วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ สนทนาธรรมเช้าวันพฤหัสบดี หลังฉัน 1 2015-07-30



นั่งสมาธิฟังธรรมกันคะ * ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร*

ด้วยธรรมบทนี้..พระ อัญญาโกณฑัญญะ..ดวงตาธรรม..

ฟังธรรมะบรรยายได้จาก link : https://www.youtube.com/watch?v=8-xhWNDWdWA

***************************

[๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย

เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน

เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก

ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง

ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น

นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด

ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?

ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือ

ปัญญาอันเห็นชอบ ๑

ความดำริชอบ ๑

เจรจาชอบ ๑

การงานชอบ ๑

เลี้ยงชีวิตชอบ ๑

พยายามชอบ ๑

ระลึกชอบ ๑

ตั้งจิตชอบ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น

ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน.

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ

ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์

ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์

ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์

ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์

โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ

ตัณหาอันทำให้เกิดอีก

ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน

มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ

กามตัณหา

ภวตัณหา

วิภวตัณหา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ

ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือ

วิราคะ

สละ

สละคืน

ปล่อยไป

ไม่พัวพัน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ

ปัญญาเห็นชอบ ๑ ...

ตั้งจิตชอบ ๑.

[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.

*** ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒***

****************************************

[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้

มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้

ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า

เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล

ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้

มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้

หมดจดดีแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า

เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ

อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.

อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า

ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด

ภพใหม่ไม่มีต่อไป.

ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่

ดวงตาเห็นธรรม

ปราศจากธุลี

ปราศจากมลทิน

ได้เกิดขึ้นแก่

****ท่านพระโกณฑัญญะว่า ****

*******************************

****สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา***

****สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.****

*********************************

[๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว

เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า

นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน

เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.

เทวดาชั้นจาตุมหาราช

ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

เทวดาชั้นดาวดึงส์

ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

เทวดาชั้นยามา ...

เทวดาชั้นดุสิต ...

เทวดาชั้นนิมมานรดี ...

เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ...

เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม

ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว

ก็บันลือเสียงต่อไปว่า

นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว

ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน

เขตพระนครพาราณสี

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.

ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น

เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก

ด้วยประการฉะนี้แล.

ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน

ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้

ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า

-

ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ

ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ

เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้

จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ

ด้วยประการฉะนี้.

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๔

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๑๕/๓๐๔ ข้อที่ ๑๓

************************

อ่านพุทธวจนเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…#

*********************

ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

(((สิบพระสูตรที่ชาวพุทธต้องรู้)))


