วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันเสาร์_หลังฉัน 2_2015-06-27



‪#‎โพธิปักขิยธรรม‬ ๓๗ ประการ  : สัมมัปธาน ๔ อย่างพิศดาร..อนุโมทนา สาธุๆๆ กับผู้ถาม  คุณ นิติ คะ https://www.youtube.com/watch?v=l54dN7eXc3E

สัมมัปธาน ๔

สติปัฏฐาน ๔

อิทธิบาท ๔

อินทรีย์ ๕ พละ ๕

โภชงค์ ๗

 มรรคมีองค์ ๘



------------

สัมมัปธาน ๔

คือ การมุ่งมั่นทำความชอบ มี ๔ ประการ

๑.สังวรปทาน คือ เพียรระงับการกระทำอกุศล ไม่ให้เกิดขึ้น

๒.ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่กำลังกระทำอยู่

๓.อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว

๔.ภาวนาปทาน คือ เพียรฝึกฝนบำรุงกุศลธรรม ให้เจริญยิ่งขึ้น

---------------

‪#‎กองกุศล‬ และ ‪#‎กองอกุศล‬ ที่แท้จริง

-----

‪#‎สติปัฏฐานสี่‬ ‪#‎กองกุศลที่แท้จริง‬

[๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

...

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน.

--------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

---------------------------------

#‎นิวรณ์๕‬ ‪#‎กองอกุศลที่แท้จริง‬

#นิวรณ์๕ ‪#‎ทำปัญญาให้ถอยกำลัง‬

ภิกษุทั้งหลาย !

นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น 5 อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง มีอยู่

5 อย่าง อย่างไรเล่า ? 5 อย่าง คือ

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ( ง่วงเหงาซึมเซา )

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ ( ฟุ้งซ่านรำคาญ )

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ( ลังเลสงสัย )

ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง

-----------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย !

ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต 5 อย่างเหล่านี้แล้ว

จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน

หรือประโยชน์ผู้อื่น

หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

หรือจักกระทำให้แจ้ง

ซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ

ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์

ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้

นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ภิกษุทั้งหลาย !

เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา

ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว

พัดพาสิ่งต่างๆ ไปได้

มีบุรุษมาเปิดช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น

ด้วยเครื่องไถ ทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสกลางแม่น้ำนั้น

ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง

ไม่ไหลไปสู่ที่ไกล

ไม่มีกระแสเชี่ยว

ไม่พัดสิ่งต่างๆ ไปได้ นี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต 5 อย่างเหล่านี้แล้ว

จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน

หรือประโยชน์ผู้อื่น

หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

หรือจักกระทำให้แจ้ง

ซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ

ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์

ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพไร้กำลัง ดังนี้

นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ต่อไปได้ตรัสโดยปฏิปักขนัย (นัยตรงข้าม)

คือ ภิกษุละนิวรณ์แล้ว

ทำญาณวิเศษให้แจ้งได้ ด้วยปัญญา

อันมีกำลังเหมือนแม่น้ำที่เขาอุดรูรั่ว

ทั้งสองฝั่งเสียแล้วมีกระแสเชี่ยวแรงมาก ฉะนั้น

-------------------------------

- อาวรณสูตร ปญฺจก. อํ. 22/72/51.

-----------

‪#‎นิวรณ์‬ ๕ กองอุกศล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล

จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕

เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือ

...

กามฉันทนิวรณ์ ๑

พยาบาทนิวรณ์ ๑

ถีนมิทธนิวรณ์ ๑

อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑

วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้

เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕.

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย narutogetbird เมื่อ 2013-11-23 00:28

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล

จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕

เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือ

...

กามฉันทนิวรณ์ ๑

พยาบาทนิวรณ์ ๑

ถีนมิทธนิวรณ์ ๑

อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑

วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้

เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕.

...

[๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

...

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔

เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน.

