วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พุทธวจน-กาลามสูตร



‪**กาลามสูตร***

บทสรุปท้ายพระสูตร

-(ทำไปแล้วกุศลเจริญหรืออกุศลเจริญ โดยการใช้ศีล๕ สี่ข้อแรกเป็นเกน)

ศีล๕ ..๔ ข้อแรก จัดเป็นอกุศล..สำหรับใช้วัดสอบ.กาลามสูตร(ดูท้ายพระสูตร)

สอดรับกับพระสูตร..ธรรมเคร่ืองกลับใจ..พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หน้าที่ ๑๘๒ ข้อที่ ๑๙๓

-

http://etipitaka.com/read/thai/21/182/…

--

https://www.youtube.com/watch?v=_h_HekW40F0

#‎กาลามสูตร‬(อย่าหูเบา)

ฝ่ายอกุศล

กาลามทั้งหลายเอ๋ย ! มา (พูดกัน)เถิดท่านทั้งหลาย :-

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าฟังตามๆกันมา (อนุสฺสว)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่ากระทำตามๆกันมา (ปรมฺปร)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าเล่าลือกันอยู่(อิติกิร)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่ามีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาน)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าการใช้เหตุผลทางตรรกคาดคะเน (ตกฺกเหตุ)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่า การใช้เหตุผลทางนัยะสันนิฏฐาน (นยเหตุ)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าการตรึกตามอาการ (อาการปริวิตกฺก)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติ)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าฟังดูน่าเชื่อ(ภพฺพรูปตา)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าสมณะผู้พูดเป็นครูของตน (สมโณโนครุ).

กาลามทั้งหลาย! เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า

“ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล, ธรรมเหล่านี้ มีโทษ,

ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนติเตียน, ธรรมเหล่านี้

กระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความทุกข์

ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล,” ดังนี้แล้ว;

เมื่อนั้นท่านพึงละธรรมเหล่านั้นเสีย.

--

ฝ่ายกุศล

กาลามทั้งหลายเอ๋ย ! มา (พูดกัน) เถิด ท่านทั้งหลาย

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าฟังตามๆกันมา (อนุสฺสว)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่ากระทำตามๆกันมา (ปรมฺปร)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าเล่าลือกันอยู่(อิติกิร)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่ามีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาน)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าการใช้เหตุผลทางตรรกคาดคะเน (ตกฺกเหตุ)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าการใช้เหตุผลทางนัยะสันนิฏฐาน(นยเหตุ)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าการตรึกตามอาการ (อาการปริวิตกฺก)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติ)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าฟังดูน่าเชื่อ(ภพฺพรูปตา)

อย่าถือเอาว่าจริงเพราะเหตุสักว่าสมณะผู้พูดเป็นครูของตน (สมโณโนครุ).

กาลามทั้งหลาย ! เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า

“ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล, ธรรมเหล่านี้ ไม่มีโทษ,

ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนสรรเสริญ, ธรรมเหล่านี้

กระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว

เป็นไปเพื่อความสุขเป็นประโยชน์ เกื้อกูล,” ดังนี้แล้ว;

เมื่อนั้นท่านพึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้นแล้วแลอยู่เถิด.

--

(ไทย) ติก.อํ. ๒๐/๑๗๙-๑๘๔/๕๐๕:

(บาลี) ติก.อํ. ๒๐/๒๔๑-๒๔๗/๕๐๕

--

***ผู้เชื่อฟังตถาคต ย่อมได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน***

********************************************************

ภิกษุทั้งหลาย ! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่องโลกนี้

ฉลาดในเรื่อง โลกอื่น,

เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฎฎะอันเป็นที่อยู่ของมาร

ฉลาดต่อ วิวัฎฎะอันไม่เป็นที่อยู่ของมาร,

เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฎฎะอันเป็นที่อยู่ของมฤตยู

ฉลาดต่อ วิวัฎะอันไม่เป็นที่อยู่ของมฤตยู.

ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟังควรเชื่อ

ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.

(ครั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้แล้ว พระสุคตได้ตรัสคำอื่นอีกดังนี้ว่า)

ทั้งโลกนี้แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่ ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว.

ทั้งที่ที่มารไปไม่ถึง และที่ที่มฤตยูไปไม่ถึง

ตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัดได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว

เพราะความรู้โลกทั้งปวง.

ประตูนครแห่งความไม่ตาย

ตถาคตเปิดโล่งไว้แล้ว

เพื่อสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงถิ่นอันเกษม.

กระแสแห่งมารผู้มีบาป ตถาคตปิดกั้นเสียแล้ว

กำจัดเสียแล้ว ทำให้หมดพิษสงแล้ว.

ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงเป็น

ผู้มากมูนด้วยปราโมทย์

ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะเถิด.

กาลามทั้งหลาย ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร :

ความไม่โลภเกิดขึ้นในบุคคลแล้ว

เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล?

“เพื่อประโยชน์เกื้อกูล พระเจ้าข้า !”

บุคคลนั้นไม่โลภแล้ว

ความโลภไม่ครอบงำแล้ว

ความโลภไม่กลุ้มรุมจิตแล้ว

เขาย่อมไม่ฆ่าสัตว์

ไม่ลักทรัพย์

ไม่ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น

ไม่พูดเท็จ

ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้น

ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความสุข

เป็นประโยชน์เกื้อกูล ตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ?

“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”

----------------------------

(ไทย) มู. ม. ๑๒/๒๙๗/๓๙๑:

(บาลี) มู. ม. ๑๒/๔๑๘/๓๙๑:

-----------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น