วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมระบบ video conference กับ กลุ่มพุทธวจน จ.ปัต...



จากคำถาม..ธรรมเรื่องอะไรที่พระพุทธเจ้าเน้นย่ำมากที่สุด?ประมาณนาทีที่ 15.15

พระอาจารย์ตอบด้วย 3 พระสูตร..คลิปนี้ต่อเรื่องปฏิจฯจากคลิปที่แล้วด้วย

อนุโมทนา สาธุๆๆ ภิกขุภาคใต้..ขอบพระคุณคะ

https://www.youtube.com/watch?v=Qwa5Xfi-Ib4&feature=youtube_gdata_player

--

-การรู้อริยสัจ๔ ...เร่งด่วนกว่า..การดับไฟ..ที่กำลังไหม้อยู่บนศรีษะ...

-การแทงตลอดในอริยสัจ๔

-อานิสงส์ในการฟังธรรม‬(พุทธวจน)ก่อนตาย

---

#สัตติสตสูตร

#ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ๔



[๑๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย



เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว

จะควรกระทำอย่างไร?



ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว

ควรจะกระทำความพอใจ

ความพยายาม

ความอุตสาหะ

ความไม่ย่นย่อ

ความไม่ท้อถอย

สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า

เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.



พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บุคคลพึงวางเฉย

ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้

แล้ว



#พึงกระทำความพอใจ

#ความพยายาม

#ความอุตสาหะ

#ความไม่ย่นย่อ

#ความไม่ท้อถอย

#สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า

#เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔

#ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง



อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ

ทุกขอริยสัจ ฯลฯ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ

เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร

เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.



พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๔๓๖/๔๖๙

ข้อที่ ๑๗๑๘-๑๗๑๙



http://etipitaka.com/compare?utf8=✓&lang1=thai&volume=19&p1=435&lang2=pali&commit=►#



---

#การแทงตลอดในอริยสัจ๔

วาลสูตร

        ว่าด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงยาก

    [๑๗๓๗] สมัยหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา

ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า

ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลี

ท่านพระอานนท์ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน

กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ

ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก

แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

ครั้นแล้ว ได้มีความคิดว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้

ที่จักยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก

แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว.

-

    [๑๗๓๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์

ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลีแล้ว

เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอประทานพระวโรกาส

เมื่อเวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในเมืองเวสาลี

ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน

กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ

ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก

แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

ครั้นแล้ว ข้าพระองค์ได้มีความคิดว่า

พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้

ที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก

แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์

เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

อย่างไหนจะทำได้ยากกว่ากัน

หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน?

-

คือ การที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติดๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก

แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

กับการแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทราย

ที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน.

-

     อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

การแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทราย

ที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน

กระทำได้ยากกว่า

และให้เกิดขึ้นได้ยากกว่าพระเจ้าข้า.

-

     พ. ดูกรอานนท์

ชนเหล่าใดย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ชนเหล่านั้นย่อมแทงตลอดได้ยากกว่าโดยแท้

เพราะฉะนั้นแหละ

อานนท์ เธอพึงกระทำความเพียร

เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

-

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๔๔๕ ข้อที่ ๑๗๓๖ - ๑๗๓๗

-

http://etipitaka.com/read/thai/19/446/?keywords=%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%87%20%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20%E0%B8%82%E0%B8%99%20%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2

-

‪#‎อานิสงส์ในการฟังธรรม‬(พุทธวจน)ก่อนตาย

***

‪#‎ฟังธรรม‬..

-จากตถาคต

-สาวกตถาคต

-ระลึกถึงบทแห่งธรรมที่ทรงจำไว้

***

-จะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้(อนาคามี)

-ที่ละได้แล้วจะน้อมไปเพื่อนิพพาน

***

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากมาไม่นาน

ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ

และในเวลาตายอินทรีย์

ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก

-

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร

จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

***

ดูกรอานนท์

อานิสงส์

‪#‎ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร‬

‪#‎ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร‬

๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน

ดูกร อานนท์

จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้

ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ในเวลาใกล้ตาย

‪#‎เธอได้เห็นตถาคต‬

ตถาคตย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ

บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ

-

จิตของเธอย่อมหลุดพ้น

จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีก ประการหนึ่ง

จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย

‪#‎แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต‬

สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ

จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอไม่ได้เห็นตถาคต

และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย

แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ

‪#‎ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา‬

เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ

ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา

ได้เรียนมาอยู่

จิตของเธอย่อมหลุดพ้น

จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓

ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม

โดยกาลอันควร ฯ

-

ดูกร อานนท์

จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้

ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ในเวลาใกล้ตาย

‪#‎เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต‬

พระตถาคตย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น ... แก่ เธอ

จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต

‪#‎แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต‬

สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ

จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน

เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕

ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

-

อีกประการหนึ่ง

จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้ว

จากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ในเวลาใกล้ตาย

เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต

และย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย

‪#‎แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรม‬

ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา

เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ

ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่

จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส

อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

-

ดูกรอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖

ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม

โดยกาลอันควร

-

ดูกรอานนท์

อานิสงส์ในการฟังธรรม

ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร

๖ ประการนี้แล ฯ

-

(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๔๓/๓๒๗

-

http://etipitaka.com/read?language=thai&number=343&volume=22

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น