วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์_หลังฉัน_2015-05-02



รู้จักยัง? ... แก่น ..กระพี้...เปลือก..สะเก็ด..กิ่งและใบ..

https://www.youtube.com/watch?v=52wqjeLpc_Q&feature=youtube_gdata_player

‪#‎อุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้‬

[๓๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ

เขตพระนครราชคฤห์. เมื่อพระเทวทัตต์หลีกไปไม่นาน ณ ที่นั้นแล

พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระเทวทัตต์

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว

ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ

ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว

-

ยังลาภสักการะ

และความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.

-

เขามีความยินดี

มีความดำริเต็มเปี่ยมด้วยลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้น.

-

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ อันนั้น

-

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า

เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ

ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย.

เขาย่อมมัวเมา

ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น

เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว

ย่อมอยู่เป็นทุกข์

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้

แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่

ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก

ละเลยเสก็ดไปเสีย

‪#‎ตัดเอากิ่งและใบถือไป‬ ‪#‎สำคัญว่าแก่น‬.

-

บุรุษผู้มีจักษุ เห็นเขาผู้นั้นแล้ว

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้

ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก

ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น

บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้

แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น

ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยเสก็ดไปเสีย

ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น

และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา

จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด

-

กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาส ท่วมทับแล้ว

ถูกความทุกข์

ลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า

-

เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ

ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ

[หรือมีคนรู้จักน้อย] มีศักดาน้อย

เขาย่อมมัวเมา

ถึงความประมาทเพราะลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้น

เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว

ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า

ได้ถือเอากิ่งและใบของพรหมจรรย์

และถึงที่สุดแค่กิ่งและใบนั้น.

‪#‎สะเก็ดพรหมจรรย์‬

[๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

กุลบุตรบางคนในโลกนี้

มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า

ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว

-

ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.

เขาไม่มีความยินดี

มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะลาภสักการะ

และความสรรเสริญอันนั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

-

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ.

-

เขามีความยินดี

มีความดำริเต็มเปี่ยม

ด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น.

-

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า

เรามีศีล

มีกัลยาณธรรม

ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม.

เขาย่อมมัวเมา

ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว

ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือน บุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้

แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น

ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย

ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น.

-

บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้

ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก

ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ

-

เป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว

ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า

ไฉนหนอความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว

ยังลาภสักการะ

และความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.

เขาไม่มีความยินดี

มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะลาภสักการะและสรรเสริญอันนั้น.

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ.

เขามีความยินดี

มีความดำริเต็มเปี่ยม

ด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น.

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น

-

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีล มีกัลยาณธรรม

ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม

เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว

ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถือเอาสะเก็ดของพรหมจรรย์

และถึงที่สุดแค่สะเก็ดนั้น.

-

‪#‎เปลือกพรหมจรรย์‬

[๓๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้

มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว

ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า

ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว

ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.

-

เขาไม่มีความยินดี

มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น

-

เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น

เพราะลาภสักการะ

และความสรรเสริญอันนั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น

-

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ.

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น.

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ.

-

เขามีความยินดี

มีความดำริเต็มเปี่ยม

ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น

-

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า

เรามีจิตตั้งมั่น

มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว

ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้

มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว.

-

เขาย่อมมัวเมาถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว

ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้

แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่

ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย

ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น.

-

บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น

ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด

ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น

บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้

เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่

ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย

ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น

และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา

จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา

ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลก

นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว

ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า

ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว

ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.

-

เขาไม่มีความยินดี

มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ.

-

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น,

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ.

-

เขามีความยินดี

มีความดำริเต็มเปี่ยม

ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น.

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

-

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่น

ว่าเรามีจิตตั้งมั่น

มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว

ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้

มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว.

-

เขาย่อมมัวเมา

ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว

ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า

ได้ถือเอาเปลือกแห่งพรหมจรรย์

และถึงที่สุดแค่เปลือกนั้น.

-

‪#‎กระพี้พรหมจรรย์‬

[๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

กุลบุตรบางคนในโลกนี้

มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว

ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า

ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว

ยังลาภสักการะ และ

ความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.

-

เขาไม่มีความยินดี

มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

ด้วยลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้น.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ.

เขามีความยินดี ด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะเพราะความถึงพร้อมแห่งศีล

นั้นเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ.

-

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ.

-

เขามีความยินดี

มีความดำริเต็มเปี่ยมแล้วด้วยญาณทัสสนะนั้น.

เพราะญาณทัสสนะนั้น

-

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่

ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ ไม่เห็นอยู่.

-

เขาย่อมมัวเมา

ถึงความประมาท

เพราะญาณทัสสนะนั้น

เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว

ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้

เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่

ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น.

-

บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้

ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด

ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น

บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้อยู่

เสาะหาแก่นไม้อยู่ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย

ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น

และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา

จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา

ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา ออกจากเรือน

บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า

เราเป็นอันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว

ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า

ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว

ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น

-

เขาไม่มีความยินดี

มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

ด้วยลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้น.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น

-

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ,

-

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น.

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ.

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

-

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ.

-

เขามีความยินดี

มีความดำริเต็มเปี่ยมแล้วด้วยญาณทัสสนะนั้น.

เพราะญาณทัสสนะอันนั้น

-

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่

ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ไม่เห็นอยู่

เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท

เพราะญาณทัสสนะนั้น

เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว

ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากระพี้แห่งพรหมจรรย์

และถึงที่สุดแค่กระพี้นั้นแล.

-

‪#‎แก่นพรหมจรรย์‬

[๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือน

บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว

ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า

ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว

-

***ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น***

-

‪#‎เขาไม่มีความยินดี‬

มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น.

-

‪#‎เขาไม่ยกตน‬

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะลาภสักการะ

และความสรรเสริญอันนั้น.

-

‪#‎เขาย่อมไม่มัวเมา‬

ไม่ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ.

***เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น***

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ.

***เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น****

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ.

***เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น***

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

--

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะญาณทัสสนะนั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะญาณทัสสนะนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

***ย่อมยังสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ***

********************************.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากสมยวิมุตินั้น

เป็นฐานะที่จะมีได้.

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้

แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่

ถากเอาแก่นถือไป รู้จักว่าแก่น.

-

บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น

รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จักสะเก็ด

รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น

บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้

แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่

ถากเอาแก่นถือไป

รู้จักว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา

จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา

ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า

ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนี้แล้ว

-

ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.

-

เขาไม่มีความยินดี

มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

ด้วยลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้น

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ.

-

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

-

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ.

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ.

เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

-

เขาไม่ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะญาณทัสสนะนั้น.

-

เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท

เพราะญาณทัสสนะนั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ.

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากสมยวิมุตินั้น

มิใช่ฐานะ

มิใช่โอกาสที่จะมีได้.

-

[๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดังพรรณนามาฉะนั้น

พรหมจรรย์นี้

จึงมิใช่มีลาภ

มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์

สักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์

มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์

มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

-

แต่พรหมจรรย์นี้

มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ

เป็นประโยชน์

เป็นแก่น

เป็นที่สุด.

-

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดี พระภาษิต

ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.

จบ มหาสาโรปมสูตร ที่ ๙

____________________________

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๒

สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๖๐ ข้อที่ ๓๕๐

--

http://etipitaka.com/read/thai/12/257/…

--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น