วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันพฤหัสบดี_2015-05-21



‪วิญญาณไม่ได้เวียนว่ายตายเกิด‬

‪‎สัตว์เวียนว่ายตายเกิด‬

‪‎สัตว์คือ  ‬.. ประมาณนาทีที่ 1.40 https://www.youtube.com/watch?v=bvDrSsZe8kU

*******



‪#‎ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก‬

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร

ตามคำของเราว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน

ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ

แล้วบอกว่าดูกรท่านสาติ

พระศาสดารับสั่งให้หาท่านสาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว

จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว

จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

ดูกรสาติ ได้ยินว่าเธอมีทิฏฐิอันลามก

เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า

เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม

ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า

-

วิญญาณนี้นั่นแหละ

ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

-

สาติภิกษุทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม

ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า

วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง

-

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า

ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?

สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้

ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย

ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

-

ดูกรโมฆบุรุษ

เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า

-

ดูกรโมฆบุรุษ

วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น

เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ

ความ เกิดแห่งวิญญาณ

เว้นจากปัจจัย มิได้มี

-

ดูกรโมฆบุรุษ

ก็เมื่อเป็นดังนั้น

เธอกล่าวตู่เราด้วย

ขุดตนเสียด้วย

จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย

เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

-

ดูกรโมฆบุรุษ

ก็ความเห็นนั้นของเธอ

จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์

เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน

(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒ / ๓๓๑ / ๔๔๒

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=331&volume=12

---

‪#‎สัตว์ต้องเวียนว่ายเพราะไม่เห็นอริยสัจ‬

ภิกษุทั้งหลาย !

เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ

บางคราวตกเอาโคนลง

บางคราวตกเอาตอนกลางลง

บางคราวตกเอาปลายลง, ข้อนี้ฉันใด ;

-

ภิกษุทั้งหลาย !

สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น

มีตัณหาเป็นเครื่องผูก

แล่นไปอยู่

ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ

-

ก็ทำนองเดียวกัน

บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น

บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

-

ภิกษุทั้งหลาย !

ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่.

อริยสัจสี่อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ

อริยสัจคือทุกข์

อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์

อริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

-

ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้

เธอพึงประกอบโยคกรรม

อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า

“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,

เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,

ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,

ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๙๗

(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙ / ๔๓๕ / ๑๗๑๖

---

‪#‎ความสิ้นตัณหา‬ คือ ‪#‎นิพพาน‬ (เหตุที่เรียกว่า “สัตว์”)

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้,

อันว่าสัตว์มีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”

ราธะ !

ความพอใจอันใด

ราคะอันใด

นันทิอันใด

ตัณหาอันใด

มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา

ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ,

เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้น ๆ,

เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘สัตว์’ ดังนี้

--

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๔๒๑

(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗ / ๑๙๑ / ๓๖๗

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=191&volume=17

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น