Fanta Green Chaleeporn 
(((สิบพระสูตรที่ชาวพุทธต้องรู้)))
๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ 
เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด
อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง 
กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆ
ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่
ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิต
เป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐
๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้
อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก),
เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก),
เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก),
ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก),
อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).
มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๐.
๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ,
ตลอดเวลาระหว่างนั้น
ตถาคตได้กล่าวสอน
พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด
ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น
ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.
อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓
๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอัตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว :
กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่.
เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ,
พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม
เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป)
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น
นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง
ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป
เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่
เท่านั้น ;
ภิกษุทั้งหลย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต
จักมีภิกษุทั้งหลาย,
สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต
เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง
เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.
เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง
จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
-
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว
เป็นคำกล่าวของสาวก,
เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,
เธอจักฟังด้วยดี
จักเงี่ยหูฟัง
จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึ
และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น
ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก
มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓,
-
๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด
ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย
มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว
เป็นคำกล่าวของสาวก
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึ
และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต
เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ
ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;
เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า
“ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้.
-
ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้.
ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้,
ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒
-
ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทชื่อ
อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณ ีนี้คือ ภิกษ ุทั้งหลายในบริษัทใด,
เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา
-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง
คมฺภีรตฺถา-มีอรรถอันลึกซึ้
โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ
สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา
อันบุคคลนำมากล่าวอยู่,
ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง
ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
-
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ กล่าวของสาวก,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว
ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน
ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า
ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.
-
เธอเหล่านั้น
เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้
ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้
ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า
อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ
ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด,
เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย
มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว
เป็นคำ กล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่,
ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และไม่สำ คัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วน สุตตันตะเหล่าใด
อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง
เป็นโลกุตตระประกอบด้วยเรื่องสุญญตา,
เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่
พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง
ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน.
พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว
ก็สอบถามซึ่งกันและกัน
ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า
ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.
เธอเหล่านั้น
เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้
หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้
บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า
ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้
ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น
คือบริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
(บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป :
ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.
ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒
-
๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย
จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ
จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว,
จักสมาทานศึกษาในสิกขาบท
ที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด,
ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้
ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
-
๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น
ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธ
ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว
ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค)
เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)
เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค).
-
ภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้
เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค)
เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย! นี้แล
เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน
เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน
ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.
ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕
-
๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง
พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้
เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถู
ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก
ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก
ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้
ภิกษุทั้งหลาย !
นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง
ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้
ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
-
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต
คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจนะ
ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท)
พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอน
เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ,
เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไ
สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์)
มีที่อาศัยสืบกันไป.
-
ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม
ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้
ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐
๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน
๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า
ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๒ (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า
ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ
พร้อมด้วยปาโมกข์
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า
ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมาก
เป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า
ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง
เป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า
“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
-
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม
ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร
เทียบเคียงดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ไม่ได้
เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้
พึงลงสันนิษฐานว่า
“นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด”
เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
-
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ได้
เทียบเข้าในวินัยก็ได้
พึงลงสันนิษฐานว่า
“นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี”
เธอทั้งหลาย พึงจำมหาปเทส.. นี้ไว้
อุปริ. ม. ๑๔/๕๓/๔๑
-
๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า
‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว
พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้.
อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น.
อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา
-
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี
ใครก็ตามจักต้อง
-
มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
เป็นอยู่
-
อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา,
ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด แล.
-
มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘
-
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี
มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า
เป็นบุรุรษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย....
เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า...
เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย
ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.
---
ฟังพุทธวจนล้วนๆ ได้ที่ www.watnapp.com

พอจ เมตตาอธิบายให้ผู้ใหม่ได้เข้าใจเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ลองฟังกัน...



***อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา***

*****************************

https://www.youtube.com/watch?v=Dkp-N1qL5Rk

ดูกรภิกษุทั้งหลาย



#พิจารณาโดยความไม่เที่ยง



รูปไม่เที่ยง

เวทนาไม่เที่ยง

สัญญาไม่เที่ยง

สังขารไม่เที่ยง

วิญญาณไม่เที่ยง.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้



#ย่อมเบื่อหน่าย



แม้ในรูป

แม้ในเวทนา

แม้ในสัญญา

แม้ในสังขาร

แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย



#ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด



#จึงหลุดพ้น.

เมื่อหลุดพ้นแล้ว

ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว.

อริยสาวกนั้น



#ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.



#พิจารณาโดยความเป็นทุกข์



#ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย



รูปเป็นทุกข์

เวทนาเป็นทุกข์

สัญญาเป็นทุกข์

สังขารเป็นทุกข์

วิญญาณเป็นทุกข์.



อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ



#ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.



#พิจารณาโดยความเป็นอนัตตา



#ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์๕



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเป็นอนัตตา

เวทนาเป็นอนัตตา

สัญญาเป็นอนัตตา

สังขารเป็นอนัตตา

วิญญาณเป็นอนัตตา



ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป

แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา

แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น.

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.



#ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปไม่เที่ยง

สิ่งใดไม่เที่ยง

สิ่งนั้นเป็นทุกข์

สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา

#สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา #ไม่เป็นเรา #ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้



อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ

ตามความเป็นจริงอย่างนี้

เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ

สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ

สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ

วิญญาณไม่เที่ยง

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา



ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ

ตามความเป็นจริงอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.



#ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยสัญญาอันชอบ

ตามความเป็นจริงอย่างนี้

เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ

สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ

สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ

วิญญาณเป็นทุกข์

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.



#ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเป็นอนัตตา

รูปนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้

อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้

เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ

สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ

สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ

วิญญาณเป็นอนัตตา ฯลฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.



#ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเหตุปัจจัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า?

เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ

สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ

สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ

วิญญาณไม่เที่ยง

แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง.



ดูกรภิกษุทั้งหลายวิญญาณที่เกิดจากสิ่งไม่เที่ยง ที่ไหนจะเที่ยงเล่า?

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.



#ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งเหตุปัจจัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจะเป็นสุขเล่า?

เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ

สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ

สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ

วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า?

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.



#ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งเหตุปัจจัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตาที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ

สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ

สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ

วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย

วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.



#ว่าด้วยความดับแห่งขันธ์๕

พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล

ท่านพระอานนท์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

#ความดับเรียกว่านิโรธ

ความดับแห่งธรรมเหล่าไหนแล เรียกว่า นิโรธ.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์

รูปแลเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

#ความดับแห่งรูปนั้น #เรียกว่านิโรธ.



เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ

สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ

สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ

วิญญาณไม่เที่ยง

อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา

มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา

มีความดับไปเป็นธรรมดา

#ความดับแห่งวิญญาณนั้น #เรียกว่านิโรธ.



ดูกรอานนท์ ความดับแห่งธรรมเหล่านี้แล เรียกว่านิโรธ.

(ภาษาไทย) ขนธ. สํ. ๑๗/๒๐-๒๔/๓๙-๔๘.

#ถ้าเราช่วยกันเผยแผ่คำตถาคต




#ถ้าเราช่วยกันเผยแผ่คำตถาค
ช่วยกันเพราะนานๆ จะเกิดขึ้นที( ๓ พระสูตรที่สอดรับกัน.ตรัสซ้ำกัน)
ค่ำเสาร์ วัดนาป่าพง
https://www.youtube.com/watch?v=rxU8wTYJKaU&feature=youtube_gdata_player
#บุคคลหาได้ยากในโลก
#รัตนะ๕ หาได้ยากในโลก
#ความปรากฎขึ้นแห่งเหตุ ๖ ประการหาได้ยากในโลก
#แสดงธรรมว่าเป็นธรรม ย่อมได้บุญอันประเสริฐ
#ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป ฯ
----
ทุลลภสูตร
[๕๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความปรากฏแห่งบุคคล ๓ จำพวกหาได้ยากในโลก
บุคคล ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
-
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑
กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความปรากฏแห่งบุคคล ๓ จำพวกนี้แล
หาได้ยากในโลก ฯ
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
หน้าที่ ๒๕๓ ข้อที่ ๕๕๓ - ๕๕๔
-
http://etipitaka.com/read/thai/20/253/?keywords=ทุลลภสูตร
-
#เป็นหนึ่งในรัตนะ๕ หาได้ยากในโลก
ดูกรเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ประการเป็นของหาได้ยาก
แก้ว ๕ ประการเป็นไฉน คือ
-
ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ๑
บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ๑
บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
ซึ่งผู้อื่นแสดงให้ฟังแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ๑
กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑
-
ดูกรเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล
เป็นของหาได้ยากในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๓
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๑๕๒ ข้อที่ ๑๔๔
-
http://etipitaka.com/read/thai/22/152/?keywords=แก้ว+หาได้ยาก
--
#ความปรากฏขึ้นแห่งเหตุ ๖ ประการหาได้ยากในโลก
๑. ปาตุภาวสูตร
[๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความปรากฏขึ้นแห่งเหตุ ๖ ประการเป็นของหาได้อยากในโล
เหตุ ๖ ประการเป็นไฉน คือ
-
ความปรากฏขึ้นแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า๑
บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑
ความเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศ (ที่มีพระอริยเจ้า) ๑
ความเป็นผู้มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ๑
ความไม่เป็นใบ้บ้าน้ำลาย ๑
ความพอใจในกุศลธรรม ๑
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความปรากฏขึ้นแห่งเหตุ ๖ ประการนี้แล
เป็นของหาได้อยากในโลก ฯ
-
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๓๙๔ ข้อที่ ๓๖๗ - ๓๖๘
หน้าที่ 394
-
http://etipitaka.com/read/thai/22/394/?keywords=ปาตุภาวสูตร
--
#แสดงธรรมว่าเป็นธรรม ย่อมได้บุญอันประเสริฐ
#ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป ฯ
#แสดงธรรมว่าเป็นธรรม
ย่อมได้บุญอันประเสริฐ
#ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป ฯ
๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้ บัญญัติไว้
๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้
ย่อมไม่ แยกทำอุโบสถ
ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม
ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน ฯ
[๔๐๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า
ก็ภิกษุสมานสงฆ์ที่ แตกกันแล้วให้
พร้อมเพรียงกัน จะได้รับผลอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี
ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้ พร้อมเพรียงกัน
ย่อมได้บุญอันประเสริฐ
#ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๗
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
หน้าที่ ๑๔๐/๒๗๙ ข้อที่ ๔๐๗-๔๐๙
---------------
อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจากโปรแกรม E-Tipitaka
http://etipitaka.com/read
--

