วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปาณาติบาต..ผล..วิบากกรรม..คติที่ไป


***..ว่าด้วยปาณาติบาต...ผล..วิบากกรรม..คติที่ไป..***
********************************************
***ลักษณะและวิบาก แห่งสัมมากัมมันตะ***
*********************************
ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ในกรณีนี้ 
ละปาณาติบาต
เว้นขาดจากปาณาติบาต.
ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว
ย่อมชื่อว่า
ให้อภัยทาน
อเวรทาน
อัพยาปัชฌทาน
แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ ;

ครั้นให้อภัยทาน
อเวรทาน
อัพยาปัชฌทาน
แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว

ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่ง
ความไม่มีภัย
ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน
อันไม่มีประมาณ.
....................................................
ย่อมชื่อว่า
ให้อภัยทาน
อเวรทาน
อัพยาปัชฌทาน
แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ;

ครั้นให้อภัยทาน
อเวรทาน
อัพยาปัชฌทาน
แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว
..........................................
ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่ง
ความไม่มีภัย
ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน
อันไม่มีประมาณ.
...............................................
ภิกษุ ท. ! นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สาม
เป็นมหาทาน
รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ
เป็นของมีมานาน
เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ
ไม่ถูกทอดทิ้งเลย
ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต
ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบั
และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต
อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
.................................................
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่หก)
เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล
นำมาซึ่งสุข
เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี
มีสุขเป็นวิบาก
เป็นไปเพื่อสวรรค์
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกู
เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา
น่ารักใคร่
น่าพอใจ.
- อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๕๐/๑๒๙.

หมวด ค. ว่าด้วย โทษและอานิสงส์ ของสัมมากัมมันตะ
***วิบากของมิจฉากัมมันตะ***
************************
ภิกษุ ท. ! ปาณาติบาต ที่เสพทั่วแล้ว
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
.................................................
ย่อมเป็นไปเพื่อนรก
เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน
เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.
………………………………………
วิบากแห่งปาณาติบาตของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง
คือวิบากที่เป็นไปเพื่อมีอายุสั้น.
…………………………………………..

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้าที่ ๑๐๘๔
***กรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับผลเป็นความกระเสือกกระสน***
******************************************
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรมปริยาย
อันแสดงความกระเสือกกระสนไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์)
แก่พวกเธอ.
เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังให้ดี.
ธรรมปริยายอันแสดงความกระเสือกกระสนไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย
เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กระทำกรรมใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตาม
จักเป็นผู้รับผลกรรมนั้น.

ภิกษุ ท. ! คนบางคนในกรณีนี้
เป็นผู้ มีปกติทำปาณาติบาต
หยาบช้า
มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต
มีแต่การฆ่าและการทุบตี
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต.
เขากระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย
กระเสือกกระสนด้วย(กรรมทาง) วาจา
กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ;
กายกรรมของเขาคด วจีกรรมของเขาคด มโนกรรมของเขาคด ;
คติของเขาคด
อุปบัติของเขาคด.

ภิกษุ ท. ! สำหรับผู้มีคติคด
มีอุบัติคดนั้น
เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาคติสองอย่าง แก่เขา คือ
เหล่า สัตว์นรกผู้มีทุกข์โดยส่วนเดียว,
หรือว่า สัตว์เดรัจฉานผู้มีกำเนิดกระเสือกกระสน
ได้แก่ งู แมลงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้า
หรือสัตว์เดรัจฉานเหล่าอื่น
ที่เห็นมนุษย์แล้วกระเสือกกระสน.

ภิกษุ ท. ! ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ คือ
อุปบัติ(การเข้าถึงภพ) ย่อมมีแก่ภูตสัตว์,
เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น,
ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องภูตสัตว์นั้นผู้อุปบัติแล้ว.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า
สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม
ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
- ทสก.อํ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้าที่ ๑๐๘๘
(ในกรณีแห่งบุคคลผู้ กระทำอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ด้วย ข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของผู้กระทำปาณาติบาตดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ; และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจีทุจริตสี่ มโนทุจริตสาม ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย.
ต่อไปนี้ ได้ตรัสข้อความฝ่ายกุศล 

***กรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับผลเป็นความไม่กระเสือกกระสน***
********************************************
ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กระทำกรรมใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตาม
จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.

ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละปาณาติบาต
เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย
ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย.
เขาไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย
ไม่กระเสือก กระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา
ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ;
กายกรรมของเขาตรง
วจีกรรมของเขาตรง
มโนกรรมของเขาตรง :
คติของเขาตรง
อุปบัติของเขาตรง.

