วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์_หลังฉัน 1_2015-05-23



อนุสาสนีปาฏิหาริย์อย่างไร?

ประมาณนาทีที่ 5.35 https://www.youtube.com/watch?v=ztJ2IDQBM80

อนุสาสนีปาฏิหาริย์

เกวัฏฏ์ ! อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร ?

เกวัฏฏ์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมสั่งสอนอย่างนี้ว่า

ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ

จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ

จงละสิ่งนี้ๆ เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่

นี้เราเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์.

 -

เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้

เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง

สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก

เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก ไม่มีใครยิ่งไปกว่า

เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว

จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.

-

ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้

กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา

พร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว

สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.

-

ตถาคตนั้นแสดงธรรม ไพเราะในเบื้องต้น - ท่ามกลาง - ที่สุด,

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ

และพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

-

คหบดีหรือบุตรคหบดี

หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี

ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.

-

เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา

ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี,

บรรพชาเป็นโอกาสว่าง;

การที่คนอยู่ครองเรือน

จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว

เหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น

ไม่ทำได้โดยง่าย.

-

ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด

ครองผ้ากาสายะ

ออกจากเรือนบวช

เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.

-

 โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่

และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด

ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.

-

ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้ว

ด้วยความสำรวมในปาติโมกข์

ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร,

มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย

สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย,

ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล,

มีอาชีวะบริสุทธิ์,

ถึงพร้อมด้วยศีล,

มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,

ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ,

มีความสันโดษ.

-

อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย หน้า ๑๕๒๐

(ภาษาไทย) สี. ที. ๙/๓๐๘/๓๔๑-๓๔๒

http://etipitaka.com/read/thai/9/308/

---



เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้

แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้.

๓ อย่างอะไรเล่า ? ๓ อย่าง คือ :-

๑. อิทธิปาฏิหาริย์

๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์

๓. อนุศาสนีปาฏิหาริย์

-

๑. อิทธิปาฏิหาริย์

เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ

อิทธิปาฏิหาริย์.



(๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็น

อย่างไรเล่า?

เราเห็นโทษในการแสดง อาเทสนาปาฏิหาริย์

ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ

อาเทสนาปาฏิหาริย์.

-

สี. ที. ๙/๒๗๓ – ๒๗๖/ ๓๓๙ – ๒๔๒.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น