อนุโมทนาสาธุกับท่าน อำนวย กลิ่นอยู่ ผู้ถวายทานอันเลิศ..ธรรมทาน..๕ เล่มจากพระโอษฐ์ ..อย่างต่อเนื่อง..***ผู้ให้กำลังย่อมได้กำลัง***..สาธุๆๆ คะ
***ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย*** ประมาณนาทีที่ 47.27
https://www.youtube.com/watch?v=7wtPYSBFTOc
การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก
การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา
ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา
ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา
ชักชวนผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา
นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย
-
พระโสดาบัน มีตนเสมอกับพระโสดาบัน
พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี
พระอนาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี
พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์
นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย
--
นี้เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์
--
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล ฯ
https://www.youtube.com/watch?v=7wtPYSBFTOc
การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก
การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา
ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา
ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา
ชักชวนผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา
นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย
-
พระโสดาบัน มีตนเสมอกับพระโสดาบัน
พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี
พระอนาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี
พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์
นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย
--
นี้เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์
--
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล
ย่อมก้าวล่วงภัย ๕
ย่อมก้าวล่วงภัย ๕
ประการ ภัย ๕ ประการเป็นไฉน คือ
อาชีวิตภัย ๑
อสิโลกภัย ๑
ปริสสารัชภัย ๑
มรณภัย๑
ทุคติภัย ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นแลพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เราไม่กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
ไฉนเราจักกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิตเล่า
เรามีกำลัง ๔ ประการ คือ
กำลังปัญญา
กำลังความเพียร
กำลังการงานอันไม่มีโทษ
กำลังการสงเคราะห์
--
คนที่มีปัญญาทรามแลจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
คนเกียจคร้านจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
คือ กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
เพราะการงานทางกาย ทางวาจาและทางใจที่มีโทษ
-
คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร
ก็กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
เราไม่กลัวต่อภัย คือ การติเตียน ฯลฯ
เราไม่กลัวต่อภัยคือการสะทกสะท้านในบริษัท ...
เราไม่กลัวต่อภัยคือความตาย ...
เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ
ไฉนเราจักกลัวต่อภัย
คือ ทุคติเล่า
-
เพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ
คือ กำลังปัญญา
กำลังความเพียร
กำลังการงานอันไม่มีโทษ
กำลังการสงเคราะห์
-
คนที่มีปัญญาทรามแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ
คนเกียจคร้านแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ
คือ กลัวต่อภัยคือทุคติ
เพราะการงานทางกาย ทางวาจา และทางใจที่มีโทษ
คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร
ก็กลัวภัยคือทุคติ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล
ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการนี้ ฯ
อาชีวิตภัย ๑
อสิโลกภัย ๑
ปริสสารัชภัย ๑
มรณภัย๑
ทุคติภัย ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นแลพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เราไม่กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
ไฉนเราจักกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิตเล่า
เรามีกำลัง ๔ ประการ คือ
กำลังปัญญา
กำลังความเพียร
กำลังการงานอันไม่มีโทษ
กำลังการสงเคราะห์
--
คนที่มีปัญญาทรามแลจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
คนเกียจคร้านจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
คือ กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
เพราะการงานทางกาย ทางวาจาและทางใจที่มีโทษ
-
คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร
ก็กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต
เราไม่กลัวต่อภัย คือ การติเตียน ฯลฯ
เราไม่กลัวต่อภัยคือการสะทกสะท้านในบริษัท ...
เราไม่กลัวต่อภัยคือความตาย ...
เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ
ไฉนเราจักกลัวต่อภัย
คือ ทุคติเล่า
-
เพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ
คือ กำลังปัญญา
กำลังความเพียร
กำลังการงานอันไม่มีโทษ
กำลังการสงเคราะห์
-
คนที่มีปัญญาทรามแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ
คนเกียจคร้านแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ
คือ กลัวต่อภัยคือทุคติ
เพราะการงานทางกาย ทางวาจา และทางใจที่มีโทษ
คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร
ก็กลัวภัยคือทุคติ
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล
ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
-
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๓
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๒๙๓ ข้อที่ ๒๐๙
-http://etipitaka.com/read/thai/23/293/…
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น