วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สนทนาธรรมบ่ายวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฏาคม 2558
**วิชชาจรณสัมปทา**
ต้องปล่อยวาง..การอ้างโคตร อ้างชาติ อ้างมานะ จะได้
จรณะสมบัติ.ตั้งแต่.สัมปะนะสีลา, ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔
วิชชาสมบัติ.ตั้งแต่.การได้ญาณทัศนะฯลฯ
ประมาณนาทีที่ 19.00>> https://www.youtube.com/watch?v=oVExho1oqug&feature=share
#วิชชาจรณสัมปทา
[๑๖๒] อัมพัฏฐมาณพทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ก็จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้นเป็นไฉน.
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอัมพัฏฐะ
ในวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม
เขาไม่พูดอ้างชาติอ้างโคตรหรืออ้างมานะว่า
ท่านควรแก่เรา หรือท่านไม่ควรแก่เรา
อาวาหมงคล วิวาหมงคล
หรืออาวาหวิวาหมงคล มีในที่ใด
ในที่นั้นเขาจึงจะพูดอ้างชาติบ้าง
อ้างโคตรบ้าง หรืออ้างมานะบ้างว่า
ท่านควรแก่เรา หรือท่านไม่ควรแก่เรา
ชนเหล่าใดยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ
ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร
ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ
หรือยังเกี่ยวข้องด้วยอาวาหวิวาหมงคล
ชนเหล่านั้น ชื่อว่ายังห่างไกลจากวิชชาสมบัติ และจรณสมบัติ
-
อันเป็นคุณยอดเยี่ยม
การทำให้แจ้งซึ่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติ
อันเป็นคุณยอดเยี่ยมย่อมมีได้
เพราะละการเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ
ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร
ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ
และความเกี่ยวข้องด้วยอาวาหวิวาหมงคล.
-
[๑๖๓] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้นเป็นไฉนเล่า.
ดูกรอัมพัฏฐะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย
พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว
ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์
ให้รู้ตามทรงแสดงธรรมงาม
ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ทรงประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี
หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง
ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต
เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี
บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง
การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว
ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย
ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต
สมัยต่อมาเขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่
ละเครือญาติน้อยใหญ่
ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วสำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่
ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร
มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ประกอบด้วยกายกรรมวจีกรรมที่เป็นกุศล
มีอาชีพบริสุทธิ์
ถึงพร้อมด้วยศีล
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.
จุลศีล
---
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙
สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
หน้าที่ ๙๒ ข้อที่ ๑๖๒
--
อ่านพระสูตรเพิ่มเติมจาก โปรแกรม E-Tipitaka ;
link ; http://etipitaka.com/read/thai/9/92/?keywords=%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0
--
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น