ภิกษุ ท. ! สำหรับผู้มีคติตรง
มีอุปบัติตรงนั้น
เรากล่าวคติ
อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาคติสองอย่างแก่เขา
คือเหล่า
สัตว์ผู้มีสุขโดยส่วนเดียว๑
หรือว่า ตระกูลอันสูง ตระกูลขัตติยมหาศาล
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือ
ตระกูลคหบดีมหาศาลอันมั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก
มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก.

ภิกษุ ท. ! ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
คืออุปบัติ(การเข้าถึงภพ) ย่อมมีแก่ภูตสัตว์,
เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น,
ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องภูตสัตว์นั้นผู้อุบัติแล้ว.

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า
สัตว์ทั้งหลาย
เป็นทายาทแห่งกรรม
ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

(ในกรณีแห่งบุคคลผู้ ไม่กระทำอทินนาทาน ไม่กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่าง
เดียวกันกับในกรณีของผู้ไม่กระทำปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ; และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจีสุจริตสี่ มโนสุจริตสาม ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย)

ภิกษุ ท. ! นี้แล คือธรรมปริยาย
อันแสดงความกระเสือกกระสน ไป
ตามกรรม (ของหมู่สัตว์).
- ทสก. อํ. ๒๔/๓๑๑/๑๙๓.
นิทเทศ ๑๗
ว่าด้วยสัมมากัมมันตะ
จบ

๑. คำนี้พระบาลีฉบับมอญและฉบับยุโรป ว่า สวรรค์อันมีสุขโดยส่วนเดียว.

***สัมปทา.***
**********
พ๎ยัคฆปัชชะ ! สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตร ในกรณีนี้
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน
เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท
เป็นผู้เว้นขาดจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า สีลสัมปทา.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้าที่ ๑๑๐๖

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ธรรม ๘ ประการที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแต่โดยย่อ
มิได้จำแนกแล้วโดยพิสดาร
ก็ยังเป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหาร (การลงทุนเพื่อกำไร)
ในอริยวินัยนั้น, ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงจำแนกธรรม ๘ ประการเหล่านี้
โดยพิสดารเพราะอาศัยความเอ็นดูแก่ข้าพระองค์เถิด”
คฤหบดี ! ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟัง
จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.
คฤหบดี ! ข้อที่เรากล่าวว่า
“อาศัยกรรมอันไม่เป็นปาณาติบาตละ
เสียซึ่งกรรมอันเป็นปาณาติบาต“ ดังนี้นั้น
เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุผลดังนี้ว่า
อริยสาวกในกรณีนี้
ย่อมใคร่ครวญเห็นดังนี้ว่า
เราปฏิบัติแล้วดังนี้
เพื่อละเสีย
เพื่อตัดขาดเสีย
ซึ่งสังโยชน์อันเป็นเหตุให้เรากระทำปาณาติบาต.
อนึ่ง เมื่อเราประกอบกรรมอันเป็นปาณาติบาตอยู่
แม้เราเองก็ตำหนิตนเองได้
เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย,
วิญญูชนใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนเราได้
เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย,
ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย
ทุคติก็หวังได้เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย.
ปาณาติบาตนั่นแหละเป็นสังโยชน์
ปาณาติบาตนั่นแหละ เป็นนิวรณ์.
อนึ่ง อาสวะเหล่าใดอันเป็นเครื่องกระทำความคับแค้น
และเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย ;
ครั้นเว้นขาดจากปาณาติบาตเสียแล้ว
อาสวะอันเป็นเครื่องกระทำความคับแค้น
และเร่าร้อนเช่นนั้นเหล่านั้น
ย่อมไม่มี ดังนั้น
พึงอาศัยกรรมอันไม่เป็นปาณาติบาต
ละกรรมอันเป็นปาณาติบาตเสีย, ดังนี้.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้าที่ ๑๑๑๖

