วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
พอจ คึกฤทธิ์ถวายพระสูตรโยมแม่นฤมลผู้ล่วงลับ
**พอจ คึกฤทธิ์ถวายพระสูตรโยมแม่นฤมลผู้ล่วงลับ**
https://www.youtube.com/watch?v=udUu0zQ42qA&feature=youtu.be
#ศรแห่งความโศก
#ฐานะ๕ประการ
๘. ฐานสูตร
[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ ๕ ประการเป็นไฉน คือฐานะว่า
• ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑
• ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ ๑
• ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา[ของเรา] อย่าตาย ๑
• ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าสิ้นไป ๑
• ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหาย ๑
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา
ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมแก่ไป
เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว
เขาย่อมไม่เห็นดังนี้ว่า
● ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น แก่ไป
โดยที่แท้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา
ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป
การจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น
ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว
พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไรทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน
แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม
แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก
แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ
แม้พวกมิตรพึงเสียใจ ดังนี้
เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย
นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศร
คือ ความโศกที่มีพิษแทงเข้าแล้ว
ย่อมทำตนให้เดือดร้อน
-
● ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ...
● สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมตายไป ...
● สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ...
● สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไปเมื่อสิ่ง
-
ที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว
เขาย่อมไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป
โดยที่แท้ สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง
ที่มีการมาการไปการจุติ การอุปบัติ ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น
ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว
พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญหลงงมงาย
แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน
แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม
แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก
แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ
แม้พวกมิตรพึงเสียใจ ดังนี้
เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว
เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ หลงงมงาย
นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกลูกศร
คือ ความโศกที่มีพิษแทงเข้าแล้ว
ย่อมทำตนให้เดือดร้อน
-
• ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ส่วนว่าสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา
ของอริยสาวกผู้ได้สดับ
ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นแก่ไป
โดยที่แท้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา
ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป
การจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น
ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว
พึงเศร้าโศกลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย
แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน
แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม
แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก
แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ
แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้
เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว
อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร
ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย
นี้เรียกว่าอริยสาวกผู้ได้สดับ
ถอนลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ
เป็นเครื่องเสียบแทงปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ
ทำตนให้เดือดร้อน
อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร
ย่อมดับทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง
-
• ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ...
• สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป...
• สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ...
• สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป
เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว
อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นว่า
ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป
โดยที่แท้สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง
ที่มีการมา การไปการจุติการอุปบัติ
ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น
ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว
พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย
แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน
แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม
แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก
แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ
แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้
เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว
อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศกไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร
ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย
นี้เรียกว่าอริยสาวกผู้ได้สดับ
ถอนลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ
อันเป็นเครื่องเสียบแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำให้เดือดร้อน
อริยสาวกผู้ไม่มีความโศกปราศจากลูกศร
ย่อมดับความทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล
-
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใครๆในโลกไม่พึงได้ ฯ
ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้
อันใครๆ ย่อมไม่ได้
เพราะการเศร้าโศก
เพราะการคร่ำครวญ
พวกอมิตรทราบว่าเขาเศร้าโศก เป็นทุกข์ ย่อมดีใจ
ก็คราวใด บัณฑิตผู้พิจารณารู้เนื้อความ
ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหมด
คราวนั้น พวกอมิตรเห็นหน้าอันไม่ผิดปรกติของบัณฑิตนั้น
ยิ้มแย้มตามเคยย่อมเป็นทุกข์
บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใดๆ ด้วยประการใดๆ
เพราะการสรรเสริญ
เพราะความรู้
เพราะกล่าวคำสุภาษิต
เพราะการบำเพ็ญทาน
หรือเพราะประเพณีของตนก็พึงบากบั่นในที่นั้นๆ ด้วยประการนั้นๆ
ถ้าพึงทราบว่าความต้องการอย่างนี้อันเราหรือผู้อื่นไม่พึงได้ไซร้
ก็ไม่ควรเศร้าโศก
ควรตั้งใจทำงานโดยเด็ดขาดว่า บัดนี้เราทำอะไรอยู่
ดังนี้ ฯ
-
จบสูตรที่ ๘
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๔๘/๔๐๗ ข้อที่ ๔๘
••••••••••••••••••
-
พระสูตรที่สอง...
