนุษย์

-

หลายอย่างในอากาศกลางหาว แล้ว

ลงมาซบศีรษะลงที่พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค

แล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า

ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวกพระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า

ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก ดังนี้

-

จึงประชาชนตำบลแปดหมื่นนั้นพูดสรรเสริญว่า

ชาวเราผู้เจริญอัศจรรย์นัก

ประหลาดแท้

เพียงแต่พระสาวกยังมีฤทธิ์มากถึงเพียงนี้

ยังมีอานุภาพมากถึงเพียงนี้

พระศาสดาต้องอัศจรรย์แน่

ดังนี้

-

แล้วพากันสนใจต่อพระผู้มีพระภาคเท่านั้น

หาสนใจต่อท่านพระสาคตะไม่

-

 ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค

ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพวกเขาด้วยพระทัย แล้ว

ทรงแสดง

-

อนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ

ทานกถา

ศีลกถา

สัคคกถาโทษ

ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย

และอานิสงส์ในความออกบรรพชา

-

เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า

พวกเขามีจิตสงบ

มีจิตอ่อน

มีจิตปลอดจากนิวรณ์

มีจิตเบิกบาน

มีจิตผ่องใสแล้ว

-

จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา

ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดง

ด้วยพระองค์เอง คือ

-

ทุกข์

สมุทัย

นิโรธ

มรรค

-

ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี

ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นเองว่า

-

***สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา***

***สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา***

-

 ดุจผ้าที่สะอาด

ปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี

ฉะนั้น

-

พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว

ได้บรรลุธรรมแล้ว

ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว

มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว

ข้ามความสงสัยได้แล้ว

ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย

ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า

ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น

ในคำสอนของพระศาสดา

-

ได้กราบทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้า

ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า

พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย

เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ

เปิดของที่ปิด

บอกทางแก่คนหลงทาง

หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า

คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้

-

ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านี้

ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม

และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ

ขอพระองค์จงทรงจำพวกข้าพระพุทธเจ้าว่า

เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ

จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๕

วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๒ ข้อที่ ๑

--

http://etipitaka.com/read/thai/5/2/?keywords=%E0%B8%94%E0%B8%B3%20%E0%B9%84%E0%B8%9B%20%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์_2015-05-23



(((การสมาคม คบค้ากัน)))

ประมาณนาทีที่ 15.40 https://www.youtube.com/watch?v=UP3aUAMMsN8

************************

#พวกเธอเห็นสารีบุตร

กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหมดนี้

#ล้วนมีปัญญามาก



พ. #พวกเธอเห็นมหาโมคคัลลานะ

กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้

#ล้วนมีฤทธิ์มาก



พ. #พวกเธอเห็นมหากัสสป

กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้

#ล้วนเป็นธุตวาท



พ. #พวกเธอเห็นอนุรุทธ

กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้

#ล้วนเป็นผู้มีทิพยจักษุ



พ. #พวกเธอเห็นปุณณมันตานีบุตร

กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้

#ล้วนเป็นธรรมกถึก



พ. #พวกเธอเห็นอุบาลี

กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้

#ล้วนเป็นผู้ทรงวินัย



พ. #พวกเธอเห็นอานนท์

กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้

#ล้วนเป็นพหูสูต



พ. #พวกเธอเห็นเทวทัตต์

กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้

#ล้วนมีความปรารถนาลามก ฯ



[๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย



#สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน

#ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว



คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว



สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี



แม้ในอดีตกาล

สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้ากันแล้ว

ได้สมาคมกันแล้ว

โดยธาตุเทียว

คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลวได้คบค้ากันแล้ว

ได้สมาคมกันแล้ว

กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว



สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี

ได้คบค้ากันแล้ว

ได้สมาคมกันแล้ว

กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี



แม้ในอนาคตกาล

สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน

จักสมาคมกัน โดยธาตุเทียว

คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว

จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว

สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี

จักคบค้ากันจักสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี



แม้ในปัจจุบันกาล

สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว

คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว

ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว

สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี

ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ฯ



***********************

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้า ๑๕๒ - ๑๕๓ ข้อ ๓๖๕, ๓๖๖, ๓๖๗

***********************

http://etipitaka.com/read/thai/16/151/?keywords=สัตว์+ย่อม+คบค้ากัน+โดยธาตุ

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์_หลังฉัน 1_2015-05-23



อนุสาสนีปาฏิหาริย์อย่างไร?

ประมาณนาทีที่ 5.35 https://www.youtube.com/watch?v=ztJ2IDQBM80

อนุสาสนีปาฏิหาริย์

เกวัฏฏ์ ! อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร ?

เกวัฏฏ์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมสั่งสอนอย่างนี้ว่า

ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ

จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ

จงละสิ่งนี้ๆ เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่

นี้เราเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์.

 -

เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้

เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง

สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก

เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก ไม่มีใครยิ่งไปกว่า

เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว

จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.

-

ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้

กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา

พร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว

สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.

-

ตถาคตนั้นแสดงธรรม ไพเราะในเบื้องต้น - ท่ามกลาง - ที่สุด,

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ

และพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

-

คหบดีหรือบุตรคหบดี

หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี

ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.

-

เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา

ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี,

บรรพชาเป็นโอกาสว่าง;

การที่คนอยู่ครองเรือน

จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว

เหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น

ไม่ทำได้โดยง่าย.

-

ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด

ครองผ้ากาสายะ

ออกจากเรือนบวช

เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.

-

 โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่

และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด

ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.

-

ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้ว

ด้วยความสำรวมในปาติโมกข์

ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร,

มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย

สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย,

ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล,

มีอาชีวะบริสุทธิ์,

ถึงพร้อมด้วยศีล,

มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,

ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ,

มีความสันโดษ.

-

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย หน้า ๑๕๒๐

(ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๓๐๘/๓๔๑-๓๔๒

http://etipitaka.com/read/thai/9/308/

---



เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้

แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้.

๓ อย่างอะไรเล่า ? ๓ อย่าง คือ :-

๑. อิทธิปาฏิหาริย์

๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์

๓. อนุศาสนีปาฏิหาริย์

-

๑. อิทธิปาฏิหาริย์

เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ

อิทธิปาฏิหาริย์.



(๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็น

อย่างไรเล่า?

เราเห็นโทษในการแสดง อาเทสนาปาฏิหาริย์

ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ

อาเทสนาปาฏิหาริย์.

-

สี. ที. ๙/๒๗๓ – ๒๗๖/ ๓๓๙ – ๒๔๒.


พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์_หลังฉัน 1_2015-05-23



อนุโมทนา กับ ท่าน อำนวย กลิ่นอยู่ ผู้ปวารณาจัดพิมพ์ พุทธวจน-ปิฎก อักษรโรมัน-อังกฤษ Launching of BUDDHAWAJANA-PITAKA Roman-English Version (พุทธวจน เป็นภาษาอังกฤษแล้วผู้ไม่รู้ภาษาไทย สามารถรู้ตามเห็นตามได้โดยง่ายแล้ว) สาธุ สาธุ สาธุ คะ  https://www.youtube.com/watch?v=ztJ2IDQBM80