วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สนทนาธรรมบ่ายวันศุกร์ที่ 17 กรกฏาคม 2558
#ผีอำ ทำไง
#เวลานั่งสมาธิแล้วคิดถึงแต่สิ่งไม่ดีที่เคยทำมา จะแก้ไขอย่างไร?
https://www.youtube.com/watch?v=yaEvWXkBg_s&feature=share
#ถูกทวงหนี้
เรากล่าว การประพฤติทุจริต ของเขานี้ว่าเป็น
การกู้หนี้.
เพื่อจะปกปิดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตของเขา
เขาตั้งความปรารถนาลามก ปรารถนาไม่ให้ใครรู้จักเขา
ดำริไม่ให้ใครรู้จักเขา พูดจาเพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขา ขวนขวาย
ทุกอย่างเพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขา,
เรากล่าวการปกปิดความทุจริตอย่างนี้ของเขานี้
ว่าเป็น ดอกเบี้ยที่เขาต้องใช้.
เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก พากันกล่าว
ปรารภ เขาอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุนี้ทำอะไร ๆ (ทุจริต)
อย่างนี้ มีปกติประพฤติกระทำอะไร ๆ (ทุจริต) อย่างนี้”,
เรากล่าว การถูกกล่าวอย่างนี้ ว่าเป็นการถูกทวงหนี้.
เขาจะไปอยู่ป่าก็ตาม อยู่โคนไม้ก็ตาม อยู่เรือนว่าง
ก็ตาม อกุศลวิตก อันลามกประกอบอยู่ด้วยความร้อนใจ
ย่อม เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตใจเขา,
เรากล่าวอาการอย่างนี้ ว่าเป็น การถูกติดตาม
เพื่อทวงหนี้.
ภิกษุ ท. ! คนจนชนิดนี้
ครั้นประพฤติกาย –วจี – มโนทุจริตแล้ว
ภายหลังแต่การตาย เพราะการแตก
ทำลายแห่งกาย ย่อม ถูกจองจำอยู่ในนรก บ้าง
ในกำเนิดเดรัจฉาน บ้าง.
ภิกษุ ท. ! เราไม่มองเห็นการจองจำอื่นแม้
อย่างเดียวที่ทารุณอย่างนี้เจ็บปวดอย่างนี้ เป็นอันตราย
อย่างนี้ ต่อการบรรลุโยคักเขมธรรมอันไม่มีธรรมอื่น
ยิ่งกว่าเหมือนการถูกจองจำในนรก หรือในกำเนิด
เดรัจฉานอย่างนี้.(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ความยากจนและการกู้หนี้ ท่านกล่าวว่าเป็น
ความทุกข์ในโลก.
คนจนกู้หนี้มาเลี้ยงชีวิต ย่อมเดือดร้อน เพราะ
เจ้าหนี้ติดตามบ้าง เพราะถูกจับกุมบ้าง.
การถูกจับกุมนั้น เป็นความทุกข์ของคนบูชา
การได้กาม.
ถึงแม้ในอริยวินัยนี้ก็เหมือนกัน :
ผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
สั่งสมแต่บาปกรรม กระทำกายทุจริต - วจีทุจริต
- มโนทุจริต
ปกปิดอยู่ด้วยการกระทำทางกาย ทางวาจา ทาง
จิต เพื่อไม่ให้ผู้ใดรู้จักเขา,
ผู้นั้น พอกพูนบาปกรรมอยู่เนืองนิตย์ ในที่นั้น ๆ.
คนชั่วทำบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน
เสมือนคนยากจน กู้หนี้มาบริโภคอยู่ ย่อมเดือดร้อน.
ความตริตรึกที่เกิดจากวิปฏิสาร อันเป็นเครื่อง
ทรมานใจ ย่อมติดตามเขา ทั้งในบ้านและในป่า.
คนชั่วทำบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน
ไปสู่กำเนิดเดรัจฉานบางอย่างหรือว่าถูกจองจำอยู่ในนรก.
การถูกจองจำนั้นเป็นทุกข์ ชนิดที่ธีรชนไม่เคยประสบเลย.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๑๖.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น