วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

The Faith



**โอรสอันเกิดจากพระโอษฐ์**

----------------------------------------

(พระมีหน้าที่ถ่ายทอดธรรมตถาคต เป็นทายาทแห่งธรรมตถาคต)

เราเป็นบุตร เป็นโอรสเกิดจาก

พระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค

https://www.youtube.com/watch?v=Jqk6tNb530c

--------------------------------------

วาเสฏฐะ ทั้งหลาย !

ก็ศรัทธาของผู้ใดแล

ตั้งมั่นในตถาคต ฝังลงรากแล้ว

ดำรงอยู่ได้มั่นคง

อันสมณะหรือพราหมณ์

เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกก็ตาม

ไม่ชักนำไปทางอื่นได้,

ผู้นั้นควรจะกล่าวได้อย่างนี้ว่า

“เราเป็นบุตร เป็นโอรสเกิดจาก

พระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค

เกิดโดยธรรม อันธรรมเนรมิต

เป็นทายาทแห่งธรรม” ดังนี้

______________________

(บาลี) ปา. ที. ๑๑/๙๑/๕๕.

--

๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน

ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี

ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพาน

ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ,

ตลอดเวลาระหว่างนั้น

ตถาคตได้กล่าวสอน

พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด

ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด

ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น

ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.

อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓

---

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต

คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจนะ

ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท)

พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอน

เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ,

เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป

สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์)

มีที่อาศัยสืบกันไป.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม

ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้

ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..

จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐

--

ทรงบอกเหตุแห่งความอัตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก

ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว :

กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่.

เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ,

พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม

เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป)

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น

นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง

ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป

เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่

เท่านั้น ;

--

ภิกษุทั้งหลย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต

จักมีภิกษุทั้งหลาย,

สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต

เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง

เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.

เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง

จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง

และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

-

ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่

เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน

มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว

เป็นคำกล่าวของสาวก,

เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,

เธอจักฟังด้วยดี

จักเงี่ยหูฟัง

จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง

และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น

ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก

มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ

ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓,

-

๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด

ที่กวีแต่งขึ้นใหม่

เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน

มีอักษรสละสลวย

มีพยัญชนะอันวิจิตร

เป็นเรื่องนอกแนว

เป็นคำกล่าวของสาวก

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่

เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง

และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต

เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ

ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่;

เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง

และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน

จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า

“ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้.

-

ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้.

ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้,

ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้

ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒

-

ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทชื่อ

อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา

เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณ ีนี้คือ ภิกษ ุทั้งหลายในบริษัทใด,

เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา

-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง

คมฺภีรตฺถา-มีอรรถอันลึกซึ้ง

โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ

สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วยเรื่องสุญญตา

อันบุคคลนำมากล่าวอยู่,

ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง

ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง

และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

-

ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่

เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน

มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร

เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ กล่าวของสาวก,

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่

พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง

และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว

ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน

ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า

ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.

-

เธอเหล่านั้น

เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้

ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้

ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า

อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.

ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ

ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา

เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด,

เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่

เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย

มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว

เป็นคำ กล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่,

ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง

และไม่สำ คัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ส่วน สุตตันตะเหล่าใด

อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง

เป็นโลกุตตระประกอบด้วยเรื่องสุญญตา,

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่

พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง

ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง

และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเล่าเรียน.

พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว

ก็สอบถามซึ่งกันและกัน

ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า

ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.

เธอเหล่านั้น

เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้

หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้

บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่าง ๆ ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า

ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.

-

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้

ภิกษุทั้งหลาย! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้น

คือบริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา

(บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป :

ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.

ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒

-

๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย

จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ

จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว,

จักสมาทานศึกษาในสิกขาบท

ที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด,

ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้

ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙

-

อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้

มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า

เป็นบุรุรษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย....

เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า...

เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย

ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.

--

ก็ศรัทธาของผู้ใดแล ตั้งมั่นในตถาคต ฝังลงรากแล้ว

ดำรงอยู่ได้มั่นคง อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดา

มาร พรหม หรือใคร ๆในโลก ก็ตาม

ไม่ชักนำไปทางอื่นได้,

ผู้นั้นควรจะ กล่าวได้อย่างนี้ว่า

“เราเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากปากของพระผู้มีพระภาค

เกิดโดยธรรม อันธรรมเนรมิต เป็นทายาท แห่งธรรม

He whose faith in the Tathagata is settled, rooted,

established, solid, unshakeable by any ascetic or Brahmin,

any deva or mara or Brahma or anyone in the world,

can truly say:

“I am a true son of Blessed Lord,

born of his mouth, born of Dhamma,

created by Dhamma, an heir of Dhamma

สาธุ..สาธุ..สาธุ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น