วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จิตหลุดพ้น



*** ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี***
**************************************
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น จักษุ
ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง,
ทิฏฐิของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ. 
เมื่อเห็นอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย ;
เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวได้ว่า
จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับ
ในกรณีแห่งจักษุที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕.

***ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)***
***************************************************

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น รูปทั้งหลาย
ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง,
ทิฏฐิของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.
เมื่อเห็นอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย ;
เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวไว้ว่า
จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่า
เดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- สฬา.สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๖.

***ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)***
**************************************************
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง จักษุ โดยแยบคาย
และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งจักษุ ให้เห็นตามที่เป็นจริง.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เมื่อกระทำในใจซึ่งจักษุโดยแยบคายอยู่
ตามดูความไม่เที่ยงแห่งจักษุให้เห็นตามที่เป็นจริงอยู่
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ.
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ
ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับ
ในกรณีแห่งจักษุ ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- สฬา.สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๗.

***ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)***
**************************************************
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูปทั้งหลาย โดยแยบคาย
และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลาย ให้เห็นตามที่เป็นจริง.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเมื่อกระทำในใจซึ่งรูปทั้งหลายโดยแยบคายอยู่
ตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลายให้เห็นตามที่เป็นจริงอยู่
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย.
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ
ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียว
กันกับในกรณีแห่งรูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- สฬา.สํ.๑๘/๑๘๐/๒๔๘.

***ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)***
*************************************************
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น รูป
ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง,
ทิฏฐิของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.
เมื่อเห็นอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย ;
เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ
ก็กล่าวได้ว่า
จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกัน
กับในกรณีแห่ง รูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๓/๑๐๓.

***ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)***
**************************************************
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูป โดยแยบคาย
และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูป ให้เห็นตามที่เป็นจริง.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเมื่อกระทำในใจซึ่งรูปโดยแยบคายอยู่
ตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปให้เห็นตามที่เป็นจริงอยู่
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป.
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ;
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ;
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ
ก็กล่าวได้ว่า
จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความมีกล่าวไว้อย่างเดียวกันกับ
ในกรณีแห่ง รูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๔/๑๐๔.

***ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียด***
***เมื่อเห็นอนัตตา****

ภิกษุ ท. ! รูป
เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่น

**ไม่ใช่ของเรา **ไม่ใช่เป็นเรา **ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา:

เธอทั้งหลาย พึงเห็นข้อนั้น
ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).

ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญา
โดยชอบตรงตามที่เป็นจริง อยู่อย่างนี้,

ปุพพันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี ; เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี,
อปรันตานุทิฏฐิ๑ ทั้งหลายย่อมไม่มี ; เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี,
ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี ;
เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี,
จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ;
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลา
เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว
จิตจึง ดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต) ;
เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึง ยินดีร่าเริงด้วยดี ;
เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึง ไม่หวาดสะดุ้ง ;
เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อม ปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตน นั่นเทียว.

เธอนั้น ย่อม รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑
ภาค ๓ ว่าด้วย นิโรธอริยสัจ
ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์
หน้าที่ ๗๕๕
*******************************
อ่านพุทธวจนเพิ่มเติมด้วยโปรแกรม E-Tipitaka
อัญเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika
 — กับ Maki Pijikaตักสิลา ล่องไพร และ ฟ้า ฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น