วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระอาจารย์คึกฤทธิ์-สนทนาธรรมเช้าวันอาทิตย์_หลังฉัน 2_2015-05-03



พระอาจารย์บอกบ่อยๆ ว่า..ตัวตนเดิมของเราคือ..สภาวะคงที่

ไม่มีวิญญาณ และนามรูป..เพิ่งจะเจอพระสูตร!!! และเราจะกลับที่เดิมได้อย่างไร?

-การคบสัตบุรุษ-(พระสูตรการตามรู้พระสัทธรรม 12 ขั้นตอน)

ภวตัณหา.....ประมาณนาทีที่ <<<1.38>>> https://www.youtube.com/watch?v=RoilVWEGQv0

ตัณหาสูตร(ภวตัณหา แปลว่า ความอยากในภพ)

[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

‪#‎เงื่อนต้นแห่งภวตัณหา‬ ‪#‎ย่อมไม่ปรากฏ‬

‪#‎ในกาลก่อนแต่นี้‬ ‪#‎ภวตัณหาไม่มี‬ (ไม่มีภพ (สภาวะคงที่, สิ่งๆ หนึ่ง)

แต่ภายหลังจึงมี

เพราะเหตุนั้น

เราจึงกล่าวคำอย่างนี้ว่า

ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น

--

‪#‎ภวตัณหา‬

‪#‎มีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ‬

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวภวตัณหาว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

-

ก็อะไรเป็นอาหารของภวตัณหาควรกล่าวว่า อวิชชา

-

แม้อวิชชาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรกล่าวว่านิวรณ์ ๕

-

แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓

-

แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์

-

แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่สำรวมอินทรีย์

ควรกล่าวว่าความไม่มีสติสัมปชัญญะ

-

แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ

ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

-

แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

ควรกล่าวว่า ความไม่มีศรัทธา

-

แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา

ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม

-

แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม

ควรกล่าวว่า การไม่คบสัตบุรุษ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลายด้วยประการดังนี้

-

การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์

ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์

-

การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์

ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์

-

ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์

ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์

-

การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์

ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์

-

ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์

ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์

-

การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์

ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

-

ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์

-

นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์

-

อวิชชาที่บริบูรณ์ ย่อมยังภวตัณหาให้บริบูรณ์

-

ภวตัณหานี้มีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา

เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่

น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม

ย่อมยังซอกเขา

ลำธารและห้วยให้เต็ม

ซอกเขา

ลำธาร

และห้วยที่เต็ม

-

ย่อมยังหนองให้เต็ม

หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม

บึงที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม

แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม

แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม

มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้

และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

-

การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์

ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ...

อวิชชาที่บริบูรณ์ย่อมยังภวตัณหาให้บริบูรณ์

ภวตัณหานี้มีอาหารอย่างนี้

และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติ

ว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ

ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗

-

แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗

ควรกล่าวว่าสติปัฏฐาน ๔

-

แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔

ควรกล่าวว่า สุจริต ๓

-

แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓

ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์

-

แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์

ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ

-

แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ

ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

-

แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยแยบคาย

ควรกล่าวว่าศรัทธา

-

แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา

ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม

-

แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม

ควรกล่าวว่า การคบหาสัปบุรุษ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้

-

การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์

การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์

การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์

สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์

โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์

อย่างนี้ ฯ

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา

เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่

น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม

ย่อมยังซอกเขา

ลำธารและห้วยให้เต็ม

ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม

ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม

บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม

แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม

แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม

มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้

และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

-

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์

ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ...

โพชฌงค์ ๗ที่บริบูรณ์

ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้

ฉันนั้นเหมือน

กันแล ฯ

จบสูตรที่ ๒

--

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๔

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๑๐๕ ข้อที่ ๖๒

---

http://etipitaka.com/read/thai/24/105/…

---

‪#‎การตามรู้ซึ่งความจริง‬ (สจฺจานุโพโธ)

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)

มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการ

ตามรู้ซึ่งความจริง”

ภารท๎วาชะ ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้

เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดี

หรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่

ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ :-

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ....

เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า

เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ต่อแต่นั้น

เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรม

ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ….ในธรรมทั้งหลายอันเป็น

ที่ตั้งแห่งโมหะ…. เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น

ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง

โทสะ....ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ

ลำดับนั้น เขา :-

(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมี

ศรัทธาเกิดแล้ว

(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว

(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว

(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง

(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว

(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม

(๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย

อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่

(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ,

เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่

(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว

(๑๐) ย่อม มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว

(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม,

ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว

(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น; เขาผู้มีตน

ส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ

(ความจริงโดยจริงความหมายสูงสุด) ด้วยนามกาย ด้วย,

ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.

ภารท๎วาชะ !

การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;

แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

-------------------

‪#‎การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง‬

(สจฺจานุปตฺติ)

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

(สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึง

ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญ

ถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง”

ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ

การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ (ทั้ง ๑๒ ข้อ

ข้างต้น) เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

ภารท๎วาชะ !

การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,

และเราบัญญัติการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.

ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗.

--------------

ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

http://www.buddhakos.org/

http://watnapp.com/

http://media.watnapahpong.org/

http://www.buddhaoat.org/

------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น