***ผู้ไม่สะอาด เป็นผู้ที่เหมือนกับถูกนำไปเก็บไว้ในนรก***
*******************************************
ภิกษุ ท.! บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
ย่อม เป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำตัวไปเก็บไว้ในนรก.
ธรรม ๑๐ ประการ อย่างไรเล่า?
สิบประการ คือ คนบางคนในกรณีนี้
เป็นผู้ มีปกติทำสัตว์มีปาณะให้ตกล่วง
หยาบช้า
มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต
มีแต่การฆ่าและการทุบตี
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต ๑;
(ต่อไปนี้ ได้ตรัสถึงบุคคล ผู้ กระทำอทินนาทาน กระทำกาเมสุมิจฉาจาร พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ ; ซึ่งแต่ละอย่าง ๆ มีรายละเอียดหาดูได้จากหัวข้อว่า “ลักษณะความสะอาด – ไม่สะอาด
ในอริยวินัย” เฉพาะฝ่ายชั่วหรือฝ่ายความไม่สะอาด ที่หน้า ๑๕๖๕ – ๖ แห่งหนังสือเล่มนี้ ;
แล้วตรัสจบลงด้วยคำว่า : - )

ภิกษุ ท.! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำตัวไปเก็บไว้ในนรก.
- ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๕/๑๘๙.

***ผู้สะอาด เป็นผู้ที่เหมือนกับถูกนำตัวไปเก็บไว้ในสวรรค์***
*********************************************
ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
ย่อม เป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำตัวไปเก็บไว้ในสวรรค์.
ธรรม ๑๐ ประการอย่างไรเล่า ?
สิบประการ คือ บุคคลบางคนในกรณีนี้
ละการทำสัตว์มีปาณะให้ตกล่ว
เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางท่อนไม้
วางศัสตรา
มีความละอาย
ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่ ๑;
(ต่อไปนี้ได้ตรัสถึงบุคคลผู้ เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วยอภิชฌา ไม่มีพยาบาท เป็นสัมาทิฏฐิ; ซึ่งแต่ละอย่าง ๆ มีรายละเอียดหาดูได้จากหัวข้อว่า “ลักษณะความสะอาด –ไม่สะอาด ในอริย- วินัย” เฉพาะฝ่ายดี
ที่หน้า ๑๕๖๘ – ๙ แห่งหนังสือเล่มนี้ ; แล้วตรัสจบลงด้วยคำว่า : - )

ภิกษุ ท.! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำตัวไปเก็บไว้ในสวรรค์.
- ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๖/๑๘๙

( ในสูตรอื่น แทนที่จะเรียกผู้เป็นเจ้าของกรณีว่า บุคคล แต่ไปทรงเรียกเสียว่า มาตุคามก็มี อุบาสิกาก็มี.
– ๒๔/๓๐๘/๑๙๐ – ๑๙๑.

สูตรอื่น ๆ แทนที่จะนับจำนวนกรรมบถมี สิบ
ได้ทรงขยายออกไปเป็น ๒๐ คือ
ทำเองสิบ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำอีกสิบ,

และทรงขยายออกไปเป็น ๓๐ คือ
ทำเองสิบ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำสิบ
ยินดีเมื่อเขาทำสิบ,

และทรงขยายออกไปเป็น ๔๐
ทำเองสิบ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำสิบ
ยินดีเมื่อเขาทำสิบ
สรรเสริญผู้กระทำสิบ ;
จึงมีกรรมบถ สิบ ยี่สิบ สามสิบ สี่สิบ.

- ๒๔/๓๕๒– ๓๓๒/๑๙๘ – ๒๐๑.

ในสูตรอื่น แสดงผลแห่งการกระทำแปลกออกไ
จากคำว่า เหมือนถูกนำไปเก็บไว้ในนรก
เป็นว่า “เป็นผู้ขุดรากตนเอง” ก็มี
“ตายแล้วไปทุคคติ” ก็มี
“เป็นพาล” ก็มี ;
ส่วนผู้ที่เหมือนถูกนำไปเก็บไว้ในสวรรค์นั้น
ทรงแสดงด้วยคำว่า “ผู้ไม่ขุดรากตนเอง” ก็มี
“ตายแล้วไปสุคติ” ก็มี
“เป็นบัณฑิต” ก็มี. – ๒๔/๓๓๒ -๓๓๓/๒๐๒ – ๒๐๓. )

ภาคผนวก
ว่าด้วยเรื่องนำมาผนวกเพื่อความสะดวกแก่การอ้างอิง
สำหรับเรื่องที่ตรัสซ้ำ ๆ บ่อย ๆ
จบ
อริยสัจจากพระโอษฐ์

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้าที่ ๑๕๗๒
************************
ค้นหา เทียบเคียง พุทธวจน ด้วย โปรแกรม E-Tipitaka
ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com
อันเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika
 — กับ Maki Pijikaตักสิลา ล่องไพร และ ฟ้า ฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น