ความเข้าใจผิดในกาลามสูตร




กาลามสูตร ข้อที่ 10 ชาวพุทธต้อง ล้างสัญญาเก่าให้สิ้น มิฉะนั้นคุณจะทำบาป ไม่ใช่น้อย


#กาลามสูตร

กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร

อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
#อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า #ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

แต่ทุกคนอาจเข้าใจผิดตลอดมาหรือสอนต่อกันมาว่า สมณะนี้ หมายถึง พระสมณะโคดม องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาของ คำสอนพุทธด้วย จะยุ่งกันใหญ่

#ล้างความคิดนั้นเสีย

สมณะในข้อ 10 นี้คือ นักบวชทุกคนที่ยังไม่ตรัสรู้ เพราะคำสอนนั้นอาจพลาด และสร้างมิจฉาทิฎฐิ สอนความเห็นผิดได้

บังเอิญว่า ผมโชคดี ที่เคยคิดผิด แต่ไปได้ดูคลิปของพระอาจารย์คึกฤทธิ์ กล่าวเรื่องนี้ว่า พิจารณาให้ดี เพราะมีพระสูตรอีกมากมาย ที่อธิบายว่า ความหมายข้อ 10 #นี้ยกเว้นพระพุทธเจ้า #ยกเว้นพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า #ยกเว้นว่า #สมณะนั้นจำคำพระพุทธเจ้ามาตรง จำมาถูก จำมาครบ แล้วถ่ายทอด

พระพุทธเจ้าได้ วางหลัก มหาประเทศ 4 ไว้แก้ไขเรื่องนี้ไว้หมดแล้ว อย่าเพิ่งปักใจเชื่อถ้า ไปเจอนักบวช มรณะ หรือพระสงฆ์ท่านนั้นสอนอยู่ สมมุติว่าคนฟังก็ไม่มีสูตตะไม่รู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย (ยากขึ้นอีก) พระพุทธเจ้าบอกว่า ฟังแล้วอย่าเพิ่งรับรอง อย่าเพิ่งคัดค้าน คำสอนนั้น แต่ ให้กำหนดจำเนื้อความที่สอนนั้นให้ดี แล้วค่อยนำมาตรวจสอบกับคำพระพุทธเจ้า ในพระสุตร ในภายหลัง

พระสูตรมีดังนี้..

"พวกเธออย่าพึงรับรอง อย่าพึงคัดค้าน เธอกำหนดเนื้อความนั้นให้ดีแล้วนำไปสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
#ถ้าลงกันได้เทียบเคียงกันได้ พึงแน่ใจว่า #นั่นเป็นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่แล้วภิกษุรูปนั้น #จำมาอย่างดีแล้ว พวกเธอ #พึงรับเอาไว้

#ถ้าลงกันไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ พึงแน่ใจว่า #นั้นไม่ใช่คำของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่นอน ภิกษุรูปนั้น #จำมาผิด พวกเธอพึง #ทิ้งคำเหล่านั้นเสีย
เธอทั้งหลายพึงจำมหาประเทศสี่นี้ไว้"

นี้คือ หลักที่นำมาแก้ไข กาลามสูตร ข้อที่ 10

เหตุที่นำมาเรียบเรียงให้อ่าน เพราะ มีการสนทนาคำพระพุทธเจ้า
แล้วมี ท่านหนึ่ง หมั่นใจมาก บอกมาว่า......

#อย่าเพิ่งวางใจเชื่อ.....#คำพระพุทธเจ้า!!!!!
ผมรู้เลยว่า ท่านผู้นี้จะกล่าวต่อว่าอะไร ก็ตรงที่คิด คือท่านผู้นี้อ้าง #กาลามสูตร หาว่า#พระพุทธเจ้า บอกว่า #อย่าเพิ่งเชื่อคำสอนท่าน!!

