วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สนทนาธรรมบ่ายวันเสาร์ที่ 18 กรกฏาคม 2558



#ตัวอย่างของผู้เดินมรรคใช้เวลาปีกว่าๆ เห็นผล(ประมาณนาทีที่ <<6.00>>)

‪‎#ทำอะไรเลวร้ายมา‬..‪#ให้ละนันทิ‬..จิตเกาะกาย..แล้วชีวิตจะดีขึ้น

อานาปานสติ ..มรรคแปดบริบูรณ์.

1. ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา.เหตุได้มาซึ่ง..ทรัพย์..ยศ.อายุยืน.สุคติโลกสวรรค์

(ดูพระสูตรเต็ม https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1672175499680653 )

2. เพิ่มสุตะ = เจริญทั้งสองทาง.

(ดูพระสูตรเต็ม https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1576443415920529&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1 )

3. เพิ่มสุตะ = เหตุสมปรารถนา

(ดูพระสูตรเต็ม https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1571484629749741.1073741837.100006646566764&type=3 )

4. อานาปานสติ.ระงับอาพาธได้ตามควรแก่ฐานะ.

( ดูพระสูตรเต็ม https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1622613751303495&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1 )

5. อานาปานสติถึงนิพพาน

(ดูพระสูตรเต็ม https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1649107218654148&set=a.1410079375890268.1073741828.100006646566764&type=1&permPage=1)

6. วิหารธรรมเครื่องอยู่

(ดูพระสูตรเต็ม https://www.facebook.com/fata.chalee/posts/1674585156106354 )

https://www.youtube.com/watch?v=-dTXDBVA0pY

‪#‎การละนันทิ‬ (ความเพลิน)

เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ

จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ

(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ

จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ

(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ;

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.

(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).

(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ

ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง

จักษุ ทุกประการ.)

นันทิกขยวรรค สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖.

----------------

‪#‎ผู้ได้ชื่อว่า‬ #อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)

ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ –

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า

“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้

เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)

เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)

เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);

แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.

(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ –

ไม่เป็นที่ชอบใจ -

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ

– ไม่เป็นที่ชอบใจ

- ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน

อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า

‪#‎อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย‬

ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.

(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ

กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา

โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย

และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ

ทรงตรัสอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ

กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,

กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,

กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลาย

ที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,

กรณีโผฏฐัพพะ

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,

กรณีธรรมารมณ์

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก

ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)

อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑

--------------------------------

อ่านพุทธวจนเพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…

-------------------------

พุทธวจน faq ละนันทิ คือวิธีที่ดีที่สุดเพื่อฝึกจิตให้มีกำลัง http://www.youtube.com/watch?v=-wqJ8V_T0YM

------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น