วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของการเจริญสติ พอจ คึกฤทธิ์ โสตถิผโล 01 12



ผลเสียของการปล่อยจิตให้เพลินกับอารมณ์ ประมาณนาทีที่ 5.13

ก่อให้เกิดอนุสัยทั้ง ๓

https://www.youtube.com/watch?v=G_UIdzMisbA

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะอาศัย ตา ด้วย รูปทั้งหลาย ด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ

การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย...

เพราะอาศัย หู ด้วย เสียงทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ

การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย...

เพราะอาศัย จมูก ด้วย กลิ่นทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ

การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย...

เพราะอาศัย ลิ้น ด้วย รสทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ

การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย...

เพราะอาศัย กาย ด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ

การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย...

เพราะอาศัย ใจ ด้วย ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ

การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย



จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.

บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องอยู่ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่;

อนุสัยคือราคะ ย่อมตามนอน แก่บุคคลนั้น (ตสฺส ราคานุสโย อนุเสติ)

เมื่อทุกขเวทนา ถูกต้องอยู่ เขาย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจ ย่อมคร่ำครวญ ย่อมตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหลอยู่;

อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น.

เมื่อ เวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ถูกต้องอยู่เขาย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง

ซึ่งสมุทยะ (เหตุเกิด) ของเวทนานั้นด้วย

ซึ่งอัตถังคมะ (ความดับไม่เหลือ) แห่งเวทนานั้นด้วย

ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย

ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย

ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย;

อนุสัยคืออวิชชา ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น.

บุคคลนั้นหนอ

(สุขาย เวทนาย ราคานุสยํ อปฺปหาย) ยังละราคานุสัย อันเกิดจากสุขเวทนาไม่ได้;

(ทุกฺขาย เวทนาย ปฏิฆานุสยํ อปฺปฏิวิโนเทตฺวา) ยังบรรเทาปฏิฆานุสัย อันเกิดจากทุกขเวทนาไม่ได้;

(อทุกฺขมสุขาย เวทนาย อวิชฺชานุสยํ อสมูหนิตฺวา) ยังถอนอวิชชานุสัย อันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้;



(อวิชฺชํ อปฺปหาย วิชฺชํ อนุปฺปาเทตฺวา) เมื่อยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว,

(ทิฏฺเฐว ธมฺเม ทุกฺขสฺสนฺตกโร ภวิสฺสตีติ) เขาจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (รู้เห็นได้เลย) นี้ได้ นั้น;

(เนตํ ฐานํ วิชฺชติ ฯ) ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้.

อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น