วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สนทนาธรรมหลังฉันท์เช้าวันอาทิตย์ที่ 19 กรกฏาคม 2558



#9อาการของจิตที่ซ้อนอยู่ในสายปฏิจฯ...ระหว่าง..ตัณหา..ไป..อุปาทาน..

ประมาณนาที <<52.19>>https://www.youtube.com/watch?v=R_NccfOd7Mw&feature=share

--

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.

๙ อย่าง อย่างไรเล่า ?



๙ อย่าง คือ :-

เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา);

เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);

เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);

เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);

เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมีความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);

เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห);

เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่(มจฺฉริยํ);

เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น(อารกฺโข);

เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ) ;



กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม

การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท

การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด

และการพูดเท็จทั้งหลาย :

ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม.



ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่าธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.



(ไทย)นวก. อํ. ๒๓/๓๒๒/๒๒๗

--

#อริยญายธรรม คือการรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท

คหบดี ! ก็อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวก

เห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดีด้วยปัญญา เป็น

อย่างไรเล่า ?

คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อม

พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้

เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี;

เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี;

เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป :

ข้อนี้ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;

เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;

เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป;

เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;

เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;

เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;

เพราะมีอุปาทานปัจจัย จึงมีภพ;

เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;

เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ

ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วย

อาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น

นั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;

เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ;

เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป;

เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ;

เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ;

เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา;

เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา;

เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน;

เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ;

เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ;

เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ

ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลง

แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

คหบดี ! อริยญายธรรมนี้แล เป็นสิ่งที่อริยสาวก

เห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา.

ทสก. อ. ๒๔/๑๙/๗๙๒.

---

อ่านพุทธวจน เพิ่มเติมจากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read/thai/23/322/

--

พุทธวจน faq 9 อาการของจิต จากตัณหาไปอุปาทานมีอะไรบ้าง มีอาการอย่างไร

http://faq.watnapp.com/th/practice/85-old-practice/673-01-02-0068

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น