วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พุทธวจน หลักการปลีกวิเวก หลีกเร้น ปลีกตัวไปแล้ว ควรทำอย่างไร



พ่านไปได้ด้วยดี..รักษาอุโบสถศีล..อยู่เยี่ยงพระคือบำเพ็ญเนกขัมมะ..

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2558แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะแม

.เห็นความก้าวหน้า..ของความเพียรเดินมรรค..

สักแต่ว่า..แล้ววาง..แล้ววาง... รู้สึกมีกำลังใจในการเดินมรรคยิ่งขึ้นๆ..

เอาละว้า..ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี...ขอแค่วันพระก็พอ..

.สมองโปรงดีจริงๆ..อนุโมทนาบุญ..เผื่อแผ่แก่ญาติธรรมทุกๆ  ท่าน

และสัพสัตว์ที่ร่วม..เกิด..แก่..ตาย...ทุกๆ ตนคะ

https://www.youtube.com/watch?v=RGWdW1wAiww

‪#‎สักแต่ว่า‬ = ‪#‎อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ‬

สักแต่ว่า...(นัยที่ ๑)

พาหิยะ ! เมื่อใดเธอ

เห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น,

ได้ฟังเสียงแล้ว สักว่าฟัง,

ได้กลิ่น, ลิ้มรส, สัมผัสทางผิวกาย, ก็สักว่าดม, ลิ้ม, สัมผัส,

ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว;

เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี.

เมื่อใด “เธอ” ไม่มี;

เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้,

ไม่ปรากฏในโลกอื่น,

ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง :

นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.



มรรควิธีที่ง่าย หน้า ๗๔

(ภาษาไทย) อุ. ขุ. ๒๕/๕๘/๔๙

--

สักแต่ว่า...(นัยที่ ๒)

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์เป็นคนชรา

เป็นคนแก่คนเฒ่ามานานผ่านวัยมาตามลำดับ.

ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อ

ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมโดยย่อ

ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึง

เนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงเป็นทายาท

แห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด พระเจ้าข้า !”.

-

มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ

รูปทั้งหลาย อันรู้สึกกันได้ทางตา

เป็นรูปที่ท่านไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็น

ที่ท่านกำลังเห็นอยู่ก็ไม่มี

ที่ท่านคิดว่าท่านควรจะได้เห็นก็ไม่มี ดังนี้แล้ว

ความพอใจก็ดีความกำหนัดก็ดี

ความรักก็ดี ในรูปเหล่านั้น ย่อมมีแก่ท่านหรือ ?

“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”.

(ต่อไปนี้ ได้มีการตรัสถามและการทูลตอบในทำนองเดียวกันนี้

ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อของสิ่งที่นำมากล่าว

คือในกรณีแห่งเสียงอันรู้สึกกันได้ทางหู

ในกรณีแห่ง กลิ่นอันรู้สึกกันได้ทางจมูก

ในกรณีแห่ง รสอันรู้สึกกันได้ทางลิ้น

ในกรณีแห่ง โผฏฐัพพะอันรู้สึกกันได้ทางผิวกาย

และในกรณีแห่ง ธรรมารมณ์อันรู้สึกกันได้ทางใจ).

มาลุงก๎ยบุตร ! ในบรรดาสิ่งที่ท่าน

พึงเห็น พึงฟัง พึงรู้สึก พึงรู้แจ้งเหล่านั้น;

ใน สิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็น;

ใน สิ่งที่ท่านฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าได้ยิน;

ใน สิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว (ทางจมูก, ลิ้น, กาย)

จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก;

ใน สิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว (ทางวิญญาณ)

ก็จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรมเหล่านั้น :

เมื่อ สิ่งที่เห็นแล้ว สักว่าเห็น,

สิ่งที่ฟังแล้ว สักว่าได้ยิน,

สิ่งที่รู้สึกแล้ว สักว่ารู้สึก,

สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สักว่ารู้แจ้ง,ดังนี้แล้ว;

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มีเพราะเหตุนั้น;

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีเพราะเหตุนั้น,

เมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้นๆ;

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้นๆ,

เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้

ไม่มีในโลกอื่น

ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง :

นั่นแหละ คือที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !

ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต

อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้

ได้โดยพิสดารดังต่อไปนี้ :-

เห็นรูปแล้ว สติหลงลืม

ทำในใจซึ่งรูปนิมิตว่าน่ารัก มีจิตกำหนัดแก่กล้าแล้ว

เสวยอารมณ์นั้นอยู่ ความสยบมัวเมาย่อมครอบงำบุคคลนั้น.

เวทนาอันเกิดจากรูปเป็นอเนกประการ

ย่อมเจริญแก่เขานั้น.

อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา.

เมื่อสะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่ายังไกลจากนิพพาน.

(ในกรณีแห่งการฟังเสียง

ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย

รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกัน).

บุคคลนั้นไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย

เห็นรูปแล้ว มีสติเฉพาะ มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์อยู่

ความสยบมัวเมาย่อมไม่ครอบงำบุคคลนั้น.

เมื่อเขาเห็นอยู่ ซึ่งรูปตามที่เป็นจริง

เสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไปๆ ไม่เพิ่มพูนขึ้น

เขามีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้,

เมื่อไม่สะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้ต่อนิพพาน.

(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ

ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกัน).

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !

ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต

อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้

ได้โดยพิสดารอย่างนี้ พระเจ้าข้า !”.

พระผู้มีพระภาค ทรงรับรองความข้อนั้น

ว่าเป็นการถูกต้อง.

ท่านมาลุงก๎ยบุตรหลีกออกสู่ที่สงัด

กระทำความเพียรได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในศาสนานี้.



มรรควิธีที่ง่าย หน้า ๗๕

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๗๓-๗๗/๑๓๒-๑๓๙

---

‪#‎ผู้ได้ชื่อว่า‬ #อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา)

ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ –

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า

“อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้

เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)

เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)

เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);

แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.

(เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)

อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ –

ไม่เป็นที่ชอบใจ -

ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ

– ไม่เป็นที่ชอบใจ

- ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ

อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น

ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน

อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า

‪#‎อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย‬

ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.

(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ

กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา

โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย

และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ

ทรงตรัสอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ

กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,

กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,

กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลาย

ที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,

กรณีโผฏฐัพพะ

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,

กรณีธรรมารมณ์

เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก

ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)

อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑

--------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น