--------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

-------------

‪#‎อุปมานิวรณ์‬

[๑๒๖] ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน

‪#‎บุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน‬

การงานของเขาจะพึงสำเร็จผล

เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น

และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขาจะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา

เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้

การงานของเราสำเร็จผลแล้ว

เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว

และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้

เขาจะพึงได้

‪#‎ความปราโมทย์‬ ‪#‎ถึงความโสมนัส‬

มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็น

‪#‎ผู้มีอาพาธถึงความลำบาก‬ เจ็บหนัก

บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย

สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น

บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย

เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก

บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้

เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้

และมีกำลังกายเป็นปกติ ดังนี้

เขาจะพึงได้

#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีความไม่มีโรคนั้น เป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึง

‪#‎ถูกจำอยู่ในเรือนจำ‬ สมัยต่อมา

เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย

ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้

เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว

และเราไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้

เขาจะพึงได้

#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีการพ้นจากเรือนจำ นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะ

‪#‎พึงเป็นทาส‬ ไม่ได้พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหน

ตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา

เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น

พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น

‪#‎เป็นไทยแก่ตัว‬ ไปไหนได้ตามความพอใจ

เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเราเป็นทาส

พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น

ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้

เราพ้นจากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเอง

ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว

ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้

เขาจะพึงได้

#ความปราโมทย์ #ถึงความโสมนัส

มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษ

‪#‎มีทรัพย์‬ มีโภคสมบัติ ‪#‎พึงเดินทางไกลกันดาร‬

หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า

สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้

บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี

เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ

เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก

มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้น

บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดีแล้ว ดังนี้

เขาจะ

‪#‎พึงได้ความปราโมทย์‬ #ถึงความโสมนัส

มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูกรมหาบพิตร ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้

‪#‎ที่ยังละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้‬

‪#‎เหมือนโรค‬

‪#‎เหมือนเรือนจำ‬

#เหมือนความเป็นทาส

#เหมือนทางไกลกันดาร

และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน

#เหมือนความไม่มีหนี้

#เหมือนความไม่มีโรค

#เหมือนการพ้นจากเรือนจำ

เหมือนความเป็นไทยแก่ตน

เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.

-------------------------

#รูปฌาน ๔

[๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้

ที่ละได้แล้วในตน

ย่อมเกิดปราโมทย์

เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ

เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ

เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข

เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.

เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร

มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอทำกายนี้แหละให้

**ชุ่มชื่น**เอิบอิ่ม**ซาบซ่าน**ด้วยปีติและสุข**เกิดแต่วิเวก

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน

**พนักงานสรงสนาน

**หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด

**จะพึงใส่จุรณ์สีตัวลงในภาชนะสำริด

**แล้วพรมด้วยน้ำ

หมักไว้

ตกเวลาเย็นก้อนจุรณ์สีตัวซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด

ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

ทำกายนี้แหละให้

**ชุ่มชื่น**เอิบอิ่ม**ซาบซ่านด้วย**ปีติ**และ**สุข**เกิดแต่วิเวก

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ

**สามัญผลที่เห็นประจักษ์ **ทั้งดียิ่งกว่า

ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

[๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง

ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต

ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข

เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ

ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน

ห้วงน้ำลึกมีน้ำปั่นป่วน

ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้

ทั้งในด้านตะวันออก

ด้านใต้

ด้านตะวันตก

ด้านเหนือ

ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล

แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว

จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น

ไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด

ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

ย่อมทำกายนี้แหละ

ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ

ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ**สามัญผลที่เห็นประจักษ์**

ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

[๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง

ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข

ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน

ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้

เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร

เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง

หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง

หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ

เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้

ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด

ตลอดเง่า ไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว

ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ

สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า

ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

[๑๓๐] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ

ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่ง

คลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล

เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง

ดูกรมหาบพิตร

นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า

ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

------

พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๖๘/๓๘๓ ข้อที่ ๑๒๔-๑๒๖

--------------

อ่่านพุทธวจน เพิ่มเติมได้จากโปรแกรม E-Tipitaka

http://etipitaka.com/read…

--------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น