วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
บรรยายธรรมนอกสถานที่ ณ ศาลาเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราช จันทบุรี
**สัตว์เวียนว่ายตายเกิด***
https://www.youtube.com/watch?v=lwTO7jXWlNk
#สิ่ง #สิ่งหนึ่ง
ภิกษุ ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้:“สิ่ง” สิ่งหนึ่ง
ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ไม่มีที่สุด
แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ,นั้นมีอยู่.
ใน “สิ่ง”นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง”
นั้นแหละความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม
ไม่หยั่งลงได้. ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูปย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ.
นามรูป ดับสนิทใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ, ดังนี้”.
บาลี เกวัฏฏสูตร สี. ที. ๙/๒๗๗/๓๔๓.
ตรัสแก่เกวัฏฏะคหบดี ที่ปาวาริกัมพวัน เมืองนาลันทา.
---
#สัตว์ต้องเวียนว่ายเพราะไม่เห็นอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ
บางคราวตกเอาโคนลง
บางคราวตกเอาตอนกลางลง
บางคราวตกเอาปลายลง, ข้อนี้ฉันใด ;
-
ภิกษุทั้งหลาย !
สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
แล่นไปอยู่
ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ
-
ก็ทำนองเดียวกัน
บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น
บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
-
ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
-
ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรม
อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๙๗
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙ / ๔๓๕ / ๑๗๑๖
---
#ความสิ้นตัณหา คือ #นิพพาน (เหตุที่เรียกว่า “สัตว์”)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้,
อันว่าสัตว์มีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”
ราธะ !
ความพอใจอันใด
ราคะอันใด
นันทิอันใด
ตัณหาอันใด
มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา
ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ,
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้น ๆ,
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘สัตว์’ ดังนี้
--
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๔๒๑
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗ / ๑๙๑ / ๓๖๗
http://etipitaka.com/read?language=thai&number=191&volume=17
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น