เอ๊ย เอาไว้ไม่ได้แล้ว ถ้าไม่รีบชี้แจ้ง จะพากันตกนรก มาตู่ กล่าวหาพระพุทธเจ้า ว่า ไม่ให้เชื่อ พระพุทธเจ้า อย่าเพิ่งเชื่อ พระสัทธรรม จากการตรัสรู้ อย่าเชื่อความจริงอันประเสริฐ

นรก ชัดๆ แย่ว่า #ภิกษุชื่สาติ ตู่ว่า พระพุทธเจ้า สอนว่าวิญญาณคือตัวท่องเทียวไปเวียนว่ายตายเกิด

เพราะนี้คือ เพียร แปล และบอกคนพุทธว่า อย่ามาเชื่อศาสนาพุทธ อย่ามาเชื่อคำสอนเลย

หรือมีบางท่านเข้าใจว่า อย่าเพิ่งเชื่อจนกว่าจะเห็นธรรม จนกว่าจะปฏิบัติจนเห็นจริง???? ไม่เชื่อ ก็ยากที่จะเห็นธรรม

#ต่อไปนี้คือการแจ้งและท่านต้องคิดตามว่าเป็นตามนี้ไหม

ถ้าทุกคนหรือคุณไม่เชื่อคำพระพุทธเจ้าเสียแล้ว
ก็ไม่รู้แนวทางของผู้ตรัสรู
คุณไม่รู้แนวทางไม่มีความรู้พระพุทธเจ้าเลย..ถามว่า..คุณก็จะเห็นธรรมใคร? จะปฏิบัติอย่างไร..ได้อย่างไร จริงไหม?

จะเชื่อเล่นๆ คงไม่มีอริยบุคคลตามมาแน่นอ
ชาวพุทธ คงต้องแสวงหาธรรมเอง ตรัสรู้กันเอง นั้นแล
นี้คือการแปลและเห็นผิดอย่างรุนแรง

จึงบอกว่า อันดับแรก อย่าเชื่อ คนมาบอกแบบนี้ดีกว่า เส้นทางนิพพานเปิดรอท่านเลยเพราะท่านได้ผ่านศรัทธา สัมมาทิฎฐิแล้ว
#มรรคองค์ที่ 1 เกิดแล้ว

คงไม่มีพระอรหันต์ ผู้เดินตามองค์ใด ไม่เชื่อ ไม่ศรัทธา แต่เพียรทำตามจน บรรลุแล้วค่อยมาเชื่อ แล้วมาศรัทธา หลังเห็นธรรมแล้ว จริงไหม
#ความศรัทธาย่อมมาจากเชื่อก่อน
#ไม่มีความเชื่อแต่เกิดศรัทธา ไม่น่าจะมีในโลกนี้แน่
คุณเห็นปัญหาการเข้าใจผิดส่วนนี้หรือยัง

มีปัจเจกพระพุทธเจ้า ตรัสรู้เองโดยชอบ แต่ไม่ธรรมสอนสิ่งที่พบ
ถ้าพระสมณะโคดม คิดแบบนั้นจริง ก็คงไม่มี พุทธบริษัท เกิดขึ้นครบ ก็เท่ากับ ไม่มีการเผยแผ่คำสอน

เพราะ คำว่าอย่าเชื่อ ถ้าไม่ทำตามยิ่งเป็นไปไม่ได

ล้างสัญญาเก่าๆ หรือล้างความจำได้หมายรู้ในการจำผิดๆ จากกาลามสุตร จากการตีความผิดๆเสีย
ความรู้ จากการตรัสรู้ จะมาแปลว่า พระพุทธเจ้าไม่ให้เชื่อ คำสอน

คือความเห็นผิด อย่างมหันต์

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

arsa 20150730



ฟังธรรมวันอาสาฬหบูชา วัดนาป่าพง

**** ปฐมเทศนา****

*** ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร****

ฟังธรรมะบรรยายได้จาก link : https://www.youtube.com/watch?v=vgZmGFCTT6A

***************************

[๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย

เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน

เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก

ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง

ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น

นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด

ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?

ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือ

ปัญญาอันเห็นชอบ ๑

ความดำริชอบ ๑

เจรจาชอบ ๑

การงานชอบ ๑

เลี้ยงชีวิตชอบ ๑

พยายามชอบ ๑

ระลึกชอบ ๑

ตั้งจิตชอบ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น

ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน.

