วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม

***ภิกษุ..ชื่อว่า..เป็นผู้อยู่ในธรรม...***
********************************
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ
สุตตะ ... เวทัลละ
เธอย่อมทราบชัด
เนื้อความของธรรมนั้น
ที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรมอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุ ฯลฯ
นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
*******************************
๓. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๑
[๗๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เรียกว่าผู้อยู่ในธรรมๆ ดังนี้
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรมด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ฯ

***เป็นผู้มากด้วยการเรียน ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ***
********************************************
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเรียนธรรมคือ
สุตตะ
เคยยะ
เวยยากรณะ
คาถา
อุทาน
อิติวุตตกะ
ชาดก
อัพภูตธรรมเวทัลละ
เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไ
ละการหลีกออกเร้นอยู่
ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน
เพราะการเรียนธรรมนั้น
ภิกษุนี้เรียกว่า
เป็นผู้มากด้วยการเรียน ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ

***ผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ***
************************************
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว
ตามที่ได้เรียนมาแล้วแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไ
ละการหลีกออกเร้นอยู่
ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน
เพราะการแสดงธรรมนั้น
ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม
ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ

*** เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ***
**************************
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุย่อมกระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว
ตามที่ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดาร
เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไ
ละการหลีกออกเร้นอยู่
ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน
เพราะการสาธยายธรรมนั้น
ภิกษุนี้เรียกว่า
เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ

*** เป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ***
******************
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุย่อมตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ ซึ่งธรรม
ตามที่ได้สดับมาแล้ว
ตามที่ได้เรียนมาแล้ว
เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไ
ละการหลีกออกเร้นอยู่
ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน
เพราะการตรึกตามธรรมนั้น
ภิกษุนี้เรียกว่า
เป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรร

***ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ***
**************************
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ
สุตตะ
เคยยะ
เวยยากรณะ
คาถาอุทาน
อิติวุตตกะ
ชาดก
อัพภูตธรรม
เวทัลละ
เธอย่อมไม่ปล่อยให้วันคืนล่วงไป
ไม่ละการหลีกออกเร้นอยู่
ประกอบความสงบใจในภายใน
เพราะการเล่าเรียนธรรมนั้น
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรมอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุ
เราแสดงภิกษุผู้มากด้วยการเล่าเรียนธรรม
แสดงภิกษุผู้มากด้วยการแสดงธรรม
แสดงภิกษุผู้มากด้วยการสาธยายธรรม
แสดงภิกษุผู้มากด้วยการตรึกธรรม
แสดงภิกษุผู้อยู่ในธรรม

ด้วยประการฉะนี้
ดูกรภิกษุ กิจใดอันศาสดา
ผู้หวังประโยชน์เกื้อกูลอนุเคราะห์
อาศัยความเอ็นดู
พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้นเราได้ทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว

ดูกรภิกษุ นั่นโคนต้นไม้
นั่นเรือนว่าง
เธอจงเพ่งฌาน
อย่าประมาท
อย่าเป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ

จบสูตรที่ ๓

๔. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๒

[๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เรียกว่าผู้อยู่ในธรรมๆ ดังนี้

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรมด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเรียนธรรม คือ
สุตตะ
... เวทัลละ
เธอย่อมไม่ทราบเนื้อความของธรรมนั้นที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา

ภิกษุนี้เรียกว่า
เป็นผู้มากด้วยการเรียน
ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯลฯ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ
สุตตะ ... เวทัลละ
เธอย่อมทราบชัด
เนื้อความของธรรมนั้น
ที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรมอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุ ฯลฯ
นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๔

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๗๘/๔๐๗ ข้อที่ ๗๓
************************************
อ่านพุทธวจนเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read?keywords=เวทัลละ&language=thai&number=78&volume=22
***********************************
ฟังพุทธวน บรรยาย ได้ที่ www.watnapp.com
อัญเชิญภาพพระสูตรโดย Maki Pijika
 — กับ ตักสิลา ล่องไพรฟ้า ฟ้า และ Maki Pijika

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น