วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มรรคคานุคา เยาวชนชาวลาวผู้คล่องปากขึ้นใจในพุทธวจน



สา..ธุ..อนุโมทนาคะ.ขอโอกาสสรรเสริญด้วยพระสูตรเหล่านี้คะ

***รวมพระสูตรประโยชน์ของสุตตะพุทธวจน

      (อนุสาสนีย์ปราฏิหาริย์)***

***สั่งสมสุตะมาก เปรียบเหมือนการสั่งสมอาวุธไว้มาก***

--     **เป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า,

        เป็นผู้มักโกรธ,    เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แก้ได้ด้วยสุตะ

-**ประโยชน์ของการสาธยายธรรม

- **คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น

    (พระสูตรตามรู้สัทธรรม 12 ขั้นตอน)

-

***มีสติหลงลืมทำกาละ..จะได้ไปเกิดเป็นเทวดา..และจะบรรลุธรรมในภพนั้น

--

https://www.youtube.com/watch?v=21RaGmpdMW4

***ประโยชน์ของการสาธยายธรรม***

๑. เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม

(หนึ่งในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม)

อํ. ปญฺจก. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕



๒. เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ

(หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ)

อํ ปญฺจก. ๒๒/๒๓/๒๖



๓. เป็นอาหารของความเป็นพหูสูตร

อํ. ทสก. ๒๔/๑๒๐/๗๓



๔. เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ

อํ. ทุก. ๒๐/๖๘/๒๙๒



๕. ทำให้ไม่เป็นมลทิน

อํ. อฎฺฐก. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕



๖. เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน

(หนึ่งในห้าบริขารของจิต)

ม. มู. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘



๗. เป็นเหตุให้ละความง่วงได้

(หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง)

อํ. สตฺตก. ๒๓/๗๓/๕๘

.............................................

***อานิสงส์ในการฟังพุทธวจนเนื่องๆ คล่องปาก ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น***

(พระสูตรตามรู้สัทธรรม 12 ขั้นตอน)

-

มีสติหลงลืมทำกาละ..จะได้ไปเกิดเป็นเทวดา..และจะบรรลุธรรมในภพนั้น

-

[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ

แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล

-

ฟังเนืองๆ

คล่องปาก

ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

-

อันบุคคลพึงหวังได้

อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

-

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ

ธรรมเหล่านั้น

เป็นธรรมอันภิกษุนั้น

ฟังเนืองๆ คล่องปาก

ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

-

เธอมีสติ หลงลืมเมื่อกระทำกาละ

ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง

-

บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ

-

ผู้มีความสุขในภพนั้น

สติบังเกิดขึ้นช้า

แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑

แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคล

ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ

ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้น

ฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ

ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง

-

บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ

ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต

แสดงธรรมแก่เทพบริษัท

เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า

ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด

นี้คือธรรมวินัยนั้น

-

สติบังเกิดขึ้นช้า

แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง

เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง

เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า

เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ

ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด

-

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...

บทแห่งธรรมทั้งหลาย

ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต

ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท

แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน

เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด

นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง

สติบังเกิดขึ้นช้า

แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์

เขาเดินทางไกล

พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า

เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ว่า

เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ

ที่แท้ เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉันใด

-

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ

ย่อมเป็นผู้ บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ...

บทแห่งธรรมทั้งหลาย

ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย

แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท

แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท

แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า

ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า

เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน

เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์

สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน

บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง

สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า

สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ

เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้

เราระลึกได้ ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน

ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ

ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน

-

ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ประการนี้

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุ

ฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๗๘ ข้อที่ ๑๙๑

-

http://etipitaka.com/read/thai/21/186/…

-

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)

มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการ

ตามรู้ซึ่งความจริง”

ภารท๎วาชะ ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้

เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดี

หรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่

ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ :-

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ....

เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า

เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ต่อแต่นั้น

เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรม

ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ….ในธรรมทั้งหลายอันเป็น

ที่ตั้งแห่งโมหะ…. เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น

ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง

โทสะ....ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ

ลำดับนั้น เขา :-

(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมี

ศรัทธาเกิดแล้ว

(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว

(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว

(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง

(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว

(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม

(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย

อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่

(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ,

เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่

(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว

(๑๐) ย่อม มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว

(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม,

ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว

(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น; เขาผู้มีตน

ส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ

(ความจริงโดยจริงความหมายสูงสุด) ด้วยนามกาย ด้วย,

ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.

ภารท๎วาชะ !

การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;

แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

-------------------

การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง(สจฺจานุปตฺติ)

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

(สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึง

ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญ

ถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง”

ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ

การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ (ทั้ง ๑๒ ข้อ

ข้างต้น) เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

ภารท๎วาชะ !

การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

และเราบัญญัติการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.

ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗.

--

***สั่งสมสุตตะมาก เปรียบเหมือนการสั่งสมอาวุธไว้มาก***

ภิกษุทั้งหลาย !

เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา

มีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก

ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัว

และประหารไกลตัว

สำหรับคุ้มภัยในภายใน

และป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด.



ภิกษุทั้งหลาย !

อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก

ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ, ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในสุด

ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญ ชนะ,

ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก

ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.



การสั่งสมสุตตะมาก เปรียบเหมือนการสั่งสมอาวุธไว้มาก

ภิกษุทั้งหลาย !

อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล

ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ

บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน

นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.



- สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔

--

#อานิสงส์ของสุตตะ

อานนท์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน



และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ของเขาตามความเป็นจริง



บุคคลนั้น ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยความเห็น



ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ...



อานนท์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน



แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีล, เป็นผู้มีศีล, เป็นผู้มีราคะกล้า, เป็นผู้มักโกรธ, เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ของเขาตามความเป็นจริง



บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยความเห็น



ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม...



เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้

ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต



อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย

อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล



เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ...



-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๔๗/๗๕.



...................................................

คลิกอ่านพระสูตร

http://etipitaka.com/read?keywords=มิคสาลาสูตร&language=thai&number=122&volume=24 —

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น