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ

ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์

ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์

ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์

ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์

โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ

ตัณหาอันทำให้เกิดอีก

ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน

มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ

กามตัณหา

ภวตัณหา

วิภวตัณหา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ

ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือ

วิราคะ

สละ

สละคืน

ปล่อยไป

ไม่พัวพัน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ

ปัญญาเห็นชอบ ๑ ...

ตั้งจิตชอบ ๑.

[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.

*** ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒***

****************************************

[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้

มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้

ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า

เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล

ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้

มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้

หมดจดดีแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า

เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ

อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.

อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า

ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด

ภพใหม่ไม่มีต่อไป.

ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่

ดวงตาเห็นธรรม

ปราศจากธุลี

ปราศจากมลทิน

ได้เกิดขึ้นแก่

****ท่านพระโกณฑัญญะว่า ****

*******************************

****สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา***

****สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.****

*********************************

[๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว

เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า

นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน

เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.

เทวดาชั้นจาตุมหาราช

ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

เทวดาชั้นดาวดึงส์

ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

เทวดาชั้นยามา ...

เทวดาชั้นดุสิต ...

เทวดาชั้นนิมมานรดี ...

เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ...

เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม

ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว

ก็บันลือเสียงต่อไปว่า

นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว

ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน

เขตพระนครพาราณสี

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.

ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น

เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก

ด้วยประการฉะนี้แล.

ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน

ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้

ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า

ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ

ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ

เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้

จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ

ด้วยประการฉะนี้.

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๔

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๑๕/๓๐๔ ข้อที่ ๑๓

************************

อ่านพุทธวจนเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…#

*********************

ฟังพุทธวจน บรรยายได้ที่ www.watnapp.com

#แบบปฏิบัติลำบาก #ประสพผลช้า


#แบบปฏิบัติลำบาก #ประสพผลช้า
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ 
-
เป็นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย 
มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร 
มีสัญญาในโลกทั้งปวงโดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม
เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่
คือ สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;
แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น
ปรากฏว่าอ่อน คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน
ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ
เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.
-
จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๐๒ / ๑๖๓.

‪#‎แบบปฏิบัติลำบาก‬ ‪#‎ประสพผลเร็ว‬


‪#‎แบบปฏิบัติลำบาก‬ ‪#‎ประสพผลเร็ว‬
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ 
เป็นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย 
มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร 
มีสัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.
-
ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ
เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;
-
แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น
ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.
เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุ
นั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.
-
จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๐๒ / ๑๖๓.

***ติเรา...ติพระธรรม...ติพระสงฆ์***


***ติเรา...ติพระธรรม...ติพระสงฆ์***
***************************
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย 

#คนพวกอื่นจะพึงกล่าว
#ติเรา
#ติพระธรรม
#ติพระสงฆ์

ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต
ไม่ควรโทมนัสน้อยใจ ไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าว

#ติเรา
#ติพระธรรม
#ติพระสงฆ์

ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น

#อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย
#เพราะเหตุนั้นเป็นแน่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าว

#ติเรา
#ติพระธรรม
#ติพระสงฆ์

ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น
เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูก หรือคำที่เขาพูดผิดได้ละหรือ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าว

#ติเรา
#ติพระธรรม
#ติพระสงฆ์

ในคำที่เขากล่าวตินั้น

#คำที่ไม่จริง
#เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่า
#นั่นไม่จริง #แม้เพราะเหตุนี้
#นั่นไม่แท้ #แม้เพราะเหตุนี้
#แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย
#และคำนั้นจะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพวกอื่นจะพึงกล่าว

#ชมเรา
#ชมพระธรรม
#ชมพระสงฆ์

เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ไม่ควรดีใจ
ไม่ควรกระเหิมใจในคำชมนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าว

ชมเรา
ชมพระธรรม
ชมพระสงฆ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเธอทั้งหลายจักเบิกบานใจ จักดีใจ
จักกระเหิมใจในคำชมนั้น
#อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย
#เพราะเหตุนั้นเป็นแน่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าว

ชมเรา
ชมพระธรรม
หรือชมพระสงฆ์

ในคำชมนั้น

#คำที่จริง
#เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า
#นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้
#นั่นแท้แม้เพราะเหตุนี้
#แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลา
#และคำนั้นจะหาได้ใน
เราทั้งหลาย.
--------------
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
หน้าที่ ๒/๓๘๓ ข้อที่ ๑
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=0&volume=9#