วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ธรรมเป็นรุ่งอรุญ มรรค ๘


***ธรรมเป็นรุ่งอรุณแห่งอัฏฐังคิกมรรค***
****************************************
ภิกษุ ท. ! เมื่อดวงอาทิตย์กำลังขึ้น
สิ่งที่มาก่อน เป็น นิมิตให้เห็นก่อน
คือการขึ้นมาแห่งอรุณ ฉันใด ; 

ภิกษุ ท. ! เมื่อมีการเกิดขึ้นแห่งอริยอัฏฐังคิกมรรคของภิกษุ
สิ่งที่มาก่อน เป็นนิมิตให้เห็นก่อน คือ กัล๎ยาณมิตตตา
(ความเป็นผู้กัลยาณมิตร) ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ ท. ! นี้คือความหวังของภิกษุผู้มี กัลยาณมิตร
คือเธอจักเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค
ได้จักกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร
ย่อมเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคได้ ชนิดไหนกันเล่า?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ....
สัมมาสังกัปปะ ....
สัมมาวาจา ....
สัมมากัมมันตะ ....
สัมมาอาชีวะ ....
สัมมาวายามะ ....
สัมมาสติ ....
สัมมาสมาธิ.

ชนิดที่ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสลัดลง.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร
ย่อมเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคได้ อย่างนี้แล.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖ - ๓๙/๑๒๙ - ๑๔๖.
[ในตำแหน่งแห่ง กัล๎ยาณมิตตตา ในฐานะเป็นรุ่งอรุณแห่งอัฏฐังคิกมรรคนั้น
ในสูตรอื่น
ทรงแสดงไว้ด้วยธรรมะชื่ออื่นอีกหลายชื่อคือ:-
ศีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) เป็นรุ่งอรุณ
ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ - ความพอใจ) เป็นรุ่งอรุณ

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตร ในกรณีนี้
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน
เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท
เป็นผู้เว้นขาดจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า สีลสัมปทา.
(สืบค้น ด้วยโปรแกรม E-Tipitaka อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้า ๑๑๐๖
*********************************
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้ด้วย โปรแกรม E-Tipitaka
อัญเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika
 — กับ Maki Pijikaตักสิลา ล่องไพรฟ้า ฟ้า และ Suwan Kowsakul

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น