#สังสารวัฏ..น้ำตา..น้ำในมหาสมุทรทั้ง 4
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา
คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ
เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้
กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔
สิ่งไหนจะมากกว่ากัน ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบธรรมตามที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า
น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์
ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่
เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจ
เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ
โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ
[๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้
ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ
ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ
โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน
น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น
ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่
เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ
เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ มากกว่า
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ...
ของพี่ชายน้องชาย พี่สาว
น้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ...
ความเสื่อมแห่งญาติ ...ความเสื่อมแห่งโภคะ ...
ได้ประสบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน
น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น
ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรค
คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ
เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็เหตุเพียงเท่านี้
พอทีเดียว
เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
พอเพื่อจะคลายกำหนัดพอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
หน้าที่ ๑๗๘/๒๘๘ ข้อที่ ๔๒๔-๔๒๖
http://etipitaka.com/read…
--------------------
พระสูตรที่สาม..
#เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ
ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง, เราและ
พวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน
ถึงเพียงนี้. ภิกษุ ท. ! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะ
ไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจคือทุกข์, อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์, อริยสัจคือ
ความดับไม่เหลือของทุกข์ และอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของ
ทุกข์ ; เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาล
ยืดยาวนานถึงเพียงนี้.
; ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.
--------------------
พระสูตรที่สี่
อานนท์ ! ตถาคตได้บอกแล้วมิใช่หรือ ว่าสัตว์
จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น, สัตว์จะได้
ตามปรารถนา ในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า, ข้อที่สัตว์จะหวัง
เอาสิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีการแตกดับ
เป็นธรรมดา ว่าสิ่งนี้อย่าฉิบหายเลยดังนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะ
ที่มีได้ เป็นได้.
มู. ม. ๑๒/๑๖๓/๑๙๒, มหาวาร. สํ ๑๙/๒๘๗/๙๖๓.
สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่
ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต
ทั้งที่มั่งมี และ ยากจน
ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปถึง ในเบื้องหน้า.
เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว
ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้ว และยังดิบ
ล้วนแต่มีการแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด
ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น
วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว
เราจักละพวกเธอไป
สรณะของตัวเองเราได้ทำไว้แล้ว
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
มีสติ มีศีลเป็นอย่างดี
มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี
ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด
ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว
จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
มหา. ที. ๑๐/๑๔๑/๑๐๘.
------------------------
#พระสูตรที่ห้า
ภิกษุทั้งหลาย ! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่องโลกนี้
ฉลาดในเรื่อง โลกอื่น, เป็นผู้ฉลาดต่อวัฏฏะ
อันเป็นที่อยู่ของมาร ฉลาดต่อ วิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมาร,
เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฏฏะอันเป็นที่อยู่ของมฤตยู
ฉลาดต่อ วิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมฤตยู.
ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟังควรเชื่อ
ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.
ทั้งโลกนี้แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่
ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว. ทั้งที่ที่มารไปไม่ถึง
และที่ที่มฤตยูไปไม่ถึง ตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัด
ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะความรู้โลกทั้งปวง.
ประตูนครแห่งความไม่ตาย ตถาคตเปิดโล่งไว้แล้ว
เพื่อสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงถิ่นอันเกษม.
กระแสแห่งมารผู้มีบาป ตถาคตปิดกั้นเสียแล้ว กำจัดเสียแล้ว
ทำให้หมดพิษสงแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากมูมด้วยปราโมทย์
ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะเถิด.
-บาลี มู.ม. ๑๒/๔๒๑/๓๙๑.
--------------------------
---------------------------------
ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่
http://www.buddhakos.org/
http://watnapp.com/
http://media.watnapahpong.org/
http://www.buddhaoat.org/
------------------------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น