วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันศุกร์_หลังฉัน 1_2015-05-01



#การละนันทิ (ความเพลิน) จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

https://www.youtube.com/watch?v=JPMwCWniQKw



เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ

จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ

จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.

(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).



(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ

ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง

จักษุ ทุกประการ.)

นันทิกขยวรรค สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖.

----------------

๙. นันทิขยสูตรที่ ๑

#ว่าด้วยการสิ้นความยินดีเป็นเหตุหลุดพ้นจากทุกข์

[๑๐๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแหละ

ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ

เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ย่อมเบื่อหน่าย.

เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด

เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี

เพราะสิ้นความยินดี และความกำหนัด

จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นเวทนาอันไม่เที่ยงนั่นแหละ

ว่าไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นสัญญาอันไม่เที่ยง

นั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ฯลฯ



เห็นสังขารอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ฯลฯ

เห็นวิญญาณอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง



ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ

เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ย่อมเบื่อหน่าย

เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด

เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี

เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด

จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว.

จบ สูตรที่ ๙.

-----------------------------

๑๐. นันทิขยสูตรที่ ๒

# ว่าด้วยการสิ้นความยินดีเป็นเหตุหลุดพ้นจากทุกข์

[๑๐๔] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย

และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป

ตามความเป็นจริง.



เมื่อภิกษุทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย

และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป

ตามความเป็นจริง

ย่อมเบื่อหน่ายในรูป

เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด

เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี

เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด

จิตหลุดพ้นแล้ว

เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงทำไว้ในใจซึ่งเวทนาโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ

ซึ่งสัญญาโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ

ซึ่งสังขารโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ

ซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย



และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณ ตามความเป็นจริง.

เมื่อภิกษุทำไว้ในใจซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย

และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณ ตามความเป็นจริง

ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ.



เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด

เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี

เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด

จึงหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า

หลุดพ้นดีแล้ว.

จบ สูตรที่ ๑๐.



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๗

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

หน้าที่ ๕๑/๓๑๐ ข้อที่ ๑๐๓-๑๐๔

------------------------

อ่านพุทธวจนเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read?keywords=นันทิ&language=thai&number=51&volume=17

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น